ต้นกำเนิดวัฒนธรรมองค์กร

A Cup of Culture ขอพาย้อนกลับไปสู่ช่วงก่อนที่ทุกคนจะรู้จัก บริษัท Apple Inc. บริษัท Google Inc. หรือ Tech Company ชั้นนำต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมองค์กรเจ๋ง ๆ สวัสดิการดี ๆ หรือบรรยากาศการทำงานสุดคูลอย่างในปัจจุบัน
.
มี Tech Company ที่หนึ่ง ที่ถือว่าอยู่แนวหน้าของโลกมาอย่างยาวนาน และเป็นคนเริ่มต้นเรื่องราวเหล่านี้ก่อนใครเลย นั้นคือ บริษัท IBM หรือชื่อเล่นว่า Big Blue (ยักษ์สีฟ้า)
.
ปัจจุบันนี้ บริษัท IBM มีอายุรวมได้ 108 ปีแล้ว หนังสือ The Maverick and His Machine: Thomas Watson, Sr. and the Making of IBM ได้พูดถึงประวัติการก่อตั้งบริษัท IBM ไว้อย่างน่าสนใจและชวนให้น่าติดตามหลายประเด็น เราขอเริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า….

ทำไมบริษัท IBM ถึงได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นต้นกำเนิดของคำว่า Corporate Culture?

การจะพูดคุยประเด็นนี้ได้อย่างเข้มข้น ก็ต้องเริ่มต้นที่ผู้ก่อตั้งบริษัท IBM กันก่อน นั้นคือ โธมัส เจ. วัตสัน ซีเนียร์
.

จุดเริ่มต้นเรื่องราวเหล่านี้ เกิดในวันประชุมกลุ่มพนักงานขายของบริษัท โธมัส เจ. วัตสัน ซีเนียร์ ได้นั่งเป็นประธานหัวโต๊ะ และเขาสังเกตว่า ตัวเขาเองได้พูดคำว่า Think ในที่ประชุมอยู่บ่อยครั้ง และเขาก็รู้สึกว่าคำว่า Think นั้นให้ความรู้สึกที่ดีต่อเขาเป็นอย่างมาก และมันจะดีแค่ไหนหากเขาติดป้ายคำว่า Think ไว้ตามจุดต่าง ๆ ที่พนักงานมองเห็น เพื่อกระตุ้นให้พนักงานคิด โดยเฉพาะการคิดรอบด้านอันจะลดปัญหาที่อาจตามมาจากความประมาทได้
.
เหตุการณ์ครั้งนั้นได้ทำให้เขาตกผลึกความเชื่อบางอย่าง เขาใช้เวลาไม่นานนัก IBM basic beliefs ทั้ง 3 ข้อ ก็ถูกปล่อยออกมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานใช้เป็นแนวทางประกอบการทำงาน การตัดสินใจ และใช้เป็นหลักคิดพื้นฐานของ IBM ด้วย นั่นคือ

  • Respect for the individual
  • Best customer service in the world
  • Excellence

เขาได้ประทับความเชื่อ เจตคติ และค่านิยม ทั้งสามนี้เข้าไปในเส้นเลือดใหญ่ขององค์กร ซึ่งทั้งสามข้อนี้ล้วนสะท้อนถึงตัวตนของ โธมัส เจ. วัตสัน ซีเนียร์ ได้อย่างชัดเจน

.
.
…..
“Respect for the individual” ประโยคนี้สะท้อนความเป็นตัวตนของโธมัส เจ. วัตสัน ซีเนียร์ ในเรื่องของการที่เขาเป็นคนที่เคารพในตัวบุคคล เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ให้เกียรติผู้อื่น ซึ่งประโยคนี้นำพาไปสู่การออกนโยบายของบริษัทต่าง ๆ เช่น

  • นโยบาย The Open-door policy คือ นโยบายที่ให้พนักงานมีสิทธิ์อย่างเต็มที่ในการขอเข้าพบผู้จัดการและขอคำปรึกษาในปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกช่วงเวลาและหากพนักงานไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างดี พนักงานสามารถที่จะขอขึ้นพบผู้บริหารในระดับที่สูงกว่าได้ และผู้บริหารก็มีหน้าที่ที่จะต้องจัดการปัญหาในทางใดทางหนึ่ง
  • นโยบาย Speak Up คือ นโยบายที่ให้พนักงานมีสิทธิ์เขียนข้อความแสดงความรู้สึก หรือเขียนแสดงความคิดเห็นถึงการทำงานของผู้บริหาร
  • หรืออีกนโยบายหนึ่งที่ทำให้ IBM เป็นที่รู้จักคือ นโยบาย No Layoffs คือ ไม่มีนโยบายปลดพนักงาน เพราะทุกคนคือ Lifetime Employment

.
.
…..
“Customer service” โธมัส เจ. วัตสัน ซีเนียร์ ได้ฝังประโยคนี้ลงไปในใจของพนักงานทุกคน “To give the best customer service of any company in the world” ทำให้พนักงานทุกคนของ IBM กระตือรืนร้นที่จะบริการลูกค้าให้ดีที่สุด

.
.
…..
“Excellence” ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำให้ดีเลิศเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง “การตั้งเป้าอย่างดีเลิศ” ส่วนการไปถึงหรือไม่ถึงนั้นเป็นเรื่องรองลงมา ดีกว่าไปตั้งเป้าง่ายๆ แล้วไปถึงอย่างง่ายดาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นลักษณะวิธีคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ของโธมัส เจ. วัตสัน ซีเนียร์เป็นอย่างมาก

.
.
…..

เราจะเห็นได้ว่าจุดกำเนิดวัฒนธรรมองค์กรของ IBM มาจากการถอดตัวต้นและความเชื่อของผู้ก่อตั้งออกมา แล้วส่งต่อไปยังทุกคนในองค์กร ซึ่ง Basic Beliefs ทั้งสามข้อนำพา IBM มาถึงความยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมาอีกหลายสิบปี ทำให้อีกหลายบริษัททั้งในและนอกวงการไอที ทำการกำหนดวัฒนธรรมองค์กรของตนเองขึ้นมาบาง
แต่ไม่ใช่ทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จเหมือน IBM เพราะหลายๆแห่งไม่ได้เอาจริงเอาจังกับมัน

.
แต่ในท้ายที่สุด เมื่อเราปีนถึงจุดสูงสุดของยอดเขาแล้ว ก็ถึงเวลาต้องลง บริษัท IBM ก็ไม่ต่างกัน เมื่อวันที่วัฒนธรรมองค์กรเดินทางมาถึงวันหมดอายุ IBM จะทำอย่างไรต่อไป? ท้ายสุดนี้… “ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรจะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เราอย่างเห็นกันละ”

.
…….A Cup of Culture

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search