4 หลักการบริหารสุขภาวะพนักงานในฐานะทรัพยากรขององค์กร

ปี 2020 นี้เป็นปีที่มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นกับมาก ๆ เป็นปีที่ผ่านไปอย่างทั้งช้า และเร็ว และทุกบริษัทต้องปรับตัวรับมือกับกับความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน และคนทำงานเองก็เช่นกันที่ต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้ทั้งในชีวิตส่วนตัว และในงานเช่นกัน . และเมื่อพูดถึงการปรับตัวแล้วทักษะในด้านสุขภาวะก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใช้ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปงเหล่านี้ และเมื่อตอนต้นปีนี้เองทาง PwC ร่วมกับมหาวิทยาลัย University of Southern California (USC) ตีพิมพ์บทความหนึ่งที่วันนี้อยากจะเอามาเล่าให้ฟัง .


USC กับ PwC เขาร่วมกันศึกษาโปรแกรมด้าน Well-being สำหรับช่วยให้คนในบริษัทสร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพกาย และจิต เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกธุรกิจ และผลกระทบของมันที่มีต่อพนักงาน ทีม และธุรกิจโดยรวมของบริษัท จากการศึกษาเขาพบว่า: .


📌 สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนา Well-being คือ Commitment


ผู้วิจัยเขาเน้นประเด็นนี้โดยอธิบายว่าการออกแบบโดยการพยายามสร้างพฤติกรรม หรือนิสัยสุขภาพ ไม่ว่าจะได้ผลหรือไม่ก็ตามจะไม่สามารถเกิดได้จริงอย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่สามารถทำให้พนักงานมี commitment กับมัน และให้ความหมายกับพวกเขาจริง ๆ .


📌 Well-being program ช่วยสร้างการทำงานเป็นทีมที่ดี


เมื่อพนักงานเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา wellbeing ในบริษัท และลงลึกได้ถึงขั้นการสร้างทัศนคติ และนิสัยที่ดีกับ Well-being ให้กับพนักงานได้แล้ว ผลกระทบนี้จะส่งต่อไปยังเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะคนในทีมได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความสัมพันธ์กับลูกค้า และที่สำคัญคือการพัฒนา Well-beingจะส่งผลกระทบไปยังการเกิดสภาพแวดล้อมของการมีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่ง และพฤติกรรมที่ดีต่อส่วนรวมขององค์กรอีกด้วย .


📌 เทคโนโลยีสามารถช่วยส่งเสริม Well-being ได้


เทคโนโลยีเช่น Fitness tracker หรือ smart watch ต่าง ๆ เมื่อถูกนำมาใช้ในที่ทำงานในฐานะกิจกรรม หรือหัวข้อการสนทนาของทีมนอกจากจะส่งผลดีต่อการพัฒนาสุขภาวะโดยรวมของทีมแล้ว ยังน่าแปลกใจที่มันส่งผลต่อการพัฒนา Teamwork ในทุก ๆ ด้าน และความสัมพันธ์กับลูกค้าอีกด้วย .


📌 ผู้นำและทีม สำคัญมากในการพัฒนา Well-being


สภาพแวดล้อมการทำงานโดยรวมควรที่จะสอดคล้องกับพฤติกรรมสุขภาพที่เราอยากให้เกิดในองค์กร โดยเฉพาะเมื่อเราอยากที่จะสร้างให้ Well-being ให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและพนักงาน ซึ่งปัจจัยสำคัญของสภาพแวดล้อมก็คือ การมีส่วนร่วมในทีมของพนักงาน การสนับสนุนของผู้นำหรือผู้บริหาร สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อการสร้าง wellbeing ให้กับพนักงาน .


Michael Fenlon ในฐานะ Chief People Manager ของ PwC เล่าให้ฟังว่าองค์กรได้เริ่มจากการแบ่ง Well-being ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ด้านกายภาพ ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ และด้านจิตวิญญาณ โดยทีมบริหารได้มีการพูดคุยกันอย่างจริงจังถึงทั้ง 4 องค์ประกอบนี้ว่า PwC จะสามารถบริษัทปัจจัยเหล่านี้ในฐานะแหล่งพลังงานของพนักงานได้อย่างไร โดยมีโจทย์ว่า PwC สามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อที่จะจัดการ และเก็บเกี่ยวแหล่งพลังงานนี้จากพนักงาน โดยเฉพาะเมื่อในโลกของการทำงานต้องการพลังงานเหล่านี้อย่างมาก .


หนึ่งในเครื่องมือที่ PwC ใช้คือแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า The Well เป็นเว็บไซต์ภายในองค์กรที่รวบรวมทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Wellbeing ไว้ในนั้นสำหรับพนักงานของ PwC เอง ไว้ให้สำหรับแบ่งปันไอเดียที่เกี่ยวข้องกับ Wellbeing องค์กร ที่พนักงานทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ และ นอกจาก The Well แล้วก็มี App store ไว้สำหรับรวบรวม mobile application ที่เกี่ยวกับ Well-being ทั้งในด้านกาย และใจ เช่น Application ทำสมาธิ


แต่เทคโนโลยีนั้นเป็นได้แค่เพียงส่วนหนึ่ง เท่านั้น เพราะการพัฒนา Well-being ให้กับองค์กรไม่ใช่แค่เราให้ข้อมูลเแล้วให้เขาไปทำเอาเอง การให้ข้อมูลเป็นเพียงแค่ส่วนเดียว แต่สิ่งสำคัญคือการสร้างบรรยากาศที่ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดได้ง่ายขึ้น เช่น การย้ำความสำคัญของสุขภาวะพนักงานบ่อย ๆ และทำให้ทุกคนเข้าใจตรงกันถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ Well-being สร้างให้กับบริษัทอย่างจริง และให้คนในองค์กรหันมามอง Well-being ในฐานะ Asset ของบริษัทที่ต้องช่วยกันดูแล .


