7 ข้อสำคัญ ตอบสนองต่อความเงียบของทีมใน Virtual Meeting

เราตอบสนองต่อความเงียบในที่ประชุมอย่างไร? ⁣⁣
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงเคยอยู่ในสถานการณ์ของความเงียบในที่ประชุม ไม่ว่าจะเป็นการประชุมออฟไลน์หรือออนไลน์ ความเงียบที่เกิดขึ้นมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือความเงียบที่อยู่ในโหมดความคิด กับความเงียบแบบไม่สนใจ… ⁣⁣
⁣⁣
ประเภทแรกเป็นความเงียบที่เกิดจากการที่ผู้เข้าร่วมกำลังตั้งใจฟังบางอย่างมาก ๆ ให้ความสนใจไปที่ผู้พูด หรือ กำลังใช้เวลาในการคิด พิจารณา ก่อนที่จะพูด และแสดงออก หรือ รอจังหวะที่รู้สึกว่าปลอดภัยและสามารถพูดได้ // ในขณะที่ความเงียบอีกประเภทหนึ่งคือเงียบแบบไม่สนใจ เกิดขึ้นจากความกลัว ไม่กล้าที่จะพูดหรือแสดงออก หรือไม่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจอยู่กับการประชุมในตอนนั้น⁣⁣
⁣⁣
ซึ่งความเงียบทั้งสองประเภทนี้ ฟังดูแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จริง ๆ แล้วมีความเกี่ยวโยงเชื่อมกันอยู่ นั่นคือถ้าหากว่า เราไม่สามารถจัดสรร หรือสร้างบรรยากาศที่พาให้ความเงียบจากการคิดคำนึงไตร่ตรอง ไปสู่การพูดและแสดงออกมาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ความเงียบนั้นจะเข้าสู่โหมดหลังอย่างง่ายดาย⁣⁣
⁣⁣
ซึ่งการดูแลบรรยากาศให้การประชุมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ได้มีใครที่หลุดจากความเงียบประเภทแรกเข้าไปอยู่ในแบบหลัง โดยเฉพาะในรูปแบบออนไลน์ที่มีความท้าทายมากขึ้นด้วยความไกล การสร้างความเชื่อมั่นในทีม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และรู้สึกปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา (Psychological Safety) ยิ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น ⁣⁣
⁣⁣
สิ่งสำคัญที่ชวนคำนึงถึง เพื่อรับมือ และตอบสนองต่อความเงียบได้ เพื่อให้พาจากประเภทแรก ไปสู่การแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติได้ถูกจังหวะและโอกาส พร้อมกับสร้างความเป็นทีมที่แข็งแรง มีด้วยกัน 7 ประการ ⁣⁣
⁣⁣
==========================⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔸 1. น้อมรับความเงียบ ⁣⁣
สิ่งสำคัญเลยคือการมองว่า จริง ๆ แล้วความเงียบเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และมันโอเคมาก ๆ ถ้ายังไม่ได้มีใครจะพูดอะไร หรือการที่ผู้คนจะอยู่ในโหมดความคิด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถน้อมรับด้วยการมองความเงียบนั้นเป็นความสวยงามอย่างนึง และหลีกเลี่ยงการพยายามพูดอะไรสักอย่างเพียงเพื่อจะทำลายความเงียบที่เกิดขึ้น (เพราะเราอาจจะพลาดจังหวะดี ๆ ไปได้เลย หากไม่ทันรับฟังความเงียบนั้น) ⁣⁣
⁣⁣
🔸 2. อดใจรอ⁣⁣
บางครั้งความเงียบอาจเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรบางอย่างได้ อย่าพยายามแทรกแซงหรือบีบคั้น ถ้าหากว่าคนที่กำลังพูดอยู่หยุดไป อย่ารีบร้อนไปเร่งรัดเขา หรือไปพูดต่อแทนจากที่เขาพูดอยู่ เลือกที่จะให้เวลาและไม่แทรกแซงในช่วงเวลาที่เขากำลังใช้ความคิด เพราะการทำลายความเงียบบางครั้งต้องอาศัยความเงียบยิ่งกว่า⁣⁣
