5 เทคนิคปรับใช้ Soft Power ในองค์กร

คำว่า Soft Power หรือ “อำนาจอ่อน” (wikipedia:) เป็นกระแสที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงนี้ โดยความหมายของคำนี้คือ “ความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของผู้คนในสังคม จนเกิดกระแสอยากทำตาม เช่น กระแสข้าวเหนียวมะม่วงฟีเวอร์ จากแร็ปเปอร์สุดฮอต “มิลลิ” ที่ขึ้นโชว์ในเทศกาลดนตรี “Coachella”⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
เมื่อมองย้อนกลับมาในมุมขององค์กร หากเราพูดถึงเรื่องของ “อำนาจ” (Power) จะประกอบไปด้วย 3 ตัวสำคัญ คือ Power of Position, Influence (Soft Power) และ Persuasion คำเหล่านี้อาจไม่ได้ใหม่สำหรับเรา แต่หลายคนอาจจะสับสนในความหมาย และหากจะแปลให้เป็นคำสั้นๆก็จะเลยเถิดสับสนกันไปใหญ่ ทางเพจ A Cup of Culture ของเคลียร์ความเข้าใจให้คุณผู้อ่านทุกท่าน ดังนี้ ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣

🔸Power of Position⁣⁣ 🔸⁣
คือ ความสามารถที่จะทำให้เราได้สิ่งที่เราต้องการผ่านการใช้สายบังคับบัญชา เรามีอำนาจโดยที่องค์กรให้เราและเราสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง (แต่เหมาะสมรึเปล่า อันนี้อีกเรื่อง) เช่น เจ้านายของท่านมีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติงบประมาณ/จ้างพนักงาน/เลื่อนตำแหน่ง/ประเมินผลงานท่าน หัวหน้าท่านไม่จำเป็นต้องโน้มน้าว หรือชักจูงเพื่อจะทำสิ่งเหล่านั้น เค้าสามารถทำได้เลย เช่น CEO ประกาศ ปีนี้ลด cost 15% หน้าที่ของฝ่าย production ต้องไปทำมา โดยที่ CEO ไม่ต้องไปโน้มน้าวหรือต่อรองอะไร⁣⁣⁣
⁣⁣⁣

🔸Influence (Soft Power) 🔸⁣⁣⁣
คือ การทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการโดยไม่ได้ใช้คำสั่ง หรือการบังคับ เราไม่สามารถไปสั่งคนที่เราไม่มีอำนาจไปสั่งเขาได้ Influence (Soft Power) สามารถทำโดยใครก็ได้ เช่น วิศวกรท่านหนึ่งซึ่งไม่ได้เป็นหัวหน้าใคร แต่มี Influence (Soft Power) ต่อหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเพราะเป็นคนมีความสามารถที่โดดเด่นในด้านความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาซึ่งทุกๆคนชื่นชม เวลาวิศวกรท่านนี้พูดอะไรทุกคนจะฟังและยอมรับพร้อมทำตาม หรือผู้นำบางท่านแม้มีอำนาจแต่ก็เลือกใช้ Influence (Soft Power) แทน Power of Position ก็มีมาก เช่น ผู้จัดการฝ่ายไอทีท่านหนึ่ง พบว่าหนักงานในทีมไม่ยอมใช้วันลากัน เพราะจะได้สิทธิประโยชน์เป็นตัวเงินทดแทน เขาจึงใช้วิธีการพูดคุยและขอความร่วมมือให้ใช้วันลา เพราะกลัวว่าอาจมีผลต่อสุขภาพและเกิดเจ็บป่วยพร้อมๆกัน ซึ่งจะสร้างปัญหาใหญ่กว่า⁣⁣⁣
⁣⁣⁣

🔸Persuasion 🔸⁣⁣⁣
คือ การทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการโดยไม่ได้ใช้คำสั่งเช่นกัน แต่ต่างจาก Influence (Soft Power) ตรงเป็นเพียงเครื่องมือสื่อสารชิ้นหนึ่งในการจูงใจให้คนคล้อยตาม เช่น การหว่านล้อมด้วยเหตุผล การใช้ศิลปะการพูดหรือแม้กระทั่งการใช้เสน่ห์ดึงดูด คนบางอาชีพใช้ Persuasion อยู่ทุกวัน เช่น เซลหรือคนโฆษณา ตัวอย่างในองค์กรเช่น CEO พูดโน้มน้าวบอร์ดให้อนุมัติโครงการ ผู้จัดการพูดโน้มน้าวพนักงานให้ตอบรับการใช้ระบบ paperless หรือพนักงานคนหนึ่งพยายามพูดหว่านล้อมเพื่อนร่วมงานให้อยู่ต่อหลังเลิกงานช่วยงานของตน⁣⁣⁣
⁣⁣⁣

