หลายคนคงรู้จักอนิเมชั่นที่กวาดรางวัลและอยู่ในความทรงจำเหล่านี้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Toy’s Story, Finding Nemo, Wall-E, Bug’s Life, Monster.Inc หรือ The Incredibles เบื้องหลังของความยิ่งใหญ่ของอนิเมชั่นที่ครองใจคนทั้งโลกเหล่านี้คือ สตูดิโอระดับตำนานที่ชื่อ Pixar ที่ก่อตั้งโดย Steve Jobs และถูกกุมบังเหียนมาอย่างยาวนานโดยชายที่ชื่อ Ed Catmull ผู้สร้างสตูดิโอแห่งนี้ปลุกชีวิตตัวการ์ตูนระดับโลกให้โลดแล่นบนแผ่นฟิล์ม และสร้างองค์กรสุดครีเอทีฟที่เปี่ยมล้นไปด้วยไอเดียสดใหม่ ซึ่งเบื้องหลังสิ่งเหล่านี้คือ วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงและมีความเป็นอัตลักษณ์ที่สูงมาก ..


🎯 องค์กรความคิดสร้างสรรค์ที่ทุกคนมีส่วนร่วม..


โดยปกติแล้วในแวดวงบริษัทแนวครีเอทีฟจะเป็นชุมนุมของคนที่เต็มไปด้วยอีโก้และโลกส่วนตัวสูง ซึ่งมักจะควบคุมได้ยาก ยิ่ง Pixar เป็นองค์ที่กำหนดมาตรฐานของงานไว้สูงมาก ทุกคนตั้งหน้าตั้งตารังสรรค์แต่งานที่มีแต่คุณภาพระดับเยี่ยมยอดออกมาเท่านั้น โดยปฏิเสธงานระดับมาตรฐาน (excellence, to root out mediocrity) ก็ยิ่งเป็นเหตุให้มีแต่คนเก่งและอีโก้สูงๆ .แต่ด้วยความที่ Catmull เลือกที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ชัดตั้งแต่แรกให้ที่นี่เป็นการทำงานแบบมี #TeamSpirit ที่สูงโดยที่ทุกคนพร้อมจะสนับสนุนกันและกันให้ประสบความสำเร็จเป็นสำคัญ


โดยมี key principles (core values) สุดเท่ดังนี้.

1. ความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องที่ชั่วร้ายอะไร

2. อย่าสับสนระหว่างกระบวนการและเป้าหมาย

3. คุณภาพ คือแผนธุรกิจที่ดีที่สุด

4. คนสำคัญกว่าไอเดีย

5. ทุกคนควรมีโอกาสคุยกับใครก็ได้

6. จงเตรียมตัวสำหรับสิ่งที่เราไม่รู้จัก (unknown)

7. จงให้โน๊ตดีๆแก่กัน (หมายถึงการให้ feedback กันและกัน)


ที่ Pixar มีวัฒนธรรมในการ feedback กันและกันอย่างเข้มข้น เพราะงานสุดเจ๋งที่เราเห็นกันนั้นล้วนเริ่มจากการเป็นเด็กทารกสุดน่าเกลียด (ugly baby) ก่อนทังสิ้น ไม่ได้มีเนื้อเรื่องที่สนุกและจับใจ หรือมีบทเพลง soundtrack อันไพเราะอย่างที่เห็นในโรงหนัง หากแต่ในตอนเริ่มต้นที่รุ่งริ่งแบบนี้อาจจะจบตรงนั้นได้เลยถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนละการ feedback จากทีมทุกคนที่ช่วยกัน


ในแต่ละวันทุกคนจะแสดงงานที่ยังไม่เสร็จของตนให้เพื่อนในทีมดูและพร้อมรับมุมมองที่แตกต่าง ทุกคนจะมีพื้นที่ปลอดภัยเชิงจิตวิทยา (psychology safety) สูงมาก สามารถเสี่ยงในการทำสิ่งใหม่ๆได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกลัวคำวิพากษ์วิจารณ์มาบั่นทอนแต่อย่างใด

การทำงานเป็นไซโลถูกพังทลายทั้งหมดด้วยการทำงานที่ใครก็สามารถเข้าถึงใครก็ได้โดยไม่ต้องผ่านคนอื่นหรือขั้นตอนที่ยุ่งยาก ด้วยวิธีคิดในการให้งานทุกอย่างออกมาได้เร็วและมีคุณภาพที่ดี มีผู้นำเพียงสองตำแหน่ที่นำทีมย่อยๆ คือ ผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้าง คนอื่นๆจะได้รับการให้อำนาจอย่างเต็มที่ในการพัฒนาไอเดียต่างๆจากศูนย์และโน้มน้าวผู้นำให้เห็นด้วยบนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์อันบรรเจิดและที่สำคัญต้องสามารถทำเงินได้ ..


🎯 Braintrust ประเพณีอันเป็นกล่องดวงใจ..


ที่นี่ไม่มีความจำเป็นต้องมีการประชุมยิบย่อยอะไรนอกจากนี้เพราะที่นี่อนุญาตให้สามารถเข้าประชุมไหนก็ได้แม้จะไม่ได้รับเชิญก็ตาม มีเพียงการประชุมในแต่ละเช้าของทีมต่างๆและ Braintrust ซึ่งเป็นการประชุมแบบ peer review ที่จัดขึ้นเมื่อจะมีโปรเจ็คเริ่มขึ้น โดยผู้ร่วมงานจะมารวมตัวกันให้ feedback ตั้งแต่งานยังตั้งไข่และร่วมกันชี้ถึงจุดบกพร่องของงานอย่างดุเดือดเพื่อร่วมกันพัฒนาให้กลายเป็นงานระดับมาสเตอร์พีซในที่สุด หากเป็นองค์กรอื่นๆหากคนโดนแบบนี้ตั้งแต่เริ่มต้นคงหมดกำลังใจกันไป แต่ที่นี่มีความไว้วางใจกันและกันเป็นพื้นฐานจึงสื่อสารกันอย่างตรงๆได้อย่างเผ็ดร้อน งานอย่าง Toy Story, Finding Nemo หรือ Up ต่างเริ่มต้นแบบบรมห่วยและถูกเจียรนัยผ่าน Braintrust ทั้งสิ้น Catmull ถึงกับกล่าวในหนังสือ Creativity.Inc ที่เขาเขียนว่า Braintrust เป็นเพณีที่ทรงคุณค่าที่สุดของ Pixar เลยทีเดียว
.
.
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search