3 แนวทางเริ่มสร้าง Psychological Safety ในแบบของเราเอง

เชื่อว่าหลายท่านอาจจะเริ่มเบื่อหนังสือ No Rules Rules กันแล้วเพราะนอกจากที่เพจเราจะเป็นที่แรก ๆ ที่พูดถึง เรายังพูดถึงบ่อยมาก ๆ ด้วย แต่ประเด็นในวันนี้ของเราคือ แน่นอนว่าเราไม่สามารถที่จะประยุกต์หนังสือนี้มาใช้กับนิสัยแบบไทยเราได้ทั้งหมด โดยเฉพาะหากเรายังไม่ได้ลองมองให้ลึกไปถึงปัจจัยอะไรที่ทำให้วัฒนธรรมองค์กรในแบบ Netflix ประสบความสำเร็จได้ และสิ่งนั้นกลับเป็นเรื่องที่ในหนังสือ No Rules Rules เองก็ได้มีการพูดถึงมันน้อยมาก แต่กลับเป็นเรื่องสำคัญสำคัญของความสำเร็จนี้ และ Erin Meyer ได้พูดถึงตัวแปรนี้สั้น ๆ ไว้ในบทนำของหนังสือว่า “การสรรหาคนเก่ง ๆ มารวมกันไว้แล้วขู่พวกเขาว่าถ้าทำงานไม่ดีก็จะต้องออกไป เป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วที่จะฆ่าความคิดสร้างสรรค์ และการเกิดนวัตกรรมในองค์กร”


แน่นอนว่าใครที่อ่าน No Rules Rules มาก็จะทราบดีว่า Netflix ทำแบบนี้เป๊ะ ๆ แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม Netflix นั้นกลายเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมมากกว่าที่ไหนๆ ฉะนั้น สิ่งที่ Erin Meyer พูดนั้นไม่ได้แปลมันย้อนแย้งหรืออย่างไร แต่มันคือการบอกใบ้ว่าความสำเร็จของ Netflix นั้นไม่ใช่เพียงแต่การมี High-Performing Culture หรือการเป็นที่ที่มีแต่คนเก่งๆ หรือแม้แต่การให้อิสระกับพนักงานมากๆ แต่มันคือสิ่งที่หนังสือไม่ได้บอกเราชัดๆ และสิ่งนั้นก็คือสิ่งที่หลายท่านน่าจะเคยได้ยินจากเพจเราบ่อย ๆ มันคือ Psychological Safety นั่นเอง


จะขออธิบายสั้นๆ สำหรับท่านที่เพิ่งได้ยินคำนี้ Psychological Safety นั้นหมายถึงสภาพแวดล้อมในออฟฟิศที่ส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกว่ามันโอเคที่เขาจะพูดเรื่องยากๆ ที่เกี่ยวกับงานออกมาได้ เช่น เมื่อเขาพบข้อบกพร่องบางอย่างของสินค้าที่ไม่มีใครพูดถึงมาก่อน นั่นคือเขารู้สึกปลอดภัยที่จะพูดเรื่องยาก ๆ เหล่านี้ออกมา ลองนึกภาพเวลาตัวเองมีไอเดียที่คิดว่าจะช่วยให้งานดีขึ้นได้ แต่มีบางอย่างทำให้รู้สึกว่าไม่พูดออกไปดีกว่า ความรู้สึกแบบนี้เคยมีกันบ้างไหม? ทุกท่านทราบไหมว่า 85% ของคนทำงานไม่มากก็น้อยต่างก็เคยต้องอยู่ในสถานการณ์เดียวกันนี้ และบางครั้งมันอาจส่งผลไปถึงความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินได้เลย


และโดยเฉพาะสำหรับ Talent ขององค์กรนั้น Psychological Safety ถึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะคนเก่ง ๆ มักจะมีความคิดเห็น มีไอเดียใหม่ ๆ และมักจะมองเห็นอะไรที่คนอื่นมองไม่เห็น ดังนั้นคนเก่ง ๆ มักจะมีความคันไม้คันมือ คันปากที่จะอยากนำเสนอไอเดีย และวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ และแม้การที่วัฒนธรรมองค์กรมีการส่งเสริมให้เกิดการแสดงออกซึ่งความคิดใหม่ ๆ แล้วในบางครั้งมันมักจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่ทำให้ไอเดียใหม่ ๆ เหล่านี้ไม่ได้รับการพูดถึงอย่างที่ตั้งใจไว้


ต้องไม่ลืมว่าโดยพื้นฐานวัฒนธรรมไทยเรานั้นยังคงมีความ Conservative และ Seniority อยู่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม นั่นทำให้ความคิดสร้างสรรค์มักจะมีการเกิดขึ้น และดับไปเพียงในชั่วพริบตา ด้วยปฏิกริยาตอบสนองแบบฉับพลันจากผู้นำองค์กรแม้จะไม่ได้เจตนาก็ตามไม่ว่าจะเป็นสีหน้าท่าทาง หรือน้ำเสียงที่เปลี่ยนไป สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อ Psychological Safety ในองค์กรทั้งสิ้น และเมื่อ Talent ไม่สามารถที่จะพูด หรือไม่มีทางออกให้กับความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียใหม่ ๆ ของพวกเขาได้ ก็จึงต้องมีการจากลากันเกิดขึ้น