⁣⁣⁣
การใช้ Power of Position และ Influence (Soft Power) อยู่ในระดับเดียวกันซึ่งผู้นำสามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบไหนเพื่อให้งานสำเร็จและได้ใจทีมงาน โดย Persuasion เป็น เครื่องมือชิ้นหนึ่งภายใต้ Influence (Soft Power) คำถามที่น่าสนใจคือ “หากเราไม่ได้เป็นหัวหน้า ไม่ได้มีลูกน้องให้ใช้ Power เราจะสามารถใช้ Influence (Soft Power) ได้ไหม?? ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
คำตอบคือ “ทำได้!!” และทางเพจเราก็สนับสนุนให้คุณผู้อ่านทุกท่านได้ทดลองฝึกฝนกับตนเองด้วย ผ่าน 5 เทคนิคการใช้ Influence (Soft Power) ในองค์กร (หรือในชีวิตประจำวัน) ดังนี้⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🚩 1. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
“ความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ ส่งผลให้มนุษย์มีความสุขมากขึ้น” ข้อสรุปจากนักวิจัยฮาร์วาร์ดที่ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างมามากกว่า 75 ปี การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนคนหนึ่งก็เปรียบเหมือนเรามี Credit ที่ดีต่อเขา เมื่อเรามี Credit ที่ดีกับใครบางคนก็ย่อมจะมีผลในเชิงจิตวิทยาว่าเขาติดค้างเราอยู่ การสร้าง Credit นั้นสามารถทำได้ทั้งคนที่เป็นลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน แม้กระทั่งเจ้านายของเรา หรือแม้กระทั่งคนนอกเช่นลูกค้าหรือคู่ค้า ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
ตัวอย่างเช่น ด้วยการที่เจ้านายกำลังกุลีกุจอในการทำ Presentation ให้กับ Top management ต้นสัปดาห์หน้า คุณวินเลยต้องช่วยทำ สไลด์ในช่วงสุดสัปดาห์ให้ออกมาปังๆ และแน่นอนเจ้านายติดค้างคุณวินอยู่แม้ไม่ต้องเอ่ยถึงเพราะคุณวินช่วยทำงานส่วนตัวของนายและช่วนให้นายได้ผลงาน โดยวิธีนี้จะได้ผลเป็นอย่างดีก็ต่อเมื่อเราต้องรู้ให้ได้ว่าคนที่เราต้องการ Influence (Soft Power) เค้าให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรเพื่อเราจะไปช่วยให้เขาทำงานได้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยให้ไปถึงเป้าหมายเลย⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🚩 2. สร้างตนเองให้เป็น Expert⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
แม้ไม่มี Power of Position ในมือ แต่หากท่านมีความ Expert ชำนาญและเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง ความ Expert นี้ คือ หัวใจหรือแหล่งทรัพยากรที่สำคัญที่ท่านจะสามารถสร้าง Soft Power ให้เกิดขึ้นได้ ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
ตัวอย่างเช่น คุณน้อยหน่าซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการแต่มีความชำนาญด้านการใช้ Data Analytics แบบหาตัวจับยาก ทุกคนต่างต้องการตัวเพื่อพูดคุยขอความคิดเห็น หรือแม้กระทั่งไหว้วานให้ทำงานให้ ซึ่งเท่ากับคนเหล่านั้นได้มาอยู่ใน Influential footprint ของคุญน้อยหน่าเรียบร้อยแล้ว ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
คำถามหนึ่งข้อที่สำคัญที่สุดตอนนี้ คือ “คุณมีความเชี่ยวชาญที่เป็นที่ต้องการเหล่านั้นหรือไม่??” หากยังไม่มีการพิจารณาเพื่อเลือกขึ้นมาซักหนึ่งเรื่อง และลงมือสร้างมันขึ้นมา อาจเป็นบันไดขั้นสำคัญที่พาท่านไปสู่ความสำเร็จในองค์กรได้⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🚩 3. การช่วยให้อีกฝ่ายเห็นประโยชน์ในมุมมองที่เขาเองคิดไม่ถึง⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
