การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าทั่วโลกนั้น มีแต่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในด้านลบ ทุกวันนี้เราเสพแต่ข่าวเกี่ยวกับการสูญเสียต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ป่วย ผู้เสียชีวิต การปิดกิจการ ตลาดหุ้นที่ร่วงระนาว ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดความเครียด หวาดกลัวที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนต่างๆ แต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายแค่ไหนก็ตาม ในทุกวิกฤติจะมีโอกาสอยู่เสมอ แม้เราจะเป็นคนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์นี้ก็ตาม เรายังมองเห็นโอกาสจากกวิกฤตินี้อย่างน้อย 7 ข้อ
.
.
โอกาสที่ 1: มีเวลามากขึ้น – More Time
เหตุจากกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ถูกยกเลิก นัดหมายต่างๆ ในการพบปะกันได้หายไปจากปฏิทินจนหมดสิ้น กุญแจสำคัญคือ การบริหารจัดการเวลาใหม่ ไม่ให้สูญเปล่า ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ในช่วงวิกฤตินี้เท่านั้น แต่มันคือโอกาสในการจัดระเบียบชีวิตและสิ่งแวดล้อมของเราใหม่
.
.
โอกาสที่ 2 : ทบทวนและพิจารณาถึงอุปนิสัยที่ควรเปลี่ยนแปลง – Reflect and Reconsider
ความจริงที่ว่าการระบาดของโคโรน่าไวรัส ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากมาย ทั้งไม่สามารถไปออกกำลังกายที่ยิมได้ หรือการต้องทำงานอยู่ที่บ้านแทนที่จะเดินทางไปออฟฟิต นี่จึงเป็นโอกาสในการพินิจพิจารณาถึงอุปนิสัย หรือสิ่งที่ทำเป็นกิจวัตร ที่น่าจะต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้น เช่น การต้องออกไปปาร์ตี้ทุกสัปดาห์ การซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ติดบ้านทุกครั้งที่ไปซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย เมื่อลองพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก็อาจจะทำให้เห็นว่าควรหรือไม่ควรปฏิบัติต่อไปหลังจากที่วิกฤติคลี่คลายแล้ว
.
.
โอกาสที่ 3: เพิ่มความเร็วในการทำงานและกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมในวงกว้าง (Speed and Innovation)
หลายองค์กรที่มีการบริหารที่มีระบบระเบียบมากมายหากจะขออนุมัติเพื่อดำเนินการในแต่ละเรื่อง วิกฤตินี้ทำให้ขั้นตอนในการทำงานลดลงโดยอัติโนมัติ การขออนุมัติอย่างเป็นทางการจะลดน้อยลง และพนักงานจะมีอำนาจในการตัดสินใจมากขึ้นเพื่อให้งานเดินต่อได้อย่างทันท่วงที นอกจากนั้นวิกฤติในครั้งนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อันนำไปสู่นวัตกรรมมากมาย เช่น ร้านอาหารผันตัวมาทำรูปแบบแดลิเวอรี่ สถาบันการศึกษาเปลี่ยนการเรียนการสอนมาเป็นแบบออนไลน์ หรือแม้แต่การแพทย์ที่คิดค้นการป้องกัน และตรวจคัดครองที่ลดการมาโรงพยาบาลของคนไข้ ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้จะส่งผลถึงการใช้ชีวิตหลังจากผ่านวิกฤติไปอย่างแน่นอน
.
.
โอกาสที่ 4: การประชุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น Better Meeting
หลายองค์กรพบว่าก่อนที่จะเกิดวิกฤติในครั้งนี้ แต่ละคนเสียเวลาไปกับการประชุมไปมาก สูงสุดถึง 23 ชั่วโมง/ต่อสัปดาห์ ซึ่งการประชุมในบางครั้งแทบไม่ได้ผลลัพธ์เลยด้วยซ้ำ แต่วิกฤติในครั้งนี้ทำให้เป็นโอกาสที่แต่ละองค์กรต้องหาวิธีที่จะจัดการการประชุมที่มีระยะเวลาจำกัด ผ่านเทคโนโลยีต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
.
โอกาสที่ 5: ได้สร้างสัมพันธ์และช่วยเหลือกันและกัน – Reconnect and Help
ช่วงเวลาแบบนี้สามารถกระตุ้นพฤติกรรมทางสังคมด้านลบของคนบางกลุ่มได้ เช่น การกักตุนสินค้า การขายอุปกรณ์ป้องกันราคาเกินควร ฯลฯ แต่ก็ส่งเสริมพฤติกรรมดีๆ ได้เช่นกัน แม้เวลานี้เป็นช่วงที่ต้องห่างไกลจากผู้คน หรือครอบครัว แต่ก็เป็นช่วงที่ทุกคนรู้สึกว่า เราไม่ได้อยู่เพียงลำพัง จึงทำให้เกิดวิธีการสร้างสรรค์ในการสร้างสัมพันธ์กันมากมาย เช่น การใช้ความช่วยเหลือแบ่งปันอาหารหรือน้ำยาทำความสะอาดกันในหมู่บ้าน โดยแจ้งข่าวผ่านสื่อโซเชี่ยลให้มารับโดยไม่ต้องสัมผัสกันใกล้ชิด โดยก่อนหน้านี้แต่ละคนแทบไม่เคยคุยกันแม้อยู่ไหนหมู่บ้านเดียวกันก็ตาม
.
.
โอกาสที่ 6: สภาพแวดล้อมที่บริสุทธิ์ Cleaner Environment
เนื่องจากการปิดตัวลงของหลายๆ อุตสาหกรรมซึ่งเป็นข่าวร้ายของหลายๆ คน แต่ถือเป็นข่าวดีของโลกเพราะอุตสาหกรรมเหล่านั้น ได้หยุดการสร้างมลภาวะไปในตัวด้วย นี่จะเป็นโอกาสที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงวิธีการต่างๆในการใช้ชีวิตที่จะส่งผลกระทบต่อโลกในระยะยาว
.
.
โอกาสที่ 7: เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างพอประมานและยอมรับมัน Modesty and Acceptance
แม้ผู้คนจะเรียนรู้จากการระบาดของโรคต่างๆ มาหลายครั้ง เพื่อทำการป้องกันในทุกมิติ และควบคุมทุกอย่างไว้ แต่วิกฤติครั้งนี้ก็ยังเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของทุกคนอยู่ดี ครั้งนี้จึงเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนตระหนักรู้ว่า ยังมีอีกหลายสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ซึ่งเราต้องยอมรับและผ่านมันไปให้ได้
.
.
A Cup Of Culture