เราคงได้ยินจนชินหูแล้วว่า Covid-19 ทำให้ digital age มาถึงตัวเราเร็วขึ้น จากเมื่อก่อนมองซ้ายมองขวาถ้าส่วนใหญ่ทำองค์กรเราค่อยทำ มาถึงจุดนี้ส่วนใหญ่กำลังเฮโลเพราะแรงส่งของการแพร่ระบาดและ New Normal ที่กำลังเป็นที่กล่าวขวัญ แน่นอนรูปแบบการทำงานย่อมเปลี่ยนไปแม้จะพร้อมหรือไม่พร้อมก็ตาม จากรายงานของ BCG (Boston Consulting Group) พบว่ามีพนักงานครึ่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาและเยอรมันไม่มีความพร้อมในการทำงานและการปรับตัวไปสู่ Digital Transformation ซึ่งตัวเลขคงสูงกว่ามากในบ้านเรา
จากการคาดเดาที่ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขที่แน่นอนได้จะมีคนต้องตกงานเป็นจำนวนมากจากการมาทดแทนด้วย AI, Virtual Reality และ Machine Learning ที่สามารถทำงานที่ซับซ้อนแทนคนได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับการถดถอยทางเศรษฐกิจเพราะไวรัสวายร้ายที่เป็นเหตุให้องค์กรต้องคัดคนที่มีประสิทธิภาพไม่ถึงเกณฑ์ออกจากงาน ส่วนคนที่ถูกเลือกให้อยู่ต่อก็ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทไปตาม digital age ที่พุ่งเข้ามาด้วยสปีดที่เร็วขึ้น เช่น มีตำแหน่งใหม่ๆ ชื่อแปลกๆ เกิดขึ้น เช่น data scientist, scrum master, marketing automation specialist หรือ digital venture strategist เป็นต้น ดังนั้น การเตรียมคนให้พร้อมในองค์กรจึงต้องพึ่งพารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะในการทำงานแบบใหม่ๆ ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ในองค์กรแบบเดิมอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปแล้ว
Learning in the workflow
การที่ความรู้และทักษะต่าง ๆ หมดอายุเร็วขึ้นมาก สิ่งที่เคยทุ่มเทเรียนรู้ในปีก่อนอาจจะใช้ไม่ได้เลยกับปัจจุบัน การเรียนรู้ได้เคลื่อนย้ายจากการเรียนครั้งเดียวแล้วใช้ได้ตลอดไปมาเป็นเรียนตลอดชีวิตการทำงานและเรียนรู้ที่ควบคู่ไปกับการทำงาน (learning in the workflow) ไม่ใช่การหยุดงานติดต่อกันเพื่อไปเรียน ซึ่งรูปแบบที่มาทดแทนคือ
- ปรับและออกแบบให้ตรงกับความต้องการรายบุคคล
- เรียนได้ตลอดเวลาที่ต้องการ พร้อมการสนับสนุนแบบเรียลไทม์
- ใช้รูปแบบของเกม (Gamification) เข้ามาผสมเพื่อให้จูงใจในการเรียนรู้
- วัดผลได้ชัดเจน แปลงเป็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ขององค์กร
และเพื่อให้การตอบสนองต่อความต้องการและตลาดผู้เรียนกลายเป็นผู้กำหนดเส้นทางและวิธีการเรียนรู้ของตัวเองมากกว่าการขีดเส้นขององค์กรหรือหัวหน้างาน
Learning Ecosystem
ระบบนิเวศของการเรียนรู้ คือ การรวมตัวขององค์ประกอบต่าง ๆได้แก่ คน กระบวนการทำงานและเครื่องมือต่างๆ ในการสนับสนุนงาน L&D ขององค์กรเพื่อเป้าหมายในการสนับสนุน “เป้าหมายทางธุรกิจ” ระบบนิเวศนี้เกิดขึ้นอยู่ดีไม่ว่าเราจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แตกต่างไปตามความพร้อมขององค์ประกอบดังกล่าวนี้และความตั้งใจที่จะฟูมฟักมันให้ตอบสนองธุรกิจได้มากน้อยเพียงใด
ใน digital age คนทำงานจะมองการทำงานเป็นโรงเรียนเนื่องด้วยความรู้ในมหาวิทยาลัยหรือ MBA อาจใช้ไม่ได้ในการทำงานอีกต่อไป องค์กรที่ต้องการดึงดูดคนเก่งจึงต้องสร้าง Learning Ecosystem ให้บรรดาคนเก่งอยากเข้ามาและอยากอยู่นานๆ นี่เป็นพันธกิจสำคัญของ CEO และผู้บริหารยุคใหม่อีกชิ้นหนึ่ง ในการบูรณาการกลยุทธ์องค์กรให้เข้ากับระบบนิเวศนี้พร้อมตัวชี้วัดทีเชื่อมโยงกัน ต้องมองไปถึงภาพการทำงานเคียงข้างกันระหว่างโรบ๊อทกับพนักงานของเรา องค์รวมของภาพ digital ที่กำลังจะมาและการเข้าถึงของคนในทุกระดับ
Learning Contract
การที่ต้องเผชิญคลื่น disruption ลูกแล้วลูกเล่าและอีกหลาย ๆ ลูกในอนาคต องค์กรต้องการ commitment จากพนักงานมากขึ้นในการตามให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มาไวและเฉียบพลัน ด้วยการ deskill (ทิ้งทักษะที่ไม่เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน) reskill (update เดิมที่ล้าสมัยไปแล้วด้วยทักษะใหม่ๆ) และ upskill (ยกระดับทักษะให้ทันต่อ digital age) โดยมีสัญญาต่อกันเป็นลายลักษณ์อักษรทั้งฝ่ายผู้บริหารผู้จัดการและพนักงาน ว่าจะไม่ปล่อยให้โอกาสในการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอหลุดลอยไป โดยมีgoal และ กลยุทธ์ขององค์กรเป็นตัวตั้ง ผู้บริหารต้องวางตัวเป็นcoachมากกว่าเป็นboss และจะจัดสรรโอกาสในการเรียนรู้ของพนักงานผ่านการทำงาน (learning in the workflow) พนักงานต้องกระตือรือร้นในการเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบเจาะจง ต้องนำทักษะมาใช้ในการทำงานให้เกิดผลลัพธ์ในเวลาอันรวดเร็ว โดยผู้จัดการจะเป็นผู้ประเมินการเรียนรู้ของทีมงาน (learning evaluation) เช่นเดียวกันกับการประเมินผลงาน (performance appraisal)
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.