5 คำถามสำคัญก่อนก้าวสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม (Innovative Organization)

บทความล่าสุดจาก Harvard Business Review ได้พูดถึงคำว่า Innovation ไว้อย่างเจ็บ ๆ คัน ๆ ว่าเป็น “งานงอกที่ปราศจากผลลัพธ์” หรือหากเราลอง
ค้นหาหนังสือที่เกี่ยวกับ Innovation ใน Amazon.com เราจะเจอหนังสือที่เกี่ยวกับ Innovation มากกว่า 50,000 รายการ นั่นหมายถึงถ้าเราเลือกอ่านสักสัปดาห์ละ 1 เล่ม เราจะต้องใช้เวลาถึง 950 ปี ถึงจะอ่านได้หมดทุกรายการ ยังไม่รวมหนังสือที่จะมีเข้ามาใหม่อีกนะ และที่เพิ่มมากขึ้นพอ ๆ กับรายการหนังสือนั่นก็คือ ผู้นำทางธุรกิจที่พยายามปรับองค์กรให้เป็นองค์กร Innovation ด้วยความคิด (ที่อาจจะถูกและไม่ถูก) ว่า Innovation จะตอบโจทย์ทุกสิ่งที่คาดหวัง ไม่ว่าจะเป็นการขยายการเติบโตทางธุรกิจ ลดค่าใช้จ่าย สร้างแบรนด์ และอีกสารพันปัญหา ซึ่งนั่นอาจทำให้ความหมายจริง ๆ ของ Innovation บิดเบือนไป

ก่อนที่จะตัดสินใจนำ Innovation เข้ามาพลิกวิกฤติในองค์กรให้เป็นโอกาสได้
ผู้นำต้องทำความเข้าใจก่อนว่าอะไรที่ “ไม่ใช่” Innovation


ความหมายของคำว่า Innovation อาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละตำรา แต่เราสามารถสรุปความหมายของคำนี้ได้ 3 นัยยะสำคัญ เป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากเดิม / ใช้งานได้จริง ขายได้จริง / เกิดประโยชน์ สร้างคุณค่า แก้ปัญหาได้
1) เป็นสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากเดิม ตัวอย่างเช่น ออกแบบกระบวนการใหม่ในการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือมีวิธีใหม่ในการจัดระเบียบธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
2) ใช้งานได้จริง ขายได้จริง ซึ่งการใช้งานได้จริงอาจเป็นการปรับปรุงคุณสมบัติหรือฟังก์ชันการทำงานขึ้นมาใหม่ (หรือหยิบสิ่งที่มีอยู่มาปรับปรุงให้ดีขึ้น) / และขายได้จริง หมายถึง มูลค่าทางเศรษฐกิจ (กำไรเพิ่มขึ้น, ส่วนแบ่งการตลาด)
3) เกิดประโยชน์ สร้างคุณค่า แก้ปัญหาได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งในงานคุณค่าทางสังคม (ทำให้ชีวิตดีขึ้น แก้ปัญหา) หรือคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (ส่งเสริมความยั่งยืน) เป็นต้น

  • เพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน (Increased Competitiveness) คือ ช่วยให้องค์กรพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการใหม่ๆ ที่ทำให้พวกเขามีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
  • ความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น (Enhanced Customer Satisfaction) คือ ด้วยกระบวนการลงไปทำความเข้าใจจุดเจ็บปวดของลูกค้า ผลลัพธ์เชิงบวกที่คาดหวัง เพื่อคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า องค์กรจึงสามารถพัฒนาโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพและผลผลิต (Improved Efficiency and Productivity) คือ การปรับปรุงสามารถนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ ๆ ที่ช่วยปรับปรุงการดำเนินงานและปรับปรุงประสิทธิภาพ
  • ดึงดูดและรักษาพนักงาน (Attracts and Retains Top Talent) คือ พนักงานที่มีพรสวรรค์สูงสุดจะถูกดึงดูดเข้าหาองค์กรที่ถูกมองว่าเป็นองค์กรที่มีนวัตกรรมและมีความคิดก้าวหน้า


