เป้าหมายอันดับหนึ่งของบุคคลที่อยู่ในสถานะ “ผู้นำ” คือ การพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้องค์กรบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในสถานการณ์จริงการใช้วิธีหนึ่งอาจสำเร็จ ในขณะที่อีกสถานการณ์ใช้วิธีเดียวกันก็อาจผิดหวังก็ได้ ดังนั้น การเข้าใจรูปแบบการบริหารและการปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จึงเหมือนเป็น KPI ตัวหนึ่งที่ผู้นำควรทำความเข้าใจ
บทความวันนี้ #ACupOfCulture อยากชวนพูดคุยเกี่ยวกับ “9 สไตล์การบริหารงาน เลือกหยิบอย่างไรให้แมทช์กับวัฒนธรรมองค์กร!? ซึ่งแต่ละรูปแบบการบริหารจัดการก็มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกันไป ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของทีมและความสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร ดังนี้
9 สไตล์การบริหารงาน เลือกหยิบอย่างไรให้แมทช์กับวัฒนธรรมองค์กร!?
1. จู้จี้จุกจิก (Micromanagement)
ข้อดี: ให้ความใส่ใจในรายละเอียดทั้งจุดเล็กจุดใหญ่ ดังนั้น จึงมั่นใจได้เลยว่าสไตล์การบริหารแบบนี้ข้อผิดพลาด หรือจุดบกพร่องต่างๆ จะเหลือน้อยที่สุด
ข้อเสีย: ขัดขวางความคิดสร้างสรรค์และลดขวัญกำลังใจของพนักงานได้เนื่องจากถูกจำกัดและควบคุมที่มากเกินไป
Best for: โปรเจ็กต์ที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งต้องการความแม่นยำ และเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดต้องน้อยที่สุดจนถึงไม่มี เช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือภารกิจที่ความปลอดภัยสำคัญเป็นเบอร์หนึ่ง
2. ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ (Laissez-faire)
ข้อดี: ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความเป็นอิสระ ช่วยให้สมาชิกในทีมสามารถแสดงมุมมองความคิดเห็น ไอเดียแปลกใหม่ และส่งเสริมความรู้สึกเป็นเจ้าของ
ข้อเสีย: ขาดทิศทาง ขาดการทำงานร่วมกัน และอาจกระทบความรับผิดชอบหากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
Best for: ทีมงานที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มาก ซึ่งต้องการคำแนะนำเพียงเล็กน้อย และมีทักษะการกำกับตนเอง รวมถึงความรับผิดชอบที่สูง
3. ประชาธิปไตย (Democratic)
ข้อดี: สนับสนุนการมีส่วนร่วมของทีมและปลูกฝังความรู้สึกเป็นเจ้าของ
ข้อเสีย: การตัดสินใจอาจล่าช้าเนื่องจากต้องขอความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคน
Best for: โปรเจ็กต์ความร่วมมือที่มุมมองที่หลากหลายมีค่า เช่น การระดมความคิดหรือการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ
4. เผด็จการ (Autocratic)
ข้อดี: ช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจมีความจำเป็นในสถานการณ์วิกฤต
ข้อเสีย: อาจนำไปสู่ความขุ่นเคืองและขวัญกำลังใจที่ลดลง หากสมาชิกในทีมรู้สึกว่าความคิดเห็นของพวกเขาไม่ได้รับการใส่ใจ หรือถูกมองข้าม ไม่ได้รับความสำคัญ
Best for: สถานการณ์เร่งด่วนที่จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เช่น การจัดการวิกฤตหรือการปฏิบัติตามกำหนดเวลาที่กระชั้นชิด
5. มีวิสัยทัศน์ (Visionary)
ข้อดี: สร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกในทีมด้วยวิสัยทัศน์ระยะยาวที่ชัดเจน ส่งเสริมแรงจูงใจ และความรู้สึกมีเป้าหมายร่วมกัน
ข้อเสีย: อาจมองข้ามรายละเอียดเฉพาะหน้าหรือความท้าทาย ร่วมถึงแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการไปให้ถึงเป้าหมายนั่นๆ
Best for: ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการภาพวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายระยะยาว เช่น ระหว่างการสร้างแบรนด์ใหม่ของบริษัทหรือเปิดตัวโครงการใหม่
6. ปิตาธิไตย (Paternalistic)
ข้อดี: เป็นการบริหารแบบพ่อปกครองลูก (ตามคำที่เราคุ้นชิน) สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนและเสริมสร้างความภักดีในหมู่สมาชิกในทีม
ข้อเสีย: อาจมองว่าเป็นการปกป้องมากเกินไป ทำให้ขาดความเป็นอิสระ และความสามารถในการเติบโตด้วยตนเอง
Best for: สภาพแวดล้อมการทำงานที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เช่น ในสภาพแวดล้อมที่อาจต้องเผชิญกับสภาวะกดดันรอบด้าน
7. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational)
ข้อดี: ส่งเสริมการเติบโตและนวัตกรรม ช่วยให้สมาชิกในทีมบรรลุศักยภาพสูงสุด
ข้อเสีย: อาจสร้างแรงกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้พนักงานบางคนรู้สึกหนักใจ
Best for: องค์กรที่มุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เช่น สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีหรือบริษัทที่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
8. บริหารแบบการโค้ชชิ่ง (Coaching)
ข้อดี: พัฒนาจุดแข็งของแต่ละบุคคลผ่านการให้คำปรึกษา นำไปสู่การเติบโตในระยะยาว
ข้อเสีย: ต้องใช้เวลามาก เนื่องจากต้องมีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวกับสมาชิกในทีมเป็นจำนวนมาก
Best for: สภาพแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางวิชาชีพ เช่น บริษัทที่มีโปรแกรมการให้คำปรึกษาหรือบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการสร้างทักษะ
9. การโน้มน้าวใจ (Persuasive)
ข้อดี: สร้างความไว้วางใจและความโปร่งใสด้วยการอธิบายการตัดสินใจอย่างชัดเจนและได้รับการสนับสนุน
ข้อเสีย: อาจใช้เวลานาน เนื่องจากเน้นที่การโน้มน้าวใจมากกว่าการชี้นำเพียงอย่างเดียว
Best for: สถานการณ์ที่ทีมต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง เช่น ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรหรือการนำนโยบายใหม่มาใช้
ข้อสรุป: การทำความเข้าใจข้อดีและข้อเสียของแนวทางการบริหารจัดการแต่ละแบบช่วยให้ผู้นำสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก แนวทางที่สมดุลซึ่งปรับให้เข้ากับความต้องการของทีมและสถานการณ์สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมและมีแรงจูงใจ
A Cup of Culture
────
วัฒนธรรมองค์กร
companyculture
corporateculture
organizationalculture
.
.