Framework สุดปังที่ช่วยสร้างสรรค์วิสัยทัศน์องค์กร ตอนที่ 1

“สวัสดีปีใหม่ 2563” ถือเป็นธรรมเนียมที่เราจะกล่าวคำนี้เสมอในช่วงเทศกาลวันปีใหม่ และในช่วงวันขึ้นปีใหม่ก็ยังเป็นช่วงเวลาที่หลายคนมักจะทำการ “ตั้งเป้าหมาย” เพราะถือเป็นสัญลักษณ์ที่ดีในการเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ ซึ่งเป้าหมายยอดนิยมที่หลายคนมักตั้งกัน ก็อย่างเช่น การลดน้ำหนัก การตื่นมาวิ่งตอนเช้า หรือกระทั่งการงดกินมื้อดึก เป็นต้น หรือหากใครยังไม่มีไอเดียสำหรับปีใหม่ ทางเพจ A Cup of Culture ขอเสนอไอเดีย เช่น การตั้งเป้าหมายฟัง Podcasts ดี ๆ เพื่อเติมอาหารสมอง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เป็นต้น ซึ่งทางเพจเราก็จัดทำ Podcast ผ่านทาง Spotify ไว้ด้วย สามารถ Search ตามชื่อเพจได้เลย

.
นอกจากการตั้งเป้าหมายส่วนตัวแล้ว การตั้งเป้าหมายขององค์กรก็เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วย แน่นอนว่าในการทำธุรกิจ “ต้องมีเป้าหมาย” อาจเป็นเป้าหมายรายปี เช่น ปีนี้ต้องได้ Market share เท่าไหร่ หรือต้องทำอะไรให้สำเร็จบ้าง เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายย่อย ซึ่งจะถูกครอบด้วยเป้าหมายใหญ่อีกที นั่นก็คือ “วิสัยทัศน์” หรือ “Vision” นั่นเอง ซึ่ง Vision นี้ เปรียบเสมือน Output (คือ สิ่งที่ทำออกมาเป็นผลิตผล (Product) ซึ่งวัดได้เมื่อสิ้นสุดการกระทำ) ซึ่งหากเรายังไม่รู้ว่าเป้าหมายใหญ่ของเราคืออะไร เราก็จะไม่สามารถออกแบบ Input Output หรือ Process เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ต้องการได้  ซึ่งความสำคัญของ Vision แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
.

  • “Vision ภายนอก” คือ การจะสร้างการจดจำให้กับลูกค้าอย่างไร ซึ่งหาก Vision เราชัด ลูกค้าจะรู้ได้ว่าเราทำธุรกิจเพื่ออะไร ประโยชน์ที่เขาจะได้รับคืออะไร เป็นต้น นอกจากนั้น Vision ภายนอก ยังเป็นตัวช่วยในการดึงดูด Talent หรือคนเก่ง ๆ ให้เข้ามาทำงานด้วย เป็นตัวช่วยในเรื่องความน่าเชื่อถือของนักลงทุนที่สนใจในธุรกิจนี้ให้มาร่วมลงทุน Value Investor และในอีกมุมหนึ่งยังช่วยดึงดูด Business Partner ที่มี Vision ตรงกันให้มาจับมือทำอะไรร่วมกันได้  
  • “Vision ภายใน” คือ วิสัยทัศน์ที่จะนำพาทุกคนในองค์กรให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งหากองค์กรใดขาด Vision ที่ชัดเจน มันจะเกิดภาพคนทำงานที่ไร้จุดหมาย ไม่รู้ว่าทำไปแล้วได้อะไร Steve Jobs เคยกล่าวไว้ว่า “If you are working on something exciting that you really care about, you don’t have to be pushed. The vision pulls you.” แปลได้ใจความว่า “องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ จะช่วย Pull (ดึง) ให้คุณมุ่งไปข้างหน้า ยิ่งเป้าหมายน่าตื่นเต้น น่าสนใจ จะยิ่งมีแรงดึงดูดให้คุณอยากจะทำ คุณจะไม่รู้สึกว่าโดน Push (ผลัก) ให้ทำ”

วันนี้ A Cup of Culture จะมานำเสนอแนวคิดในการเขียน Vision ซึ่งกระบวนการที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ถือเป็นขั้นก่อนการเริ่มลงมือเขียน Vision องค์กรต้องตอบหรือพิจารณาทั้ง 7 ข้อนี้ให้ได้ก่อน
.