Chuck Swoboda ผู้เชี่ยวชาญด้าน Leadership และ Innovation ผู้เขียนหนังสือ The Innovator’s Spirit ให้คำแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Innovator’s Spirit ซึ่งหมายถึงความคิด ความเชื่อที่จะส่งผลให้ Innovation นั้นประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญประการแรกคือการที่ผู้นำต้องจริงจังในทุกวิถีทาง และพร้อมเปิดรับและผลักดันทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่เป้าหมายได้


Innovation ไม่ใช่เรื่องง่าย และมีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวถ้าคนในองค์กรไม่ได้มองว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทุ่มเทร่วมกันทุกระดับ และอนาคตของตนเอง ของธุรกิจ ขององค์กรขึ้นอยู่กับสิ่งนี้ โดยไม่มีทางเลือกอื่น


การมีแผนสำรองเป็นเรื่องที่จำเป็นในการทำธุรกิจ โดยทั่วไปเมื่อเกิดปัญหาที่ท้าทายคนจึงมักจะเลือกแผนสำรองที่ดีพอ หรือปรับเปลี่ยนเป้าหมายเพื่อความปลอดภัย แต่สำหรับ Innovation จะมีแนวคิดที่ต่างไป ความพร้อมที่จะเสี่ยงในที่นี้หมายถึงการพร้อมที่จะเทหมดหน้าตักด้วยความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำให้สำเร็จ


องค์กรส่วนใหญ่เติบโตด้วยความสำเร็จที่สะสมมาจากอดีต แต่จากวลีของนักลงทุนที่เรามักได้ยินกันเสมอว่า “ความสำเร็จในอดีตไม่ได้รับประกันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” ในมุมของ Innovation ความสำเร็จในอดีต จะเป็นตัวผลักดันให้ยิ่งต้องดีกว่าที่เคยเป็น ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการเตรียมตัววางแผนการหยุดชะงัก (Disrupt) เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ที่ดีกว่า


Innovation เป็นสิ่งที่ท้าทาย และใช้ระยะเวลายาวนาน จึงต้องอาศัยความเชื่อมั่นในทั้งตัวเองและองค์กรว่า “เราทำได้” ในการทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้นั้นเป็นไปได้ เมื่อสมมติฐานตั้งต้นเริ่มจากความเป็นไปได้ ก็เท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง


ไม่มีใครอยากจะล้มเหลว แต่ในมุมของ Innovation นั้น ถ้าคุณยังไม่ล้มเหลวนั่นหมายถึงคุณยังไม่ได้พยายามมากพอ กุญแจสำคัญคือการเรียนรู้ว่าเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง ไม่ได้หมายความว่าล้มเหลว แต่นั่นหมายถึงโอกาสในการเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน เช่นคำกล่าวของ Thomas Edison ว่า ”ฉันไม่ได้ล้มเหลว แต่ฉันได้พบ 10,000 วิธีที่ไม่สามารถใช้การได้” การเรียนรู้ส่งเสริมให้เกิด Innovation และความล้มเหลวส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้


บทสรุป -ลองมาวิเคราะห์คำตอบด้วยกัน หากมีข้อไหนที่คุณตอบว่า “ไม่” เบื้องต้นนั้นหมายถึงคุณอาจยังไม่มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริม Innovation ดังนั้นการใช้วิธีการอื่น ๆ อาจจะเหมาะสมกว่า เพื่อป้องกัน “งานงอกที่ปราศจากผลลัพธ์” แต่ถ้าคำตอบทุกข้อคือ “ใช่” Innovation น่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ คำถามสำคัญสุดท้ายคือ “จะมัวรออะไรอยู่ล่ะ”?

A Cup of Culture
.
.

>>>>>
>>>>>
ที่มาของบทความ

https://hbr.org/2020/02/stop-calling-it-innovation

https://www-forbes-com.cdn.ampproject.org/c/s/www.forbes.com/sites/chuckswoboda/2020/05/04/innovation-isnt-the-answer-to-all-your-problems/amp/

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search