ท่ามกลางกระแสผลัดเปลี่ยนงานกันฝุ่นตลบ ทางเพจเราก็ได้มีการพูดถึงการรับมือจากการลาออก การหาคนใหม่ และนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันไปบ้างแล้ว แต่เรื่องที่เรายังไม่ได้พูดถึงคือ… “ถ้าเราเป็นหนึ่งในคนที่กำลังจะลาออก เราควรจะทำอะไรบ้างเพื่อไม่ให้ตัวเองเสียชื่อ”
นึกภาพเพื่อนร่วมงานที่เป็นพนักงานดาวเด่นขององค์กรที่มีผลงานดีเยี่ยมและสร้างชื่อเสียงไว้มากมาย แล้ววันหนึ่งกลับเขาลาออกโดยไม่ได้เตรียมการส่งต่องานใด ๆ ไว้เลย ภาระจึงตัวมาที่คุณที่ต้องคอยมาหาทางแก้ปัญหาตามหลัง… การลาออกจึงไม่ใช่เพียงเรื่องของคนคนหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ส่งผลต่อทั้งองค์กรเสมอโดยเฉพาะถ้าเราเป็นผู้นำในระดับใดระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือชื่อเสียงของตัวเองหลังจากนี้ ว่าที่ทำงานเก่าเราจะพูดถึงเราอย่างไรเวลาที่ต้องทำ Reference check หรือโปรเจคที่เคยภาคภูมิใจเมื่อเราลาออกไปแล้วจะพังจนไม่อยากระบุลงไปใน Resume หรือเปล่า เพื่อป้องกันความเสียหายเหล่านี้ และรักษาชื่อเราไว้ไม่ให้ด่างพล้อย
วันนี้เรามี 6 ขั้นตอนที่ควรพิจารณาก่อนลาออก
==================
📌 1. Identify your priorities
คำนึงถึงความเป็นไปได้จริงว่าเราสามารถที่จะทำอะไรเสร็จได้บ้างก่อนวันสุดท้าย เพราะหลายครั้งที่เราอาจประเมินเวลาที่มีอยู่มากไป ดังนั้นเพื่อเป็นการลำดับความสำคัญจึงควรโฟกัสกับงานที่ตัวเรา’เท่านั้น’ที่สามารถทำได้ทั้งในด้านของความรู้ ประสบการณ์ และ connec-tion ซึ่งทำได้โดยการลองตั้งคำถามเหล่านี้เพื่อจัดลำดับความสำคัญ
1) มีอะไรบ้างที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เรากำลังทำอยู่ และใครต้องเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง ?
2) มีทักษะ ความรู้ หรือเส้นสายอะไรบ้างที่จะหายไปจากองค์กรถ้าเราไม่อยู่ และเราสามารถที่จะเตรียมคนอื่นให้แทนที่อะไรได้บ้าง ?
3) มีอะไรที่เราต้องทำอีกบ้างเพื่อให้ไม่มีอะไรค้างคา ?
4) มีงานอะไรบ้างที่เราจำเป็นต้องปล่อยให้มันไม่เสร็จสิ้น ?
📌 2. Communicate your boundaries
เมื่อเราชัดเจนกับลำดับความสำคัญก่อนออกแล้ว ให้กำหนดขอบเขตเพื่อจะได้แน่ใจว่าเราสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้สำเร็จ และเลี่ยงการโดนดึงเข้าไปสู่งานใหม่ ๆ พร้อมทั้งแชร์ลิสต์เหล่านี้ให้กับทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง เพราะการจากไปของเราจะสร้าง Dynamic การทำงานใหม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องระบุให้ชัดเจนถึงบทบาททุกคนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านนี้ รวมถึงเราก็ต้องชัดเจนในด้านการปฏิเสธคำขอต่าง ๆ และส่งมันต่อไปยังคนที่จะมารับช่วงต่อหลังจากนี้
เมื่อเราประกาศลาออกแล้วอย่าลืมว่าเราควรที่จะเลี่ยงการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับอนาคตองค์กร และปล่อยให้คนที่อยู่ตัดสินใจด้วยตนเอง
📌 3. Create a detailed transition plan for your boss