The PwC Health Research Institute พบว่าแม้กว่า 75% ของนายจ้างจะมีโครงการเกี่ยวกับ Well-being ให้พนักงาน แต่พนักงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ไม่เคยใช้บริการเหล่านั้นเลย แม้ในช่วงที่พวกเขามีอาการเข้าข่ายที่ต้องการความช่วยเหลือ เพราะโจทย์จริง ๆ คือการหาว่าเราต้องทำอย่างไรถึงจะสามารถออกแบบสภาพแวดล้อมที่คนสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนเหล่านั้นอย่างไรในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว และมี disruption เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะตอนนี้ disruption ไม่ได้เป็นแค่ buzzword อีกต่อไปแล้ว แต่มันคือสิ่งที่ทุกคนต้องพบเจอจริง ๆ ในทุกวันกับงานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันโลกตลอดเวลา วิธีการหนึ่งที่ใช้ได้คือการโค้ชให้พนักงานได้ออกแบบ และวางแผนของตัวเองว่าจะบริหารจัดการ Well-being ของตัวเองอย่างไรบ้าง .


ในกระบวนการสร้าง Wellbeing ให้กับองค์กร องค์ประกอบที่สำคัญอย่างมากที่ต้องย้ำอีกครั้งคือ “ความเป็นทีม” ดังนั้นในขณะที่เราให้ข้อมูลด้าน wellbeing กับพนักงาน และให้เขาวางแผนของตัวเอง องค์ประกอบสำคัญคือกิจกรรมทั้งหมดนี้ต้องทำเป็นทีม เพราะการทำเป็นทีมช่วยแก้ปัญหาที่พบได้บ่อยเมื่อทำ wellbeing เป็นรายบุคคล เช่น ปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ของการดูเป็นคนอ่อนแอ การมีทีมช่วยสร้างบรรยากาศของการไม่ตัดสินให้เกิดขึ้นกับทุกคนในทีม


โดยสรุปแล้วหลักการของการสร้าง Wellbeing ในองค์กรจากงานวิจัยนี้จะมีอยู่ 4 ปัจจัยหลัก คือ
• Encourage individuality.
ช่วยพนักงานออกแบบโปรแกรมสุขภาวะของตัวเอง ให้เขาได้เลือกทัศนคติ หรือพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะ และมีความหมายกับเขาในการนำไปปรับใช้ ความยืดหยุ่นเป็นจุญแจสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมจากพนักงานให้เกิดขึ้นจริง

Inclusive teams are essential to success.
Empower พนักงานด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมของการมีส่วนร่วม และการเป็นส่วนหนึ่ง รวมไปถึงการสร้างทีมที่ช่วยเหลือกันและกัน และทำพฤติกรรมสุขภาพร่วมกัน ช่วยทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเองในทีมอีกด้วย

• Show that wellbeing matters.
ให้ wellbeing เป็นมากกว่า buzz word โดยการให้ความสำคัญกับมันในฐานะผลประโยชน์ทางธุรกิจ การที่จะสร้างสุขภาวะให้ประสบความสำเร็จได้องค์กรต้องเห็นตรงกันตั้งแต่บนสุดลงมาตรงกันถึงประโยชน์ของสุขภาวะพนักงานในฐานะทรัพยากรของบริษัท

• Up the engagement.
ให้เทคโนโลยีมีส่วนช่วยส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพจะเป็นตัวช่วยให้การเพิ่ม engagement กับพฤติกรรมเหล่านี้ เพราะเทคโนโลยีจะทำหน้าที่เป็นสัญลักษณะที่ชัดเจนให้ทุกคนเห็นได้ว่ามีการสนับสนุน wellbeing อยู่ แม้เทคโนโลยีไม่ใช่ปัจจัยหลักแต่มันมีส่วนช่วยในการสร้างความเป็นเจ้าของและปฏิสัมพันธ์ระหว่างพนักงานในหัวข้อด้านสุขภาพ และอาจรวมไปถึงการแข่งขันเล็ก ๆ เช่นแข่งนับก้าวด้วยเช่นกัน และนั่นก็คือ 4 ปัจจัยสำคัญในการพัฒนา Wellbeing ในองค์กร ที่สามารถนำไปปรับไปใช้กับองค์กรตัวเองได้บ้างไม่มากก็น้อยเพื่อให้องค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรอันมีค่าที่เรียกว่าสุขภาพของพนักงานได้อย่างดีขึ้น


===============================
🔸 อ่านบทความอื่นๆได้ที่​ https://www.brightsidepeople.com/blog/ ===============================


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

.
.
.

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search