รายงานจาก Microsoft Work Trend Report เปิดเผยว่า รูปแบบการทำงานที่เริ่มต้น 9 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น (9-to-5) กำลังค่อย ๆ หายไป อาจจะด้วยการทำงานแบบ Remote work ที่มากขึ้น ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เรามี Flexible hours มากขึ้นด้วยเช่นกัน แต่ที่น่าสนใจไปมากกว่านั้น พนักงานเริ่มมีรูปแบบการทำงานที่มากกว่าแค่ Flexible hours แต่เป็นการที่พวกเขาสามารถจัดสรรเวลา และการทำงานของตัวเองได้เลย โดยที่ช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะแตกต่างจากเพื่อนร่วมทีม แต่ยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องรอเจอพร้อมกันทุกครั้งไป ซึ่งการทำงานในรูปแบบนี้เองกำลังกลายเป็นส่วนสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรรุ่นใหม่ ในของยุค Digital economy รวมถึงความสามารถในการแข่งขันกับ Talent war และการจ้างงานที่กระจายตัวทั่วโลก
การจะเปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิมมีเวลาเข้า-ออกงานชัดเจน จะไปสู่การเป็นอิสระจาก 9-to-5 ได้ในแบบที่ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ให้ได้ผลและเป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งพนักงานและองค์กรได้คงไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งองค์กรที่ทำได้สำเร็จ เขามีปัจจัย และกลยุทธดังนี้
=================
❇️ 1. ให้เริ่มต้นที่ผู้นำ
ไม่ว่าคุณจะเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในระดับทีม หน่วยงาน หรือองค์กร คนกลุ่มแรกที่ต้องเริ่มจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากผู้นำในระดับนั้นไม่ว่าจะเป็น หัวหน้าทีม หัวหน้าแผนก หรือผู้นำองค์กร สิ่งสำคัญของเรื่องนี้ เราไม่ได้ต้องการแค่ buy-in จากผู้นำเท่านั้น แต่เราต้องการ ให้ผู้นำเป็นเป็นผู้เริ่มและทำให้ทีมเห็นเป็นแบบอย่าง
Michael Montano, Head of engineer at Twitter เองให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และมองหาว่าจะปรับรูปแบบการทำงานอย่างไรให้เข้ากับความต้องการของคนในยุคนี้ โดยเฉพาะ Talent รุ่นใหม่ ๆ ล้วนมองหาการทำงานที่พวกเขามีอิสระในการบริหารจัดการตัวเอง และที่สำคัญคือพวกเขาเลือกได้ ซึ่งแน่นอนว่าการริเริ่มนี้ Michael ไม่ใช่แค่พูด หรือสื่อสารไปยังทีมเท่านั้น แต่เริ่มที่ตัวเขาเองและเหล่าผู้นำทีม โดยทำให้ทีมเห็นเป็นแบบอย่าง อย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ในทางกลับกัน หากไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้นำ การจะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานนั้น เรียกว่าแทบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
❇️ 2. มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์
การกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์ที่คาดหวังในงานได้ชัดเจน จะช่วยให้พนักงานสามารถโฟกัสไปที่เป้าหมายและผลลัพธ์ในงานที่คาดหวัง มากกว่าการมุ่งเน้นไปที่ความคิดว่าเขาจะต้องทำงานนี้ ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เป็นการเปลี่ยนจากเดิมที่ว่า “นี่คือกองงานที่ต้องเสร็จ” กลายมาเป็น “นี่คือผลลัพธ์ที่อยากเห็น” ซึ่งทำให้การทำงานของพนักงานกลายเป็น outcome-based มากขึ้น และมันช่วยให้พนักงานโฟกัสได้ชัดเจนมากขึ้นเช่นกัน
Michael Montano ยังกล่าวไว้อีกด้วยว่า หนึ่งในสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้การทำงานรูปแบบนี้เกิดขึ้นได้ คือการที่เราจะสามารถทำให้องค์กรมีจุดมุ่งหมาย และเป้าหมายที่ชัดเจนได้อย่างไร เพื่อที่เราสามารถกระจายอำนาจไปยังพนักงานโดยไม่ต้องกลับมารออำนาจและการตัดสินใจที่หัวหน้าหรือผู้นำเพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญ และทำงานบนพื้นฐานเป้าหมายและความสำคัญนั้นร่วมกัน โดยที่พนักงานสามารถโฟกัสไปกับการหาทางสร้างสรรค์ผลงานให้ได้ตามผลลัพธ์ที่คาดหวังได้เต็มที่มากกว่าต้องมารอการตัดสินใจหรือหาว่าอะไรคือสิ่งสำคัญอะไรทำได้ไม่ได้ในที่ประชุม
❇️ 3. ชัดเจนกับขอบเขตและความคาดหวัง
