15 แนวทางสร้าง Psychological Safety ที่ตัวเราเองก็ทำได้อย่างง่ายๆ

“Psyhological Safety” หรือพื้นที่ปลอดภัยในที่ทำงาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำงานทุกคนถวิลหา เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีสัญชาตญาณแห่งความกลัวเป็นพื้นฐาน ทำให้เรามักเลือกที่จะป้องกันตัวเอง ปิดกั้น ไม่แสดงความคิดเห็นของตัวเอง เพราะกลัวผลกระทบที่จะตามมา แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วไอเดียเหล่านั้นอาจไม่ได้แย่ไปทั้งหมด….


การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยสนับสนุนให้เกิด “Psychological Safety” เป็นขั้นตอนต้นๆ ที่จะช่วยให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะแชร์ความคิดเห็นของพวกเขา ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกเยาะเย้ยหรือโดนลงโทษ นอกจากนั้นยังช่วยสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง เกิดความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และยังช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในองค์กร.


สมาชิกทั้ง 15 ท่านจาก Forbes Business Council ได้เสนอแนวทางในการสร้าง Psychological Safety ให้เกิดขึ้นในองค์กรไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

==================


🔸 1. Don’t Rush to Fix Things


อีกหนึ่งวิธีที่ทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งคือ ความเงียบอย่างเป็นมิตรระหว่างการสนทนา การปล่อยให้ผู้คนคิดผ่านความท้าทายของตนเอง และหาข้อสรุปโดยปราศจากความเห็นของผู้นำ จะช่วยสร้างขีดความสามารถและความไว้วางใจในทีมได้ ผู้นำควรจะออกความเห็นในกรณีที่เป็น Toxic หรือเริ่มทำลายบรรยากาศ แต่โดยทั่วไปผู้นำควรยับยั้งที่จะรีบกระโดดเข้าไปแก้ปัญหาทันที


🔸 2. Lead with Empathy, Not Ego


การเอาใจใส่, การรับรู้ตนเอง, การ feedback อย่างตรงไปตรงมาด้วยความเคารพ และการสื่อสารที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้พนักงานรู้สึกมั่นใจ สบายใจ และปลอดภัย คุณต้องจริงใจและคอยสนับสนุน นำทีมด้วยความเข้าใจไม่ใช่อีโก้


🔸 3. Be Open to Feedback


เปิดรับฟัง feedback การสื่อสารที่ดีไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกทีมมักจะช่วยทำให้ขั้นตอนการทำงานง่ายขึ้น ให้ความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของเป้าหมาย


🔸 4. Build Trust by Being Transparent


สร้างความเชื่อใจด้วยความโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นการ feedback นโยบายบริษัท งบประมาณ การเลื่อนตำแหน่ง หรือการเลิกจ้าง ความโปร่งใสจะช่วยแก้ไขความคลุมเครือที่เป็นเหตุของความกังวล และช่วยสร้างความเชื่อใจได้


🔸 5. Approach Issues from A Curious Perspective


เข้าหาปัญหาต่างๆ ด้วยความอยากรู้อยากเห็นแทนการตำหนิ ควรแก้ปัญหาด้วยการคิดร่วมกันอย่างเป็นกลางซึ่งสิ่งนี้จะช่วยแก้ปัญหาของทีม.


🔸 6. Actively Listen


หัวหน้าต้องรับฟังอย่างตั้งใจ ได้ยินความคิดและความรู้สึกของผู้พูดอย่างนิ่งเงียบ ตั้งใจ และประเมิน รวมถึงการสะท้อนกลับ (Reflect) ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สามารถส่งผลต่อพื้นที่ความปลอดภัยทางจิตใจให้กับทีมได้


🔸 7. Engage with Consideration and Authenticity


วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับหัวหน้างานในการเพิ่มความรู้สึกปลอดภัยทางจิตใจคือ หัวหน้างานมีส่วนร่วมกับทีมด้วยความจริงใจและมีน้ำใจ


🔸 8. Build A Culture Where Mistakes Are Okay


สร้างวัฒนธรรมที่ยอมรับในความผิดพลาดได้ เพราะมันจำเป็นในการเรียนรู้และเติบโต และต้องมั่นใจว่าทีมคุณรับรู้ว่าคุณก็ทำผิดพลาดเช่นกัน และคุณยังสนับสนุนในความพยายามของพวกเขา และพร้อมที่จะเสี่ยง