หาทางให้หัวหน้าของเราเข้าใจของสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นหลังจากคุณออกไปแล้ว โดยอาจจะสามารถทำได้โดยการลิสต์ความเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างแผนกคุณ หรือมุมมองเกี่ยวกับความท้าทายที่กำลังจะมาถึง โดยสรุปสิ่งเหล่านี้ออกมาเป็นเอกสารทางการและพูดคุยกับหัวหน้าของเรา โดยแผนเหล่านี้อาจจะปรับเปลี่ยนได้ภายหลังขึ้นอยู่กับว่าใครคือคนที่จะมารับผิดชอบต่อจากเรา หรือว่าตำแหน่งเราจะถูกแยกส่วน มีคนมาแทน หรือถูกยุบไป
📌 4. Prepare your team
ให้เวลากับการเตรียมความพร้อมให้ทีมของเราพร้อมเข้าสู่การทำงานกับผู้นำคนใหม่ ดังนั้นในขั้นตอนนี้เราจะไม่สามารถทำงานแบบเดิมได้แล้ว แต่ต้องเป็นการพยายามสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกทีม พูดคุยกับทีมถึงสิ่งที่พวกเขาอยากที่จะทำสำเร็จในอนาคต ถามถึงมุมมองของพวกเขาว่าใครบ้างที่จะมามีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของพวกเขา และใช้เวลาที่เหลือในการส่งเสริมความสัมพันธ์ของสมาชิกทีมและคนเหล่านั้น
📌 5. Set your successor up for success
ใครก็ตามที่จะมารับหน้าที่ต่อควรที่จะได้ประโยชน์จากประสบการณ์เราไม่มากก็น้อย ไม่ใช่ต้องเป็นการเริ่มต้นใหม่ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคนที่มาแทนคือ ที่มาที่ไปต่าง ๆ ว่าทำไมองค์กรถึงเป็นอย่างเช่นปัจจุบัน เช่น แรงกดดันจากผู้ถือหุ้น การเมืองภายใน ทรัพยากรณ์ที่จำกัด วัฒนธรรมองค์กร และปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ที่ผ่านมาองค์กรไม่สามารถตัดสินใจในรูปแบบที่คิดว่าดีที่สุดได้ รวมไปถึงอะไรที่ต้องรับรู้ ยอมรับ หรือปรับเปลี่ยนเพื่อไปให้ถึงความสำเร็จ
ในขณะเดียวกันก็อย่าทิ้งปัญหาไว้ให้กับคนที่จะมารับช่วงต่อ โดยเฉพาะปัญหาที่เราสามารถแก้ได้ดีกว่า เช่น การปรับโครงสร้างทีม หรือการให้คนที่ทำงานไม่ได้ออกอาจะเป็นการตัดสินใจที่ยาก และง่ายที่จะเลี่ยงและปล่อยให้เป็นภาระของคนที่มาแทน
📌 6. Be respectful and responsive
บางคนอาจจะตื่นเต้นกับการทำงานที่ใหม่ หรืออาจจะอดใจรอหนีไปไกล ๆ ไม่ไหวแล้ว แต่นั่นอาจจะมีความเสี่ยงให้เราได้มีชื่อเสียติดมา ถ้าเราทำตัวเหมือนออกไปแล้วก่อนถึงวันจริง เช่นการไม่ตอบสนองต่อเพื่อนร่วมงาน หรือไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และชื่อเสียเหล่านี้ก็มีโอกาสที่จะตามเราไปในที่ทำงานใหม่ได้ง่าย ๆ
ดังนั้น ในช่วงสุดท้ายของการทำงานอย่าลืมว่าเพื่อนร่วมงานของเรายังต้องการพึ่งพาเราอยู่ หรืออาจจะอยากมีเวลากับเราเพื่อจัดการงานบางอย่างที่ค้างคา หรือเพื่อขอบคุณสำหรับความพยายามของเราที่ผ่านมา ดังนั้นในเวลาช่วง
=================
สุดท้ายแม้ว่าเหตุผลของการออกจะเป็นอะไรก็ตาม ทางที่ดีคือรักษาความสัมพันธ์ และความเคารพจากเพื่อนร่วมงานไว้ และอย่าเผาสะพานกับเพื่อนร่วมงานในที่เก่าที่อาจจะพร้อมให้ความช่วยเหลือเราในอนาคต เมื่อพนักงานกำลังจะไปเริ่มงานที่ใหม่ ความสนใจของเขาอาจจะพุ่งไปข้างหน้า แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการวางแผนการจากลา เพราะมันคือสิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดสิ่งที่คนจะพูดถึงเราหลังจากนี้ ดังนั้นเพื่อรักษาชื่อเสียงไม่ให้มัวมองก่อนที่จะเริ่มงานที่ใหม่หวังว่าทั้ง 6 ขั้นตอนนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.
>>>
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
https://hbr.org/2022/01/how-to-quit-when-you-lead-a-team
.
.
>>>