ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน สุขภาพจิต และความยืดหยุ่นในการทำงาน กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคนทำงานรุ่นใหม่ การเปลี่ยนงานบ่อยดูจะเป็นเรื่องปกติในเรซูเม่ไปแล้ว เรื่องราววันนี้จะชวนคุยถึงคำว่า Job Hopping หรือ “คนที่เปลี่ยนงานบ่อย ๆ” ว่าสำคัญอย่างไรที่องค์กรต้องทำความเข้าใจ
✦ Key Takeaways:
1) การเปลี่ยนงานเพื่อหาความสอดคล้องด้านค่านิยม: การเปลี่ยนงานบ่อยไม่ได้หมายถึงการขาดความภักดีเสมอไป แต่สะท้อนถึงการแสวงหาองค์กรที่สอดคล้องกับค่านิยมส่วนตัว
2) ความคาดหวังของพนักงานต่อที่ทำงานที่เปลี่ยนไป: คนรุ่นใหม่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนที่ดีเท่านั้น พวกเขาคาดหวังความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต และความยืดหยุ่นด้วย
3) มุมมองต่อการทำงานแบบดั่งเดิม: แม้ความภักดีและการทำงานในที่ใดเป็นระยะเวลานานจะเป็นที่ยอมรับในอดีต แต่คนรุ่นใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับการทำงานที่สอดคล้องกับค่านิยมและการพัฒนาในทิศทางของตนเองมากขึ้น
4) สร้างความโปร่งใสในสัมภาษณ์งาน: Job Hopper สามารถอธิบายเหตุผลของการเปลี่ยนงานโดยเน้นประเด็นการมองหาสถานที่ทำงานที่มีวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับตนเอง ความมั่นคงทางการเงิน และโอกาสในการเติบโต
5) การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยืดหยุ่นเพื่อรักษาพนักงาน: องค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น สนับสนุนการเติบโตของพนักงาน มีแนวทางและความเชื่อสอดคล้องกับค่านิยมของพนักงานมีโอกาสในการรักษาบุคลากรและลดอัตราการลาออกได้ดีกว่า
A Cup of Culture
────
วัฒนธรรมองค์กร
companyculture
corporateculture
organizationalculture
.
.