3 แนวทางคืนความสนุกให้วัฒนธรรมองค์กร

Ed Catmull อดีต President ของ Pixar Studio เชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรที่สนุกเป็นพื้นฐานสำคัญของประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งก็มีหลักฐานมากมายที่มาสนับสนุนความเชื่อนี้ ที่นอกเหนือไปจากความสำเร็จของ Pixar แล้ว การศึกษาในแวดวงธุรกิจอีกมากมายก็พบว่าทีมที่สนุกมักจะมีการสื่อสารระหว่างกัน และการแก้ปัญหาที่เต็มประสิทธิภาพ รวมไปถึงผลงานที่ดีกว่าในทั้งระยะสั้นและยาวอีกด้วย แต่หลายครั้งเรากลับพบว่าเมื่อเราพยายามที่จะออกแบบวัฒนธรรมองค์กรของเราให้สนุก มันกลับไม่ได้เป็นตามนั้น บางทีได้ผลตรงกันข้ามเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น วันนี้เราจะดูกันว่าเราจะสามารถทำให้วัฒนธรรมองค์กรเราสนุกขึ้นได้อย่างไร


ความสำเร็จของ Pixar ตั้งแต่ Toy Story, Finding Nemo จนไปถึง Inside Out นั้นต้องยกเครดิตให้กับความคิดสร้างสรรค์ของทีมงาน ทั้งองค์ประกอบภาพที่สวยงาม เรื่องราวที่กินใจคนทุกเพศทุกวัย และโลกที่เอ่อล้นไปด้วยจินตนาการ แต่จากมุมมองของ Ed Catmull เขามักจะยกเครดิตให้กับวัฒนธรรมองค์กรของ Pixar เป็นหลัก หรือถ้าให้ชัดกว่านั้น คือ วัฒนธรรมองค์กรที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ “เสียงหัวเราะ และการสนุกร่วมกันในวันดี ๆ จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ และทำให้ในวันแย่ ๆ พวกเราต่างมั่นใจในกันและกันมากขึ้น”


วัฒนธรรมองค์กรที่ทีมงานเราได้สร้างสรรค์ผลงานได้เต็มประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันก็สนุกไปกับมันด้วยนั้นคืออุดมคติของหลาย ๆ องค์กร แต่การที่จะทำให้องค์กรเป็นแบบนั้นได้จริง ๆ นั้นเป็นอะไรที่ฝืนธรรมชาติมาก ๆ แต่สามารถทำให้ถ้าคุณเป็นผู้นำองค์กรที่จริงจังกับเรื่องนี้จริง ๆ


ก่อนที่เราจะเริ่มต้นกันเราต้องเกริ่นก่อนว่าวัฒนธรรมองค์กรที่สนุก มันอาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกองค์กร และแน่นอนว่าไม่ได้เหมาะกับผู้นำองค์กรทุกคน เราจึงได้มีหลากหลายแนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้สนุกที่แต่ละท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ในแบบของตัวเองจากหนังสือเรื่อง Humor, Seriously ของ Jennifer Aaker และ Naomi Bagdonas


แสดงความตลกออกมา


อารมณ์ขันเฉพาะหน้าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ CEO หลาย ๆ คนใช้ในการเซ็ตบรรยากาศของความสนุก เพราะความสดนั้นเป็นสิ่งที่ส่งเสริมความสนุกได้อย่างดี และสร้างความไม่คาดคิดให้กับคนฟัง และความไม่คาดคิดนั้นจะถูกแสดงออกมาผ่านเสียงหัวเราะนั่นเอง ดังนั้น ในสถานการณ์การทำงานทั่วไปจะเป็นข้อได้เปรียบนึงของการใช้อารมณ์ขัน เพราะการทำอะไรเล็ก ๆ น้อยที่ใส่อารมณ์ขันลงไปนั้นจะเปลี่ยนบรรยากาศให้เบาขึ้น และเรียกเสียงหัวเราะได้ง่ายกว่าสถานการณ์อื่น ๆ (ถ้าทุกอย่างไม่ตึงเครียดเกินไป)


ตัวอย่างขององค์กรที่ใช้อารมณ์ขันได้ดีคือ Google จากทั้ง Lary Page Sergey Brin และ Eric Schmidt ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมที่จัดทุกวันศุกร์ที่ชื่อว่างาน Thank God It’s Friday ที่เปิดโอกาส 30 นาทีให้พนักงานถามอะไรก็ได้กับผู้บริหาร และสิ่งที่เกิดขึ้นคือการตอบโต้กันระหว่าง Larry Page และ Sergey Brin ที่ทำให้ตั้งคำถามได้ว่านี่ Google หรือตลกคาเฟ่


กิจกรรมเหล่าช่วยให้พนักงานเห็นว่าผู้บริหารของพวกเขาสื่อสารกันอย่างไร และเป็นการส่งข้อความว่าพวกเขามองหาคนแบบไหนมาเป็นผู้นำองค์กร การเล่นสนุกด้วยกันใน Google คือการสื่อสารว่าคนที่จะก้าวหน้าได้ดีใน Google ต้องรักสนุก Eric Schmidt เชื่อว่า “เราทำตัวแบบไหนเรา องค์จะได้คนมาเป็นผู้นำในแบบนั้น ถ้าเราเป็นแบบอย่างของผู้นำที่ Relax มีอารมณ์ขัน และสนุก พนักงานคนอื่น ๆ ก็จะรู้ว่าความสนุกนั้นเป็นเรื่องที่ดีต่อ Google และกล้าที่จะสนุกไปกับการทำงานด้วยกัน”


แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะเหมาะกับวิธีนี้ แต่ไม่ได้แปลว่าการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนุกจะเป็นไปไม่ได้สำหรับท่าน เพราะยังมีอีกหลายอย่างที่ท่านสามารถส่งเสริมความเฮฮาในที่ทำงานได้ เช่นแนวทางถัดไป


เล่นตามน้ำไปกับทีม


ก่อนหน้าที่ Eric Schmidt จะเข้ามาเป็นผู้บริหารที่ Google วันหนึ่งเขาเคยเดินเข้าห้องทำงานแล้วพบกับรถยนต์ Volkswagen ตั้งอยู่ในห้อง นั่นหมายถึงในชั่วข้ามคืน ทีมงานของเขาซื้อรถยนต์ แยกส่วนประกอบ ขนทั้งหมดเข้ามาไว้ในห้องทำงานเขา และประกอบมันกับเข้าด้วยกันใหม่ก่อนที่เขาจะมาถึง


นี่เป็นการหยอกกันเล่นที่ใช้ความพยายามอย่างมาก และ Eric Schmidt เข้าใจเรื่องนี้ดี และรู้ว่าการตอบสนองของเขาต่อเหตุการณ์นี้สำคัญมากต่อวัฒนธรรมองค์กร และตัดสินใจที่จะเดินเข้าไปในรถ… และเริ่มประชุม


Schmidt เขาสามารถที่จะไม่พอใจ และตักเตือนลูกทีมของเขาที่ลุกล้ำพื้นที่ห้องทำงานของเขาโดยพละการได้ และในความเป็นจริงหลาย ๆ คนอาจจะตอบสนองไปอย่างนั้น เพราะการตามน้ำไปกับทีมงานเราในบางครั้งอาจจะขัดกับความรู้สึกของผู้นำที่ต้องยอมปล่อยวางตำแหน่ง แล้วยอมให้คนอื่นขึ้นมานำเรา แต่การที่ Schmidt เลือกที่จะเล่นตามน้ำไปคือการแสดงออกว่าว่าเขาสนับสนุนวัฒนธรรมองค์กรที่สนุก และทุกคนมีส่วนร่วมมากกว่าการที่ใครคนหนึ่งจะมากำหนดว่าองค์กรสามารถสนุกกับอะไรได้บ้าง ตราบใดที่มันยังไม่ได้สร้างความเสียหาย และนั่นนำเรามาสู่ประเด็นถัดไป


ส่งเสริมความสนุกจากล่างขึ้นบน (Bottom-up)


ที่ Pixar เต็มไปด้วยประเพณีองค์กรที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ และความสนุก และประเพณีเหล่านี้คือสิ่งที่เชื่อมโยงคนใน Pixar เข้าด้วยกัน แต่ที่น่าสนใจคือ Ed Catmull ได้บอกว่ากิจกรรม และประเพณีเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากพนักงานทั้งนั้น พร้อมยังบอกด้วยว่าเขาไม่เชื่อว่าเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะกำหนดว่าเราควรสนุกกันแบบไหน เพราะ “Fun is not a top-down thing”


ในทางตรงกันข้ามวัฒนธรรมองค์กรที่สนุกต้องเกิดขึ้นจากพนักงานในทุก ๆ ระดับ เพียงแต่เป็นหน้าที่ของผู้นำในการมองหามันให้เจอ โดยเฉพาะมองหากลุ่มคนที่จะมาช่วยขยายให้มันใหญ่ขึ้น


หลายครั้งเราจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Change Agents คือกลุ่มคนที่โดยธรรมชาติแล้วมีความสนุกในตัวเอง การคอยสังเกตุให้ดีว่าในชีวิตการทำงานปัจจุบันมีใครบ้างที่เป็นคนช่วยสร้างบรรยากาศให้กับทีม และเมื่อเจอแล้วหน้าที่สำคัญของผู้นำองค์กรคือการส่งเสริมคนเหล่านี้ให้เป็นตัวเองได้มากขึ้น ทั้งการชมเชยให้รางวัล หรือประกาศเป็นเรื่องราวให้คนอื่นได้รับรู้


การแสดงออกซึ่งการยอมรับนี้ช่วยให้เหล่า Change Agents ของเรามีความเป็นเจ้าของในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนุกมากขึ้น และทำให้ความสนุกในที่ทำงานมีความเป็นธรรมชาติมากกว่าหากมาจากตัวผู้นำเอง และก็เป็นวิธีที่เหมาะกับผู้นำที่ไม่ได้มีสไตล์เป็นคนตลกโดยธรรมชาติก็สามารถทำได้ผ่านการส่งเสริมพนักงานที่ทำได้ดีกว่า


นี่เป็น 3 แนวทางหลัก ๆ ของการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความสนุก และเป็นธรรมชาติ เพราะความสนุก และเสียงหัวเราะนั้นคือสิ่งสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร และประสิทธิภาพในการทำงาน หลาย ๆ องค์กรอยากเป็นที่ที่เราสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ในขณะที่ก็สนุกไปด้วย แต่การที่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริงนั้นต้องอาศัยการส่งเสริมความสนุกกันอย่างจริงจังโดยเฉพาะจากผู้นำ และหากใครที่กำลังมองหาวิธีการใส่ความสนุกให้กับวัฒนธรรมองค์กรเรานั้นสามารถปรับใช้ทั้ง 3 แนวทางในแบบที่เป็นตัวเองที่สนุก ท่านใดที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนตลกโดยธรรมชาติอาจจะถนัดการเล่นสนุกให้เป็นแบบอย่างว่าทำได้ หรือถ้าไม่ใช่อาจจะส่งเสริมมันโดยการเล่นตามน้ำเมื่อทีมงานเราเล่นด้วย หรืออาจจะเป็นการมองหา และส่งเสริมให้ Change Agent มาช่วยสร้างบรรยากาศของความสนุก และในอุดมคติเราก็สามารถให้ทั้ง 3 แนวทางนี้ไปด้วยกันได้เช่นกัน และไม่ว่าเลือกปรับไปใช้แบบไหน สิ่งสำคัญก็ต้องไม่ลืมว่า “ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี” อย่าลืมมาตั้งใจสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่อยากเห็นกันล่ะ


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture


References:

หนังสือ Humor, Seriously โดย Jennifer Aaker และ Naomi Bagdonas

Google TGIF: 1999

.
.
>>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search