6 ทักษะ MUST-HAVE ที่ทีมงานต้องมี เพื่อสร้างองค์กร Resilience

ท่ามกลางวิกฤตที่ไม่มีเวลาได้ตั้งตัว ทุกองค์กรทั่วโลก (ย้ำอีกทีว่า ทั่วโลก!) ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ถูกบังคับให้ต้องออกจาก Comfort Zone และทำ Mission หลายอย่างที่ในยามปกติไม่มีทางทำได้ หลายสายการผลิตสามารถเร่งการผลิตจนทำลายสถิติครั้งแล้วครั้งเล่า การทำงานแบบ Remote Work ช่วยหลายธุรกิจเพิ่ม Productivity ได้แบบไม่เคยเป็นมาก่อน ค้าปลีกหลายแห่งสามารถสามารถเปิด Online Store และ Direct-to-customer sales ของตัวเองได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน⁣

องค์กรทั่วโลกเกิดแนวคิดการทำงานที่ไกลไปกว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา “ทำอย่างไรจะรักษา Speed, Mindset, Team Spirit และ Sense of Purpose แบบนี้โดยไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤต” ⁣

ในฝั่งของธุรกิจได้มีการเตรียมการสร้าง Operations Resilience โดยคำนึงถึงการออกแบบ Operations และ Supply Chains โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะปกป้อง Disruptive events ต่างๆ ที่ต้องมาอีกแน่ๆ ในอนาคต การสร้างสมดุลย์ของ Efficiency และ Resiliency ที่เหมาะสมควรอยู่ตรงไหน (ขยายความ: จากอดีตถึงปัจจุบันระบบ Supply chain ได้มุ่งเน้นเรื่องต้นทุนที่ถูกที่สุด แต่หลังจากนี้ไป Efficiency จะไม่ใช่เป้าหมายเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว เพราะหากมีมหันตภัยในลักษณะนี้ขึ้นอีก Supply chain จะสะดุดทันทีแบบที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน)⁣

แต่การสร้าง Resilience ในฝั่ง Operations เป็นหลักอาจไม่ใช่การแก้ปัญหาได้จริงหากคนในองค์กรไม่ได้คิดและปฏิบัติในแนวทางนี้ ไม่ต่างอะไรกับเปลี่ยน Hardware ในขณะที่ยังใช้ OS และ Software ชุดเดิม หากแต่ควรคำนึงถึงการสร้างวัฒนธรรมแบบ Resilience ที่ทุกคนจะหล่อหลอมให้ทุกคนเกิดความหยุ่นตัวมากพอในการตอบสนองสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีด้วยวิธีการที่เหมาะสม ไม่ใช่เพียงการคาดการณ์อนาคตหรือการวางกลยุทธ์อย่างที่แล้วมาแต่เพียงอย่างเดียว⁣

…………………….⁣

เมื่อหลายปีก่อน PWC ได้นำเสนอแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ #Resilience โดยให้นิยามว่า “ความสามารถขององค์กรที่จะคาดเดาและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบโดยมุ่งหวังที่จะวิวัฒน์ (Evolve) ไม่ใช่เพียงแค่เอาตัวรอด (Survive)” ซึ่งความเปลี่ยนแปลงในที่นี้ PWC อ้างอิงจาก Megatrends ที่กำลังเขย่าเศรษฐกิจโลก แม้จะไม่ได้รวม Virus pandemic ไว้ในนั้น แต่ก็สามารถปรับใช้กับทุกการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี⁣

วัฒนธรรมองค์กรแบบ resilience ตามนิยามของ PWC จะประกอบไปด้วย 6 คุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ โดยสามประการแรกจะเป็นความสามารถภายในองค์กร และสามประการหลังเป็นเรื่องความสัมพันธ์กับลูกค้า คู่ค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย⁣

ความสามารถภายในองค์กร⁣

🔸Coherence ⁣
ความสามารถในการทำงานและตัดสินใจร่วมกันเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย มองส่วนรวมมากกว่าตนเอง องค์กรมาก่อนทีม และทีมมาก่อนตัวเองเสมอ⁣