🔸 9. Create A Sense of Belonging


สิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์แบบครอบครัว คือ การตอบสนองความต้องการของคนในทีมด้านความสัมพันธ์ เช่น การตั้งเป้าหมายร่วมกัน การเป็นผู้ริเริ่มโปรเจ็ค และการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ


🔸 10. Build A Culture of Team, Not Talent


มุ่งเน้นสร้างวัฒนธรรมในทีมมากกว่าสร้าง Talent ซึ่งหมายถึง การสร้างความเชื่อใจในกลุ่มผู้ร่วมงาน สามารถรู้สึกไม่มั่นคงได้ต่อหน้าพวกเขา บอกเขาได้ว่าคุณเก่งอะไร ไม่เก่งอะไร และสามารถส่งไม้ต่อโดยไม่ต้องกังวลว่าพวกเขาจะคัดค้านคุณ อย่างไรก็ตาม คุณต้องจ้างและประเมินคนที่สามารถทำงานเป็นทีมได้ คนเก่งๆ ที่ทำงานเป็นทีมไม่เป็นสามารถทำลายวัฒนธรรมในทีมของคุณได้.


🔸 11. Help Employees Meet Their Basic Needs


สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของพนักงานได้ เช่น ความแน่นอน การเติบโต และการได้รับความสำคัญ ซึ่งทุกวันนี้องค์กรมีโอกาสมากมายในการสร้างความภักดีและความเชื่อมั่นในใจของพนักงานด้วยการดูแลพวกเขา


🔸 12. Foster Support Between Co-Workers


การสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางจิตใจในที่ทำงานเป็นสิ่งที่คุ้มค่าเสมอ การทำให้พนักงานรู้สึกสบายใจในการแสดงความคิดเห็น และไม่รู้สึกกลัวที่จะถูกตัดสิน ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีเกิดขึ้นได้จากการที่ทีมงานสะท้อนความคิดเห็นกันไปมาและสนับสนุนกันไม่ให้ผิดพลาด ช่วยให้ผลงานของพนักงานดีขึ้นได้ ส่งเสริมการสนับสนุนระหว่างเพื่อนร่วมงาน


🔸13. Promote Openness and Inclusivity


สนับสนุนและส่งเสริมทีมให้เปิดกว้างและสร้างความเป็นหนึ่งเดียว ให้ทีมรับรู้ว่าคุณให้ความสนับสนุนพวกเขาในการพัฒนาวิชาชีพและพัฒนาส่วนบุคคล หัวหน้างานสามารถใช้ระบบและกลยุทธ์ ให้ทีมแบ่งปันความคิดและข้อกังวลผ่านการประชุมแบบเปิด หัวหน้างานควรให้รางวัลส่งเสริมและให้เครดิตสำหรับผลงานที่ยอดเยี่ยม


🔸 14. Value Your Staff As Humans, Not Resources


การให้ความสำคัญของคนในฐานะ “บุคคล” ไม่ใช่ “ทรัพยากร” เราสามารถให้ความสำคัญของความต้องการของคนโดยการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานและสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความเคารพ การมีส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน ความเห็นอกเห็นใจ และการเอาใจใส่ที่ผู้นำมุ่งเน้นไที่การช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จ


🔸 15. Establish Rules of Engagement


กำหนดกฎของการมีส่วนร่วมสำหรับสมาชิกในทีมและองค์กรโดยรวม เช่น การรักษาความลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลายทีมและหลายกลุ่ม ควรมีกฎการรักษาความลับที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ถูกพูดคุยเป็นประจำ รวมถึงผลที่ตามมาสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ ซึ่งไม่ได้ต้องออกกฎในทุกแง่มุมแต่ควรมีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น

==================


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture.

.
.

.

.
.

ที่มาจาก >> https://qnewshub.com/business/startup-and-funding/council-post-15-ways-to-promote-psychological-safety-at-work/

https://www.unicornlabs.ca/blog/high-performing-teams-need-psychological-safety-heres-how-you-can-create-it-foryour-startup-team

https://blog.jostle.me/blog/7-ways-to-create-psychological-safety-in-your-workplace

How to ensure psychological safety at work
Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search