5 แนวทาง ดูแลกำลังใจทีม ในช่วงวิกฤต

ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความเครียดและความไม่แน่นอน ในฐานะองค์กรสิ่งสำคัญลำดับแรกๆ ที่ควรคำนึงถึงคือสภาพจิตใจของทีมงานและการดูแลใส่ใจที่ต้องมากเป็นพิเศษ ในแบบที่ไม่ใช่เพียงเพื่อสงสาร เห็นใจ หรือให้ใครได้สิทธิพิเศษ แต่เป็นการทำความเข้าใจ เพื่อปรับการทำงานให้ยืดหยุ่นต่อเงื่อนไขจำเป็น และพาทีมไปข้างหน้าด้วยกัน ⁣⁣
⁣⁣
เพราะฉะนั้นการที่หัวหน้าหรือผู้นำจะต้องทั้งดูแลตัวเอง ดูแลลูกทีม และพาทีมให้ผ่านช่วงวิกฤตเช่นนี้ไปได้ ตัวผู้นำเองต้องทั้งเข้มแข็ง และกล้าเปิดเผยด้านที่อ่อนแอ ดูแลตัวเองให้เป็นแบบอย่าง สื่อสารให้มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง และพาทีมก้าวไปด้วยกัน โดยจากบทความของ HBR แนะนำแนวทางที่ผู้นำสามารถทำได้ 5 แนวทาง⁣⁣
⁣⁣
=========================⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔰 1. เปิดเผยด้านที่อ่อนแอได้ ⁣⁣
⁣⁣
ในสภาวะปัจจุบัน การดูแลสภาพจิตใจ สภาวะอารมณ์ ความเครียด และวิตกกังวลต่าง ๆ แทบจะเป็นเรื่องที่เกือบทุกคนได้รับ และเผชิญกับความท้าทายในการรับมือเพื่อดูแลตัวเองให้ยังมีสุขภาพกายใจที่ยังดีอยู่ ซึ่งแต่ละคนอาจเผชิญกับปัญหาในระดับที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าเราจะอยู่ในระดับไหน สิ่งสำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้ความท้าทายนั้นเจือจางและเบาบางลงได้ ก็ต่อเมื่อคนนั้น โดยเฉพาะคนที่มีตำแหน่งสูง หรืออำนาจ เลือกที่จะเล่าและแชร์ประสบการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ ⁣⁣
⁣⁣
อย่างในช่วงการ Work From Home ที่นำมาซึ่งความท้าทายมากมาย โดยเฉพาะการต้องเปิดเผยความเป็นส่วนตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น การที่ลูกโผล่มาในตอนประชุมกับทีม หรือ ความไม่สะดวกใจเอาเสียเลยเมื่อต้องเปิดกล้องและไม่มีมุมดี ๆ ในบ้านที่เหมาะกับการวิดีโอคอล ซึ่งการที่ผู้นำ หรือหัวหน้า เลือกที่จะบอกเล่าและเปิดเผยถึงปัญหาความท้าทายที่เขาเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับ สุขภาพจิตใจหรือไม่ จะเป็นปัญหาเล็กน้อย หรือความท้าทายใหญ่ แต่มันจะทำให้ลูกทีมสัมผัสได้ถึงความเป็นมนุษย์ ความเหมือนกันกับพวกเขา และที่สำคัญคือ ความกล้าหาญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างและเก็บเกี่ยวความไว้เนื้อเชื่อใจกัน รวมถึงความผูกพันธ์ และผลการดำเนินงานของทีมดีที่ขึ้นด้วย⁣⁣
⁣⁣
🔰 2. ทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง ⁣⁣
⁣⁣
การพูดและบอกกับทีมงาน ว่าเราให้ความสำคัญและสนับสนุนให้ทีมดูแลสุขภาพกายใจของตัวเอง เป็นเรื่องที่ดี แต่บอกอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ อย่างที่ทางทีม ACOC เชื่อและให้ความสำคัญมาตลอด ว่าการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ แต่ผลลัพธ์ในเชิงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะน้อย สิ่งที่ทำได้ยากกว่า แต่ก็นำมาซึ่งประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่มากกว่า ก็คือการทำเป็นแบบอย่าง เพื่อแสดงให้พนักงานเห็นว่าเราใส่ใจและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จริง ๆ พร้อมกับบอกด้วยการกระทำว่า แบบนี้คือทำได้ และควรที่จะทำเลย เปิดโอกาสให้พนักงานได้เห็น ว่าการออกไปเดินเล่นระหว่างวัน นัดหมายนักจิตวิทยา ให้เวลาพักเป็นเรื่องเป็นราว หรือแม้กระทั่ง งดตอบอีเมลหรือถามเรื่องงานนอกเหนือจากเวลางาน เป็นเรื่องที่ทำได้ เพื่อดูแลตัวเองให้มีแรงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ⁣⁣
⁣⁣
🔰 3. อย่าปล่อยให้ check-in เป็นแค่การอัพเดตเรื่องงาน⁣⁣
⁣⁣
โดยปกติแล้ว weekly check-in เป็นหนึ่งกิจกรรมที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของทีม แต่ในบริบทสถานการณ์เช่นนี้ ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา เนื่องจากในบริบทที่ต่างคนต่างทำงานที่บ้าน ทำให้เราไม่สามารถสังเกต หรือรับรู้ได้ง่ายอย่างที่อาจจะเคยสัมผัสได้เมื่อเจอกันในที่ทำงาน ว่าตอนนี้ทีมดูเหนื่อยล้า หรือ กำลังมีปัญหาบางอย่าง เพราะฉะนั้น อย่าเพียงแค่ถามว่าช่วงนี้เป็นยังไงบ้าง แบบผ่าน ๆ และตัดเข้าสู่การอัพเดตว่าการดำเนินงานไปถึงไหนแล้ว แต่ให้ถามคำถามที่สำคัญ และเฉพาะเจาะจง โดยให้เวลากับมันจริง ๆ เพื่อฟังว่า อะไรคือสิ่งที่เราสามารถช่วยเหลือ และสนับสนุนเขาได้จริง ๆ เพื่อเป็นผลดีต่อตัวเขาและทีม เปิดโอกาสและสนับสนุนให้เขาถามสิ่งที่อยากถาม แชร์ความกังวลที่อยากให้เรารู้ ซึ่งบทบาทสำคัญของเราในตอนนั้น ไม่ใช่การหาคำตอบ วิธีการแก้ไข หรือทางออก หรือแม้กระทั่งถามเจาะลึกไปในรายละเอียดที่เขาอาจะไม่ได้สะดวกใจจะเล่านัก แต่เป็นการรับฟัง และแสดงออกถึงความเข้าอกเข้าใจอย่างจริงใจ เพื่อบอกกับทีมว่า สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ และเขาพร้อมรับฟังด้วยความเข้าใจ ⁣⁣