🔸AdaptiveCapacity⁣
ความสามารถในการปรับเปลี่ยนองค์กรได้อย่างรวดเร็ว การรับและขอ feedback จากคนรอบข้างและนำมาปรับตัวได้อย่างดี รวมถึงการเรียนรู้ตลอดเวลาที่ถือเป็นกุญแจสำคัญ⁣

🔸 Agility⁣
ความสามารถในการลงมือทำและปฏิบัติตามแผนที่ผ่านการตัดสินใจแล้วได้อย่างรวดเร็ว ไวต่อสัญญานต่างๆทางธุรกิจและเคลื่อนที่ให้ไวในการตอบสนอง⁣

ทักษะความสัมพันธ์กับลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย⁣

🔹 Relevance ⁣
ความสม่ำเสมอในการส่งมอบตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) คาดการณ์และทำความเข้าใจถึงการปรับเปลี่ยนของความต้องการที่มีอยู่ตลอดเวลา⁣

🔹 Reliability⁣
ความสม่ำเสมอในการส่งมอบได้ตามคุณภาพที่คาดหวังอย่างทันเวลา รักษาความน่าเชื่อถือไปได้ในทุกสถานการณ์ แม้อยู่ในวิกฤต⁣

🔹 Trust⁣
ความเข้าใจในการสร้างความสัมพันธ์ที่คุ้มต่อการลงทุนลงแรง เวลาและทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าหากเราจัดสรรไปให้กับความสัมพันธ์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี ก็สามารถทำให้เราดูแลความสัมพันธ์นั้นได้จริง⁣ นอกจากนั้นความไว้วางใจยังช่วยให้องค์กรรักษาฐานลูกค้าไว้ได้ พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งต่อองค์กร และดึงดูดลูกค้าหรือนักลงทุนรายใหม่ได้แม้จะอยู่ในภาวะวิกฤต



…………………………⁣


ในความเป็นจริงการสร้างให้องค์กร Agile, Adaptive, Trustworthy, Relevant, Reliable และ Coherent ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรนั้นทำได้โดยความเอาจริงเอาจังของผู้บริหารเบอร์ต้นๆ ขององค์กรที่ต้องประเมินว่า จะได้การสนับสนุนจากคนในองค์กรมาได้อย่างไร อะไรที่จะทำให้เราไขว้เขวไปในระหว่างทางบ้าง อะไรคือสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันเพื่อให้วัฒนธรรม Resilience คงอยู่ในระยะยาว และการตอบคำถามของบอร์ดในเพื่อให้ท่านเหล่านั้นได้เห็นภาพใหญ่ของเรื่องนี้⁣

ก่อนหน้าการมาของ Covid-19 มีกูรูทั่วโลกทำนาย Megatrends ของโลกไว้หลายมิติ แต่แทบไม่มีสำนักใดเลยที่พูดถึงการแพร่ระบาดของโลกที่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกม การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแรงและพร้อมต่อการ Resilience จึงดูเหมือนเป็นคำตอบในการรับมือสถานการณ์ใดๆก็แล้วแต่ที่จะเกิดขึ้น เพราะในที่สุดแล้ว Culture eats strategy for breakfast ตามที่ปรมาจารย์ Peter Drucker ได้ย้ำนักหนา⁣


A Cup of Culture⁣
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture

.
.
>>>>>

.
.
>>>>

แหล่งที่มาของบทความ

https://www.pwc.nl/nl/assets/documents/pwc-enterprise-resilience-the-emerging-capability-every-business-needs.pdf

https://pwc.blogs.com/files/the-case-for-resilience1.pdf

https://www.mckinsey.com/business-functions/operations/our-insights/jump-starting-resilient-and-reimagined-operations

https://www.bsigroup.com/globalassets/Global/revisions/Org-Resilience-Exec-summary2–FINAL-25Nov15.pdf


Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn