กระแสซี่รีส์ “Start – up” กำลังมาแรง ซึ่งไม่เพียงแต่ถูกใจคอซีรี่ส์เกาหลีแล้ว ยังเป็นที่สร้างแรงบรรดาลใจของเหล่าบรรดา Startup ทั้งหลายจนขึ้นอันดับ 1 Netflix ประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ เรื่องราวเดินทางมาได้ครึ่งทางและทำให้เราได้รู้จัก Sandbox มากขึ้น (ในเรื่องคือ ศูนย์บ่มเพาะ Start-up /Accelerating Center ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย) ที่ซึ่งสตาร์ทอัพหมายปองจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง รวมไปถึงกระบวนการสำคัญในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก Sandbox หรือการสร้างไอเดียธุรกิจด้วยเวลาเพียง 48 ชั่วโมงอย่าง Hackaton
สำหรับมุมมองอย่าง A Cup of Culture จึงอยากถอดวิธีคิดของ Sandbox เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ในการสำรวจตัวเอง ว่ามีองค์ประกอบที่ครบถ้วนในการพาธุรกิจให้พุ่งทะยานได้อย่าง Sandbox ได้หรือไม่มาดูกันว่า Sandbox มีวิธีคิดอย่างไรในการผลักดันให้ธุรกิจ Start-up เติบโตอย่างรวดเร็วได้
. . . . . . . . . . . . .
#People : ค้นหาส่วนผสมของคนที่ใช่
Sandbox เป็นองค์กรที่เปิดรับสมัครให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ และดึงดูดด้วยสวัสดิการที่ครบครัน เพื่อให้มั่นใจว่าจะดึงดูดคนมีความสามารถเข้ามาสมัคร และใช้ระบบคัดเลือกที่ให้คุณค่ากับ Potential มากกว่าผลงานหรืออาชีพในอดีต จากกระบวนการคัดเลือก CEO 40 จากผู้สมัคร 400 คน ที่ใช้ความรอบรู้ในเทรนมหาชนมาเป็นตัวตัดสิน และใช้กระบวนการจัดตั้งทีมที่ส่งเสริมให้ เกิด Combination ที่ลงตัวและมีความสามารถครบเครื่อง จากนั้นคัดเลือกทีมที่มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จผ่านการทำ Hackathon จากแนวคิดธุรกิจและการเสนอในช่วงเวลาอันจำกัด
ลองมองไปรอบๆว่าธุรกิจของเรา ยังขาด Combination ที่สำคัญหรือ ใช้คนผิดประเภทกันอยู่หรือเปล่า
. . . . . . . . . . . . .
#Resource : เตรียมทรัพยากรให้พร้อมเพื่อส่งเสริมการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า
เพราะเวลาของทุกคนในทีมเป็นสิ่งสำคัญ การทำอะไรที่ต้องใช้เวลามากหรือสูญเสียไปกับสิ่งที่ไม่ถนัด เป็นสิ่งทื่ Sandbox จะจัดการแก้ไขเป็นอันดับแรก เพื่อให้ทีมงานได้โฟกัสไปกับการคิด ทดลองโซลูชั่น และสร้างโมเดลธุรกิจ เพื่อร่นระยะเวลาของความสำเร็จและเพื่อแข่งขันกับ Burn rate หรือเงินลงทุนที่กำลังค่อยๆหายไป
Sandbox จึงได้สนับสนุนทรัพยากรที่สำคัญ ตั้งแต่ส่วนที่เป็นพื้นฐาน (สำนักงานที่อำนวยความสะดวกในงาน อาหารการกิน ฯลฯ) ไปจนถึงการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญต่างๆ อย่างข้อมูล API มากมายที่อยู่ในความต้องการ หรือมีปัญหาที่ต้องการแก้ไขเป็นResource ตั้งต้น หรือการสร้างโอกาสในการเข้าถึงนักลงทุนทั่วโลกได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาสร้างคอนเนคชั่นเองในวัน Demo days
คิดดูว่าธุรกิจของเรามีเวลาโฟกัสกับการคิดโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้า หรือกำลังสูญเสียเวลาไปกับเรื่องอื่นๆมากเกินไปอยู่หรือเปล่า?
. . . . . . . . . . . . .
#Mentor : พี่เลี้ยงที่มากด้วยประสบกาณ์
เพราะการลองผิดลองถูกในบางเรื่องอยากไม่มีความจำเป็น และไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป และบางเรื่องเป็นเรื่องพื้นฐานเล็กๆที่อาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ในอนาคตได้ เช่น การแบ่งหุ้นส่วนของบริษัท การรับงานเพื่อหารายได้เสริม ฯลฯ
Sandbox จึงให้ความสำคัญกับการมีพี่เลี้ยงที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามา จนตลอดระยะเวลาที่อยู่ใน Sandbox เพื่อให้มั่นในว่าในทุกๆกระบวนการ ทุกทีมจะได้รับข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเป็นอย่างดี
แล้วธุรกิจของเรามีผู้รู้ หรือผู้มีประสบการณ์คนนั้นที่คอยช่วย ไม่ให้เราหลงทางอยู่ใช่มั๊ย?
. . . . . . . . . . . . .
#Time : เวลาและความทุ่มเทของทีมงาน
เพราะเวลาและเงินลงทุนตั้งต้นมีอย่างจำกัด และวัน Demo Day ที่ต้องนำเสนอให้แก่นักลงทุนทั่วโลกได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมื่อทุกคนก้าวเข้ามาใน Sandbox ต้องทุ่มเทเวลาที่มีทั้งหมดไปกับการคิดและทำทุกวิถีทางที่จะ launch product แรกหรือหารายได้ให้เร็วที่สุดเพื่อแข่งกับอัตราการเผาผลาญเงิน ( Burn rate) และพิสูจน์โมเดลธุรกิจให้มีเข้าใกล้ความเป็นไปได้ที่สุดเพื่อดึงดูดนักลงทุน
เรากำลังทำธุรกิจไร้จุดหมาย หรือกำลังทำธุรกิจเหมือนเป็นงานอดิเรกกันอยู่หรือเปล่า?
. . . . . . . . . . . . .
#Culture : วัฒนธรรมองค์กรที่เสริมแรง
เมื่อหัวใจของการจัดตั้ง Sandbox คือ แนวคิดของการเป็นสนามเด็กเล่นพื้นทรายให้ Start-up ได้กล้าทำในสิ่งที่อาจจะเป็นไปไม่ได้ หรือล้มเหลวได้อย่างไม่เจ็บตัวนัก Sandbox จึงมีหลักการที่เปรียบเสมือน Core Value ขององค์กรคือ Empower และ Accept Failure ที่ขับเคลื่อนองค์กร Start-up เล็กๆให้กลายเป็นยูนิคอร์นที่สง่างามได้
แล้วธุรกิจของเรา อยู่บนพื้นทรายหรือพื้นคอนกรีตอยู่?
. . . . . . . . . . . . .
.
>
.
.
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture