ในช่วงเวลาที่องค์กรต้องเร่งปรับตัว การเรียนรู้และพัฒนานั้นยิ่งสำคัญและเร่งด่วน ทั้งการเสริมสร้างทักษะเดิมให้สามารถใช้กับโลกปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Upskill) และการสร้างทักษะใหม่ ๆ ที่ตอบรับกับโลกในปัจจุบันมากขึ้น (Reskill) แต่จะพัฒนาการเรียนรู้ในองค์กรได้อย่างไรในช่วงที่งบประมาณ L&D มีจำกัด?
.
.
แม้ว่าจะมีเทรนด์การเรียนรู้ใหม่ ๆ มากมาย แต่ในช่วงเวลานี้การลงทุนไปกับการพัฒนาระบบการเรียนรู้ หรือการจัดคอร์สการเรียนรู้อาจไม่ใช่สิ่งแรกที่หลายองค์กรสามารถทำได้ แต่ในเมื่อความต้องการในการเรียนรู้ไม่ได้ลดลงเหมือนงบประมาณ A Cup of Culture จึงได้รวบรวมวิธีการพัฒนาการเรียนรู้ที่สามารถทำได้แม้ว่างบประมาณจะลดลง
.
.
1. การสนับสนุนและการโค้ช (Support & Coaching)
ในช่วงที่องค์กรต้องปรับเปลี่ยนในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทำงาน ทักษะทางเทคโนโลยีที่ต้องมีมากขึ้น การคิด และการตัดสินใจในกรณีที่ไม่เคยเกิดขึ้น ความต้องการของลูกค้า หรือแม้แต่ทิศทางขององค์กรที่อาจต้องเปลี่ยนไป นอกจากความท้าทายในงานแล้วยังมีความกังวลในการใช้ชีวิตที่เกิดจากสถานการณ์รอบตัว การสนับสนุนที่พนักงานต้องการจึงแตกต่างไปจากที่เคยเป็น หัวหน้างานจึงต้องเป็นมากกว่าหัวหน้างานและใช้บทบาทโค้ชเพื่อส่งเสริมพนักงานในช่วงเวลาที่สำคัญต่อการเรียนรู้
.
.
อดีต | ปัจจุบัน |
ค่าตอบแทน | เป้าหมายในชีวิต |
ความพึงพอใจ | การเรียนรู้และพัฒนา |
เจ้านาย | โค้ช |
การประเมินประจำปี | Feedback อย่างต่อเนื่อง |
ปิดจุดอ่อน | เสริมจุดแข็ง |
การทำงาน | การใช้ชีวิต |
2. การเลือกใช้งบประมาณในงานที่จำเป็นเร่งด่วน (Spend Budget on Critical Needs)
การจัดลำดับความสำคัญของความจำเป็นเร่งด่วนในการเรียนรู้จะช่วยให้สามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่าที่สุด แน่นอนว่าการทำงานทุก ๆ ส่วนมีความสำคัญ แต่ในช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนสูง อาจพิจารณาใช้งบประมาณในการเรียนรู้ที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรในช่วงนั้น ๆ ได้แก่การพัฒนาทักษะใหม่ที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจที่เปลี่ยนไป เช่นจากการผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางค์ เป็นการผลิตแอลกอฮอล์หรือ เจลล้างมือ หรือทักษะที่จะส่งผลในวงกว้างต่อระบบการทำงานที่เปลี่ยนไป เช่นการใช้ระบบ video conference เป็นต้น
.
.
3. เรียนรู้จากวิกฤต (Develop Soft Skills from Crisis)
นอกจากทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนในเชิง Technical แล้ว Soft Skills ก็ยังคงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่สามารถละทิ้งได้ แม้ว่างบประมาณจะไม่ครอบคลุมการฝึกอบรมในรูปแบบที่เคยมี แต่การเรียนรู้จากการปรับตัวในสถานการณ์วิกฤตก็ถือเป็นโอกาสในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยสะท้อนการเรียนรู้บนพื้นฐานของ 7 ทักษะสำคัญสำหรับงานในอนาคตที่ AI ไม่สามารถทดแทนได้ จากผลการวิจัยจาก Gallup ดังนี้
.
3.1 การสร้างความสัมพันธ์ (Build relationships) สร้างเครือข่าย ความไว้วางใจ ความใส่ใจ ในช่วงเวลาที่ท้าทาย
3.2 พัฒนาคน (Develop People) ส่งเสริมการพัฒนาซึ่งกันและกันโดยการใช้จุดแข็ง การสร้างความคาดหวังที่ชัดเจน การให้กำลังใจ และการโค้ช
3.3 การนำการเปลี่ยนแปลง (Lead Change) เข้าใจถึงธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง หรือ disrupt เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย
3.4 เป็นแรงบันดาลใจ (Inspire Others) สร้างแรงกระตุ้นเชิงบวก เช่นการชื่นชม รวมถึงการท้าทาย ให้ออกจากข้อจำกัด เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า
3.5 การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) หาข้อมูล ประเมิน และปรับใช้ความรู้เพื่อการแก้ปัญหา
3.6 การสื่อสารที่ชัดเจน (Communicate Clearly) ฟังอย่างตั้งใจ และสื่อสารข้อมูลอย่างกระชับ ตรงประเด็น รวมถึงการเปิดรับความคิดเห็นต่าง
3.7 สร้างความรับผิดชอบ (Create Accountability) ระบุงานที่รับผิดชอบ และผลลัพธ์ที่คาดหวังเพื่อตอบสนองเป้าหมายภาพรวม
.
.
.
4. เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ Online (Free Online Learning)
โดยเฉพาะในช่วงนี้มีแหล่งการเรียนรู้ Online หลากหลาย สามารถเข้าไปเรียนบางหลักสูตรได้โดยไม่มีค่าใช่จ่าย หรือเรียนได้ทุกหลักสูตรในเวลาที่จำกัด เช่น Skilllane, Skooldio, Linkedin Learning, Coursera เป็นต้น
และนี่คือไอเดียบางส่วนที่สามารถทำได้ แม้งบประมาณจะยังนิ่งแต่การเรียนรูจะไม่มีวันหยุดนิ่ง
A Cup of Culture
.
.
>>>>
ที่มาของบทความ
https://www.gallup.com/workplace/309284/ways-continue-employee-development-covid.aspx
https://www.td.org/insights/4-strategies-to-make-smart-choices-when-facing-budget-cuts