วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) แบบไหนโดนใจที่สุด

Design creates culture. → Culture shapes values. → Values determine the future.

หลายๆคนเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กร จะเกิดโดยธรรมชาติแบบค่อยเป็นค่อยไป (organic growth) ไปยุ่งอะไรกับมันมากไม่ได้ แต่คำกล่าวของ Robert L. Peters, กราฟฟิกดีไซน์เนอร์รุ่นใหญ่ชื่อก้อง สะท้อนให้เห็นความเชื่อที่ตรงกันกับเราชาว A Cup of Culture และที่ปรึกษาทางด้านวัฒนธรรมองค์กรอีกหลายๆสำนักว่า เราสามารถตั้งใจออกแบบวัฒนธรรมองค์กรดีๆขึ้นมาได้ ซึ่งนอกจากมันจะช่วยสร้างความผูกพันของคนในองค์กรได้แล้วยังส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลลัพธ์ทางธุรกิจด้วย

===============================

เครื่องมือชิ้นสำคัญที่เพจของเราได้แนะนำให้ผู้สนใจนำไปใช้ออกแบบวัฒนธรรมที่เราอยากเห็น Org Culture Canvas👉https://www.brightsidepeople.com/the-culture-canvas-th/👈

===============================

คือคำตอบแรกๆ ที่เราสามารถเริ่มต้นได้ แต่ก่อนไปถึงจุดนั้นเราควรเข้าใจวัฒนธรรมในแบบต่างๆแบบกรอบกว้างๆก็จะเป็นการดี โดยเป็นการต่อยอดแนวคิดจาก Cameron’s and Quinn’s Organizational Culture Model เราอาจสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบจากแกนสองแกนดังนี้

• สนใจเรื่องภายในและการบูรณาการ หรือ สนใจเรื่องภายนอกและการสร้างความแตกต่าง ( internal focus/external focus)

• ความมั่นคงและการควบคุม หรือ ความยืดหยุ่นและการยึดวิจารณญาณ (Adaptive/Predictable) และเมื่อสองแกนนี้ตัดกันเราจะได้ วัฒนธรรมทั้งสี่ประเภท ชนเผ่า (tribal) /ควบคุม (controlled) /สร้างสรรค์ (creative)/แข่งขัน (competitive) โดยทุกๆองค์กรมักจะมีส่วนผสมของทั้งสี่ประเภทนี้ทั้งสิ้น.

📘 ชนเผ่า (Tribal Culture)

เป็นวัฒนธรรมที่เน้นเรื่องความสัมพันธ์และมิตรภาพระหว่างกัน โดยเชื่อว่ามันจะเป็นคำตอบขององค์กรในระยะยาว คนในองค์กรแนวนี้จะมีสิ่งที่คล้ายๆกันทั้งในเชิงพฤติกรรมและวิธีคิด พูดง่ายๆคือการอยู่กันแบบครอบครัวที่มีผู้บริหารห่วงใยพนักงานวางตัวเป็นโค้ชมากกว่าเป็นบอส ค่านิยมหลักมักจะเป็นในแนว collaboration, participation และ inclusion การตัดสินใจต่างๆจะอยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตยและการเห็นพ้องต้องกันเป็นหลัก ตัวอย่างขององค์กรแนวนี้คือ Airbnb, Southwest Airline และ Zappos.

📒 สร้างสรรค์ (Creative Culture)

คือวัฒนธรรมองค์กรแบบ ไอเดียเป็นใหญ่ โดยไม่เกี่ยวกับลำดับขั้นในองค์กร การมองหาสิ่งใหม่ๆที่ดีกว่าเป้น DNA ของเผ่าพันธ์นี้ ผู้บริหารมักจะเป็นผู้มีความฝันที่ยิ่งใหญ่และวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลซึ่งจะต้องเดินทางผ่าน disruption และ transformation ลูกแล้วลูกเล่า ทุกคนในองค์กรจึงถูกปลูกฝังวิธีคิดแบบลองผิดลองถูก ล้มเหลวได้ เสี่ยงได้ เพื่อจะนำมาซึ่งนวัตกรรม องค์กรลักษณะนี้ได้แก่ tech startup ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ รวมถึงองค์กรอย่าง Pixar และ Apple .

📗 ควบคุม (Controlling Culture)

เป็นรูปแบบที่เชื่อเรื่องการเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่มาจากผู้นำซึ่งเป็นผู้กำหนดทิศทางที่ชัดเจนในเกือบทุกเรื่องในองค์กร คาดหวังให้ผู้คนทำตามกฏระเบียบและหน้าที่ของตนอย่างเคร่งครัด มุ่งเน้นด้านความมีประสิทธิภาพมากกว่านวัตกรรมใหม่ๆ การตัดสินใจเป็นไปโดยคนไม่กี่คนข้างบนผ่านการใช้อำนาจตามตำแหน่งงาน ค่านิยมหลักๆขององค์กรแนวนี้ได้แก่ deliberative ตัวอย่างองค์กรเหล่านี้ได้แก่ หน่วยงานราชการต่างๆ.

📕 แข่งขัน (Competitive Culture)

ความสำเร็จเท่านั้นที่เป็นคำตอบ น่าจะเป็นนิยามที่ชัดเจนขององค์กรแนวนี้ การทำงานแบบเน้นผลลัพธ์ในกลุ่มคนที่ถูกจูงใจด้วยเป้าหมายและความทะเยอทะยาน ทุกคนมีแนวคิดแบบแข่งขันและท้าทายกันและกัน การอยู่ร่วมกันจะเป็นแบบเป็นการเป็นงานและเน้นการพูดคุยเรื่องงานเป็นหลัก ผู้บริหารจะเป็นนักกลยุทธ์ที่นำทิศทางองค์กรในแบบของตนตามคัวชี้วัดที่ออกแบบมาค่อนข้างชัดเจนทุกมิติเพื่อวัดความสำเร็จ องค์กรที่มีวัฒนธรรมลักษณะนี้ได้แก่ Netflix และ Amazon .

ไม่มีวัฒนธรรมที่ถูกและผิด แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับบริบทและความเชื่อของผู้ก่อตั้ง องค์กรที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องมีวัฒนธรรมในแบบเดียวกัน ที่เห็นได้ชัดคือ Pixar และ Netflix ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแต่ก็ต่างประสบความสำเร็จอย่างมากมาย และที่สำคัญองค์กรมักจะมีส่วนผสมวัฒนธรรมมากกว่าหนึ่งรูปแบบ.

A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture.

.
>

.
.

แหล่งของข้อมูล

Quinn Association

Forbes

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search