  • ☑ ข้อที่ 1 “ให้ลืมอดีต และคิดถึงอนาคต”

ก็คือ การวางความสำเร็จในครั้งอดีตไว้ก่อน แล้วจินตนาการดูว่าในอีก 3-5 ปี ข้างหน้าเราอยากเป็นอะไร ซึ่งองค์กรหลายองค์กรมักจะติดกับดักในข้อแรกนี้ โดยเฉพาะกับผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมาอย่างโชกโชน มักจะยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ ซึ่งมีคำพูดหนึ่งกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “สิ่งที่พาคุณจากอดีตมาถึงปัจจุบัน ไม่ได้หมายความว่ามันจะพาคุณจากปัจจุบันไปสู่อนาคตได้” ซึ่งสอดคล้องกับที่คุณแป๋ม-ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สยามพิวรรธน์ กรุ๊ป ผู้ปลุกปั้น “Icon Siam” กล่าวไว้ว่า “ประสบการณ์ 33 ปี ที่ผ่านมา เอามาใช้กับอนาคตได้เพียงแค่ 10% เท่านั้นเอง” และผู้บริหารอีกหลาย ๆ ท่าน พูดไปในทิศทางเดียวกันว่า อนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากมากในยุคปัจจุบัน แต่ถึงอนาคตจะเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก “แต่การมีเป้าหมายก็ยังดีกว่าไม่มี”

.
ฉะนั้น ในข้อแรกนี้ อยากให้เริ่มต้นด้วยแนวคิดว่า วางความสำเร็จเมื่อครั้งอดีตไว้ก่อน แล้วตั้งเป้าหมายถึงอนาคตขององค์กร และพยายามเขียนเป้าหมายให้แตกต่างจากสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่แล้ว เพราะมันจะไม่เกิดความท้าทายต่อคนทำงานในองค์กร การมี “ความท้าทาย” นี้ถือเป็นแม่เหล็กชั้นดีในการดึงดูดคนเก่ง ๆ ให้ยังคงอยู่กับองค์กรได้
.

  • ☑ ข้อที่ 2 “ระบุธุรกิจหลัก พักธุรกิจรอง”

ผู้บริหารหลายท่านอาจจะมีหลายธุรกิจ ทำให้บางครั้งการโฟกัสเป็นไปได้ยาก ฉะนั้น อยากให้โฟกัสที่ Key business ก่อนว่าคืออะไรกันแน่ รวมถึงกลุ่มลูกค้าหลักของเราคือใคร ซึ่งหลาย ๆ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น Starbucks Zappos เราจะเห็นภาพชัดเจนว่า เขากำลังให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มไหนอยู่ หรืออย่างบริษัท Amazon ที่มีหลายธุรกิจ เขาก็จะแยกออกไปตั้งเป็นธุรกิจ ๆ ไป ซึ่งหากตอบข้อที่ 2 ได้ องค์กรก็จะมีความชัดเจนในเรื่องของการสื่อสารภายนอก และคนภายในก็ยังรับรู้ไปในทิศทางเดียวกันด้วย
.

  • ☑ ข้อที่ 3 “แข่งได้ไหม ต้องชนะใครหรือเปล่า”

คือการระบุ position ของตัวเองว่าอยู่จุดไหนของตลาด เช่น การเป็นผู้นำของตลาด การเป็น 1 ใน 3 ของธุรกิจนี้ และการจะระบุให้ได้ก็ต้องรู้ว่าคู่แข่งเราเป็นใคร ทั้งคู่แข่งทางตรงและทางอ้อม

.
.
…..
ในครั้งหน้าเราจะมาคุยกันต่ออีก 4 ข้อ “ท้ายสุดนี้…ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรจะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เราอย่างเห็นกันละ”
.

A Cup of Culture

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search