ดังนั้น ถ้ากลับมาที่วัฒนธรรมองค์กรในแบบของ Netflix ที่มีทั้งวัฒนธรรมองค์กรที่เป็น High-performing culture มากๆ ร่วมกันการสรรหาเฉพาะคนเก่งเท่านั้นมันจึงยังไม่พอที่ทำให้ Netflix ประสบความสำเร็จได้ถึงจุดนี้ แต่สิ่งสำคัญที่ผนวกสองสิ่งนี้เข้าด้วยกันนั้นคือการสร้าง Psychological Safety ควบคู่กันไปด้วย ซึ่ง Netflix เองก็ได้มีวิธีของตัวเองที่เราก็เคยพูดถึงกันมาบ้างแล้ว เช่น 4A Feedback หรือ Live 360 เป็นต้น [อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.brightsidepeople.com/4a-feedback-ตามแบบ-netflix/]


แต่นั้นก็คือวิธีของ Netflix และไม่ได้เหมาะกับทุกๆ องค์กร ดังนั้น เราจึงไม่สามารถพึ่งให้หนังสือ No Rules Rules เป็นคำตอบให้กับทุก ๆ องค์กรได้ แต่โชคดีที่คุณ Amy Edmonson ได้ให้แนวทางคร่าว ๆ สำหรับผู้นำในการส่งเสริมให้เกิด Psychological Safety ขึ้นในองค์กรได้กว้าง ๆ 3 อย่างในหนังสือชื่อ The Fearless Organization เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้ให้เข้ากับองค์กรตัวเอง คือ


1] De-stigmatise failure คือผู้นำองค์กรต้องสื่อสารอย่างชัดเจนกันไปเลยว่าความล้มเหลวนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพราะหากเรามาดูกันจริง ๆ ถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในงานมักจะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นความผิดพลาดโดยตั้งใจ และไม่เกิดการเรียนรู้จากมัน แต่เรามักปฏิบัติกับความผิดพลาดเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่เกิดควร ซึ่งทำให้การยอมรับความผิดพลาด และการพูดถึงความผิดพลาดเป็นเรื่องที่กระตุ้นความกลัวให้กับพนักงาน และอีกวิธีนึงคือการปรับภาษา เช่น บางที่เลือกที่ใช้คำว่าอุบัติเหตุ แทนคำว่าความผิดพลาด


2] Demonstrate fallibility and humility
ความถ่อมตัวของผู้นำเป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้นำต้องกล้าพูด กล้ายอมรับว่าตนเองยังไม่ได้มีคำตอบให้กับทุกสิ่งอย่าง และเปิดรับคำตอบจากทุก ๆ คน เพราะถ้าผู้นำมีออร่าของความรู้ไปหมด ก็จะไม่มีพนักงานคนไหนกล้าทักท้วงแน่นอน และนอกจากการถ่อมตัวเองผู้นำยังควรพัฒนาทักษะการตั้งคำถามไปยังพนักงานให้เขามีส่วนร่วม และสำคัญที่สุดคือทักษะการฟังเมื่อพนักงานพูดออกมา


3] Respond Productively เป็นสิ่งที่พูดง่าย แต่ต้องใช้เวลา นั่นคือการตอบสนองอย่างดีเมื่อมีคนกล้าพูดบางอย่างออกมา และจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดของการตอบสนองคือการพยายามขอบคุณอย่างจริงใจที่สุดให้กับความคิดเห็นที่สื่อออกมาไม่ว่าอย่างไร เพราะไม่ว่าจะดีหรือแย่การแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความกล้าอย่างมากจากฝั่งผู้พูด ในฐานะผู้นำเราจึงต้องฝึกฝนการตอบสนองให้การขอบคุณเป็นปฏิกริยาตอบสนองในแบบอัตโนมัติให้ได้


ในทั้ง 3 แนวทางเราจะพบว่า Netflix เองก็มีการใช้ทั้ง 3 แนวทางนี้ในแบบของตนเอง ซึ่งทางเขาก็มีวัฒนธรรมแบบตะวันตกที่มีความตรงไปตรงมา กล้าพูดกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่การที่เราจะเอาสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้กับองค์กรไทยได้นั้นมันต้องอาศัยความเข้าใจถึงองค์ประกอบจริง ๆ ของมัน และสำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าการปรับใช้ Psychological Safety ให้เข้ากับวัฒนธรรมแบบตะวันออก ๆ ที่มีความขี้เกรงใจ และความอาวุโสเป็นทุนเดิมอย่างไทยเรามันเป็นไปได้จริง ๆ หรือ เราสามารถบอกเลยว่ามันเป็นไปได้ เพราะมีองค์กรตะวันออกจ๋าแห่งหนึ่งที่พื้นฐานวัฒนธรรมประเทศของเขาขี้เกรงใจกว่าเรา และมี seniority สูงกว่าเรา แต่ก็ประสบความสำเร็จมาแล้ว และในวันพฤหัสหน้าผมจะมาเล่าให้ทุกท่านฟังถึงองค์กรนี้กัน

.
.

A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

.
.
>>>>

ที่มาของข้อมูล

หนังสือ No Rules Rules โดย Erin Meyers, Reed Hasting

หนังสือ The Fearless Organization โดย Amy Edmonton

https://www.wsj.com/articles/SB108249266648388235

Milliken,F.J.,Morrison,E.W.,&Hewlin,P.F.“AnExploratoryStudyof Employee Silence: Issues that Employees Don’t Communicate Upward and Why.” Journal of Management Studies 40.6 (2003): 1453–1476.

.
.

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search