ปัญหาหนึ่งๆ อาจมองได้หลายมุมมอง (Frame of reference) หากท่านสามารถจูงใจให้อีกฝ่ายมองในมุมเดียวกับท่านได้ ท่านก็จะได้ประโยชน์จากเรื่องนั้น และนั้นแปลว่าคุณได้สร้าง Soft Power เล็กๆ ให้เกิดขึ้นแล้ว⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
ตัวอย่างเช่น คุณตาลผู้จัดการฝ่าย HR กำลังหาทางออกให้คุณทิมที่กำลังมีปัญหาเรื่องคนไม่พอกับงานที่มีอยู่ แต่อย่างที่ทราบกันดีในบริษัทว่า Top management สั่งเบรคเรื่องการเพิ่มคนทั้งหมด แทนที่จะทำตามที่คุณทิมต้องการ คุณตาลเลือกที่จะเปลี่ยนมุมมองของคุณทิมที่หัวชนฝาในเรื่องเพิ่มคนมาที่ผลลัพธ์ที่คุณทิมต้องการแทนก็คือเรื่องของ Productivity ปัญหาไม่ได้มาจากการที่คนไม่พอ แต่อาจมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้นและใช้คนน้อยลง ซึ่งคุณตาลอาสาตัวที่จะลงมือช่วยเรื่องนี้ด้วย การปรับเปลี่ยนมุมมองอาจช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆได้ดีกว่า และช่วยอีกฝ่ายเห็นประโยชน์ในมุมที่ตัวเองคิดไม่ถึง⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🚩 4. สร้างเครือข่ายการสนับสนุน⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
เรื่องที่น่าเสียดายที่สุดที่เกิดขึ้นในองค์กรหนึ่งๆ คือ “การที่คนมีไอเดียดีๆ เกิดขึ้น แต่ขาดโอกาสในการพัฒนาต่อ” อาจด้วยเหตุผลว่า… ท่านไม่มีพวกพ้องหรือช่องทางในการนำเสนอไอเดียนั้นๆ หรือความสัมพันธ์ส่วนบุคคลที่มีร่วมกันของท่านไม่แน่นแฟ้นเท่าที่ควร⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
คำถามคือ ท่านคิดว่าคนเหล่านั้นมี Influence (Soft Power) ต่อผู้อื่นหรือไม่? และหากมีพวกเขาพร้อมสนับสนุนท่านหรือเปล่า? ถ้าหากพร้อม… สิ่งที่ท่านควรทำคือการทำตัวให้น่าไว้วางใจต่อเขาเหล่านั้น หมั่นช่วยเหลือหรือคอยสนับสนุนเมื่อถูกร้องขอ นำเสนอไอเดียดีๆและหาเป้าหมายที่มีร่วมกัน⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
🚩 5. ทักษะการสื่อสารเพื่อโน้มน้าว⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
ต้องยอมรับว่า ” #คนที่สื่อสารได้ดีย่อมมีชัยไปแล้วครึ่งหนึ่งในชีวิตการทำงาน ” การที่สามารถใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อชี้นำความคิด ความเชื่อและนำไปสู่การลงมือปฏิบัติย่อมเป็นตัวบอกถึงความสำเร็จในการใช้ Soft Power ต่อผู้อื่น ⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
แต่การพูดเก่งเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จากงานวิจัยด้านการขายของ Dr.Niel Rackham ผู้เผยแพร่เทคนิคการขาย SPIN Selling ที่นักขายทั่วโลกยึดเป็นแนวปฏิบัติ ยืนยันว่านักขายที่ประสบความสำเร็จคือ #คนที่พยายามทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าผ่านการฟังและการใช้คำถามที่มีประสิทธิภาพด้วยต่างหาก การฟังให้เข้าใจถึงปัญหาที่ประสบอยู่และเป้าหมายที่ต้องการจะไปถึงของคนที่ท่านกำลังจะโน้มน้าวแล้วจึงนำเสนอทางออกในรูปแบบของ Benefit ที่เขาจะได้รับ จะช่วยให้ท่านนำความคิดของอีกฝ่ายได้เป็นอย่างดี⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
⁣⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣⁣
———–⁣⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣⁣
Corporate culture⁣⁣⁣
Organizational culture⁣
.
.

https://www.brightsidepeople.com/5-เทคนิคปรับใช้-soft-power-ที่ตัวเ/
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search