⁣⁣
🔰 4. ชวนทีมออกแบบการทำงานที่เน้น ‘ความยืดหยุ่น’⁣⁣
⁣⁣
เมื่อพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เราไม่สามารถคิด หรือทำโดยอิงจากสิ่งที่ทำอยู่ หรือ best practice ของทีมหรือองค์กรที่ผ่านมาเพียงอย่างเดียวได้ แต่สิ่งสำคัญที่ช่วยได้ และควรทำ คือการสื่อสารเชิงรุก ในการส่งเสริมให้ทีมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ผู้นำควร ชวนทีมออกแบบ รูปแบบการทำงาน รวมถึงตารางเวลา และขอบเขตที่แต่ละคนต้องการด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยที่ผู้นำ สามารถริเริ่มและทำเป็นตัวอย่างลูกทีมได้เลย ⁣⁣
⁣⁣
ตัวอย่างเช่น หากผู้นำมีเรื่องทางบ้านที่ต้องรับผิดชอบดูแล ให้สื่อสารกับทีมได้ว่า ในช่วงนี้เขาต้องรับผิดชอบดูแลเด็ก ๆ ในบ้านด้วย เพราะฉะนั้นเขาจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนเวลาการทำงาน และมีชั่วโมงที่แตกต่างไปจากเดิม พร้อมกับชวนให้ทีมงานแชร์ข้อจำกัดและสิ่งที่แต่ละคนต้องการ เพื่อช่วยให้ชีวิตการทำงานดีขึ้น อะไรก็ตามที่ช่วยให้ทีมสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ความสำคัญในการพูดคุย สื่อสาร และปรับเปลี่ยน เพื่อสมาชิกทีมสามารถให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันได้อย่างเต็มที่ด้วยความเข้าใจ ซึ่งรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นนี้ อาจหมายถึงเวลาการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้กระทั่งจำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลง แต่นั่นไม่ได้หมายถึงการลดมาตรฐานการทำงานและคุณภาพของทีมลง ซึ่งอีกสิ่งสำคัญที่ผู้นำสามารถทำได้คือการเน้นย้ำ และสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ ให้สมาชิกทีมทุกคนอดทนและเข้าใจสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดยให้เชื่อมั่นสมาชิกทีมว่าเขากำลังเลือกทางที่เป็นผลดีที่สุด ซึ่งความเชื่อใจนี้จะนำไปสู่การรับรู้และจดจำว่าหัวหน้าให้การปฏิบัติต่อเขาและทีมอย่างไรในช่วงสถานการณ์ไม่แน่นอนเช่นนี้ ⁣⁣
⁣⁣
🔰 5. สื่อสารให้มากเป็นพิเศษ⁣⁣
⁣⁣
ในช่วงสถานการณ์ที่ละเอียดอ่อนและไวต่อความเครียดความกดดัน การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก ๆ ในฐานะผู้นำต้องมั่นใจว่าทุกข้อมูล ทุกการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ได้รับการสื่อสารที่ดี ชัดเจน และส่งไปถึงพนักงานทุกคนในทุกระดับอย่างส่ม่ำเสมอ ผู้นำสามารถลดความเครียดและความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้นในทุก ๆ ความเป็นไปได้ โดยใช้การสื่อสาร สื่อสารความคาดหวังถึงปริมาณงาน (workload) เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน โดยไม่ต้องกังวลไปเองว่าต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่กล้าให้ตัวเองพัก หรือ สื่อสารถึงลำดับความสำคัญของงาน ว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ และอะไรที่สามารถเลื่อนหรือ ขยับออกไปก่อนได้ นอกจากนี้ หากองค์กรมีเครื่องมือ หรือตัวช่วยในด้วยการดูแลสุขภาพจิตใจให้กับพนักงาน อย่าคิดว่าพนักงานทุกคนรับรู้ถึงการมีอยู่ของสิ่งนั้น แต่ให้สื่อสารและส่งเสริมให้พนักงานสามารถเลือกใช้เครื่องมือเหล่านั้นได้ถ้าหากพวกเขาต้องการ ⁣⁣

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลทีมช่วง WFH

  1. มื่อต้อง Work From Home ให้บาลานซ์
  2. การส่งเสริมแรงจูงใจของทีมในสถานการณ์เลวร้าย


A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
corporate culture⁣⁣
organizational culture⁣⁣
.
.
>>>>

อ้างอิง:

https://hbr.org/2020/08/8-ways-managers-can-support-employees-mental-health

.
.
>>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search