⁣⁣
🔸 3. พูดถึงความเงียบที่กำลังเกิดขึ้น⁣⁣
แทนที่จะเป็นว่าถ้าไม่มีใครพูดอะไรก็ปล่อยผ่านและไปต่อเรื่องถัดไป ให้ลองหยิบความเงียบที่เกิดขึ้นนั้น มาพูดคุยอย่างจริงใจและตรงไปตรงมา ว่าความเงียบนี้กำลังบอกอะไรเราในฐานะทีม ลองตั้งคำถามกับทีม ว่าอะไรคือเรื่องที่เราไม่ยอมพูด และควรที่จะหยิบยกมาพูดคุยกัน⁣⁣
⁣⁣
🔸 4. เปิดโอกาสให้คนที่เห็นต่าง ⁣⁣
เมื่อทีมมีแนวโน้มที่จะตั้งต้นไปกับความเห็นหรือเสียงส่วนใหญ่ของทีม ยิ่งทำให้คนที่เขาอาจมองต่าง หรือไม่ได้คิดเห็นแบบเดียวกันคนส่วนใหญ่ในทีมรู้สึกยากที่จะพูดออกไป และเลือกที่จะเงียบดีกว่า เพราะไม่มีใครอยากให้ตัวเองโดนมองว่าแปลกแยก แตกต่าง เพราะฉะนั้นทีมทุกคนสามารถที่จะช่วยกันสังเกต และเปิดโอกาสให้กับคนที่อาจจะกำลังเห็นต่างและเงียบอยู่ได้แสดงออก ด้วยความรู้สึกว่าทีมให้ความต้อนรับกับมุมมองความคิดของเขา⁣⁣
⁣⁣
🔸 5. เผชิญหน้าและสร้างความชัดเจนให้กับเรื่องที่ไม่มีใครเอ่ย⁣⁣
การเลือกที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทำได้ง่าย แต่ไม่ใช่ทางออกที่ดี หรือเป็นทางเลือกที่ควรเคยชิน แต่ควรที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งนั้นอย่างตรงไปตรงมา และเชิญชวนให้ทีมได้แสดงออก สื่อสาร และสร้างความชัดเจนให้กับเรื่องที่ทุกคนคิด แต่ไม่เคยมีใครพูดถึง ⁣⁣
⁣⁣
🔸 6. เสริมแรงพฤติกรรมที่คาดหวัง⁣⁣
เมื่อมีคนแสดงความสนใจ มีส่วนร่วมไปกับกิจกรรม และกระบวนการอย่างดี ให้เแสดงความชื่นชม ยินดี ต่อพฤติกรรมและการแสดงออกนั้น โดยไม่จำเป็นต้องยิ่งใหญ่ แต่เป็นการแสดงออกเล็ก ๆ ที่ทำให้รู้เราว่าชื่นชมต่อสิ่งที่เขาแสดงออก เช่น ในระหว่างวีดิโอคอล หากมีเพื่อนกำลังแชร์เรื่องราว หรือแสดงความคิดเห็น สามารถกด reaction หรือ emoji เพื่อแสดงถึงความรู้สึกโดยไม่ขัดจังหวะ และเป็นการแสดงออกว่าเราใส่ใจและชื่นชมการแสดงออกของเขา หรือแม้แต่ในเวลาอื่น เช่น การส่งข้อความหรือคำถามมาในแสลก ก็สามารถกด emoji หรือ reaction ตอบสนองข้อความนั้น เพื่อบ่งบอกว่าเรา รับรู้ และใส่ใจในสิ่งที่เขาแสดงออกมา⁣⁣
⁣⁣
🔸 7. ใช้เวลาก่อนเริ่มประชุม⁣⁣
หากมีคำถาม หรือสิ่งที่ผู้เข้าร่วมต้องใช้เวลาในการคิด ในการ Reflect ให้ถามสิ่งเหล่านั้น กับผู้เข้าร่วมเป็นรายบุคคลเพื่อให้แต่ละคนได้ใช้เวลาในการเตรียมของตัวเอง เมื่อถึงเวลาประชุมสามารถที่จะแลกเปลี่ยนกันได้เลย โดยเฉพาะการระดมไอเดีย การให้โจทย์ไปล่วงหน้า ทำให้เมื่อถึงเวลาที่ทีมแชร์ไอเดียจะได้วิธีการที่หลากหลายมากกว่าได้โจทย์พร้อมกันในตอนนั้นด้วยอิทธิพลและความคล้อยตามของทีม ⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
corporate culture⁣⁣
culture⁣⁣

.
.
>>>

.
.
>>>>
⁣⁣
ที่มา: ⁣⁣
https://www.fearlessculture.design/blog-posts/how-to-increase-psychological-safety-in-a-virtual-team⁣⁣
https://www.linkedin.com/pulse/power-silent-components-virtual-meetings-workshops-riikka-iivanainen/⁣⁣

.
.
>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search