ถึงแม้ว่าเราจะมุ่งเน้นการทำงานที่พนักงานแต่ละคนสามารถบริหารจัดการเวลาได้เองโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และเป้าหมายในงาน จะนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยมในยุคนี้ แต่ก็ไม่ใช่ทั้ง 100% ของการทำงานที่เป็นแบบนั้นได้ทั้งหมด องค์กรต้องชัดเจน ว่าอะไรคือสิ่งที่ยังต้องนัดหมายและเจอกัน ซึ่งลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็น การประชุมทีม Project kick-off เพื่อมอบหมายบทบาท ความรับผิดชอบ และกำหนดการของโครงการ รวมถึงการนัดหมายกับลูกค้า และอาจรวมถึงการเตรียมความพร้อมก่อนวันนัดหมาย นอกจากนี้ กิจกรรมสำคัญจำพวก one-on-one การโค้ช การให้ feedback รวมถึง onboarding พนักงานใหม่ ควรที่จะได้นัดหมายพบหน้ากัน เนื่องจากการทำงานแบบ Remote work ส่งผลต่อความรู้สึกห่าง รู้สึกเชื่อมโยงกับเพื่อนร่วมงานน้อยลง เพราะฉะนั้น พวกกิจกรรมพื้นฐานขององค์กร ที่สร้างความผูกพัน และความเป็นทีมควรที่จะยังคงอยู่และทำให้เกิดขึ้นร่วมกัน
❇️ 4. ตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่
วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่ไม่ว่าเราจะตั้งใจหรือไม่ มันก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี และนั่นคือสิ่งที่คนในองค์กรทำมันอย่างเป็นธรรมชาติ โดยที่อาจจะไม่ทันตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่จริง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นอาจรวมถึง การกำหนดช่วงเวลาทำงาน หัวข้อที่จำเป็นต้องมีในที่ประชุม ระยะเวลาที่ให้พนักงานพักกลางวัน ฯลฯ ซึ่งการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ บางครั้งมาจากการมีสมมติฐานต่อพฤติกรรมพนักงานว่า ถ้าหากเราไม่ได้เห็นคุณกำลังทำงาน นั่นแปลว่าคุณไม่ได้ทำงาน ถ้าหากเราจะออกจากออฟฟิศตอนบ่าย3 นั่นแปลว่าอาจมีคนเดือดร้อนถ้าเขาต้องการบางอย่างจากเรา หรือ เขาใช้เวลาทำงานเยอะมาก ๆ นั่นแปลว่าเขาทำงานเสร็จไปหลายอย่างแล้วแน่ ๆ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราอาจต้องลองตั้งคำถามกับมัน ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ และจริง ๆ แล้วอะไรคือสิ่งที่จะส่งเสริมให้การทำงานในรูปแบบใหม่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
❇️ 5. ตกลงร่วมกันให้ชัดเจน
การที่พนักงานสามารถออกแบบการทำงานและเลือกใช้ชีวิตของตัวเองได้โดยที่สามารถส่งมอบงานได้ตามเป้าหมาย แน่นอนว่าสำหรับแต่ละคนแล้วย่อมแตกต่างกัน และเป็นไปได้ในหลากหลายรูปแบบมาก ๆ สิ่งสำคัญคือการหาข้อสรุปร่วมกันให้ชัดในแต่ละเรื่อง เช่นการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย และช่วงเวลาที่ปิดเครื่องมือเหล่านั้น, ช่วงเวลาที่สามารถติดต่อและตอบรับได้ หรือ การรับมือเมื่อมีเรื่องเร่งด่วนฉุกเฉิน รวมถึงการตกลงร่วมกันถึงวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ เช่น เราจะให้ความเคารพและไม่ตัดสินกันจากช่วงเวลาที่ตอบสนอง ซึ่งการให้ทุกคนยอมรับและร่วมรับผิดชอบกับข้อตกลงในการทำงานร่วมกันถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ ซึ่งหากมีเพื่อนร่วมงานมาถามเราว่า “คุณทำอะไรอยู่ในช่วงบ่ายสาม พยายามจะติดต่อหาคุณอยู่” แทนที่จะตอบคำถาม ให้ตอบกลับไปว่า “มีอะไรที่ต้องการหรือเปล่า” เพื่อที่จะเปลี่ยนโฟกัสของบทสนทนานั้นให้ไปสู่เป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการ มากกว่าการมุ่งเน้นไปที่ เราทำงานอะไร อยู่ที่ไหน อย่างไร
=================
นี่คือกลยุทธสำคัญ ที่จะพาองค์กรให้สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานจาก 9-to-5 ไปสู่รูปแบบการทำงานที่เป็นที่ต้องการมากขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และสิ่งสำคัญที่ควบคู่กันไปกับปัจจัยสำคัญเหล่านี้คือ ต้องคำนึงถึงเสมอว่า ที่ไม่ใช่ one – and – done event ที่สร้างขึ้นและปรับใช้ได้ครั้งเดียวเสร็จสับ แต่ต้องการศัย “การทดลอง” เก็บ feedback กลับมา พิจารณาสิ่งที่เวิร์คและไม่เวิร์ค นำมาปรับปรุงพัฒนากระบวนการให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น รวมถึงการเริ่มต้นด้วยการทดลอง ทำให้คนที่อาจไม่เห็นด้วยนัก หรือกังวลกับการเปลี่ยนแปลง ได้ลองสัมผัสประสบการณ์ด้วยตัวเอง ที่อาจค้นผลประโยชน์และข้อดีหลายอย่างทั้งในด้านส่วนตัวและการทำงานอย่างมืออาชีพ
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture
.
.
>>>>