12 เพื่อนร่วมงานสุด Toxic


การทำงานเป็นทีม.. ให้เป็นทีม!!” เป็นหัวข้อสุดชาเลนจ์ของคนทำงาน ตั้งแต่ผู้นำไปจนถึงเพื่อนร่วมงานภายในทีม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนในทีมมีบุคลิกและวิธีการทำงานที่แตกต่างกัน บทความวันนี้ A Cup of Culture จะพูดถึง 12 เพื่อนร่วมงานสุด Toxic ว่าพวกเขามีลักษณะพฤติกรรมอย่างไร และเคล็ดลับในการรับมือเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงานที่ดี


12 เพื่อนร่วมงานสุด Toxic

พฤติกรรม: เพื่อนร่วมงานกลุ่มนี้มักวิจารณ์และหาเรื่องจับผิดอยู่เสมอ เขามองเห็นแต่ปัญหามากกว่าคิดหาทางแก้ไข
วิธีจัดการ: พูดคุยกับเขาโดยตรง (ด้วยท่าทีสุภาพ) ให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ และตั้งความคาดหวังที่ชัดเจน รวมทั้งชวนคุยถึงวิธีแก้ปัญหามากกว่าร่วมวงสนทนา “สภานักบ่น”

พฤติกรรม: มักหลบเลี่ยงงานอยู่เสมอ เพื่อนร่วมงานกลุ่มนี้มายเซ็ตในการทำงานว่า “ทำแค่ขั้นต่ำก็พอ แค่นี้ก็ดีแล้ว”
วิธีจัดการ: เฝ้าติดตามผลงานอย่างใกล้ชิด ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และใช้มาตรการรับผิดชอบในการทำงานเพื่อกระตุ้นการทำงาน

พฤติกรรม: ชอบข่มขู่หรือรังแกเพื่อนร่วมงาน สร้างบรรยากาศที่ไม่ดีในการทำงาน
วิธีจัดการ: ส่งเสริมวัฒนธรรมกรที่ไม่ยอมรับพฤติกรรมรุนแรง แก้ไขพฤติกรรมทันที และให้การฝึกอบรมเกี่ยวกับการสื่อสารที่เคารพผู้อื่น

พฤติกรรม: ชอบแพร่ข่าวลือ สร้างความขัดแย้ง และพูดถึงคนอื่นลับหลัง
วิธีจัดการ: ส่งเสริมวัฒนธรรมที่โปร่งใส ป้องกันการนินทา และจัดการกับข่าวลืออย่างรวดเร็วเพื่อรักษาบรรยากาศการทำงานที่ดี

พฤติกรรม: เพื่อนร่วมงานกลุ่มนี้มักคิดว่าตนเองถูกเสมอและปฏิเสธความคิดของผู้อื่น ทำให้ทีมขาดการร่วมมือ
วิธีจัดการ: ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน ให้ความสำคัญกับมุมมองที่หลากหลาย และตั้งขอบเขตในการทำงานร่วมกัน

พฤติกรรม: ชอบขโมยเอาผลงานและไอเดียของคนอื่นมาอ้างเป็นของตัวเอง
วิธีจัดการ: ยอมรับผลงานที่แท้จริงต่อสาธารณะ และจัดการกับพฤติกรรมแบบส่วนตัวเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต

พฤติกรรม: พนักงานกลุ่มนี้มีทัศนคติเชิงลบกับทุกเรื่อง ทำให้บรรยากาศในการทำงานหม่นหมอง ทีมหดหู่หมดกำลังใจ
วิธีจัดการ: ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นหาทางแก้ไข และส่งเสริมทัศนคติเชิงบวก เปิดรับข้อเสนอแนะและมุมมองที่หลากหลาย

พฤติกรรม: มักมีท่าทีหรือพฤติกรรมที่แสดงความไม่พอใจ (ทางอ้อม) ผ่านพฤติกรรมต่างๆ เช่น กระแทกข้าวของเสียงดัง ยักไหล่ส่ายหัว หรือบึ้งตึงเมินเฉย
วิธีจัดการ: พูดคุยถึงพฤติกรรมอย่างตรงไปตรงมา ส่งเสริมการสื่อสารที่เปิดเผย และให้ข้อเสนอแนะเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้น

พฤติกรรม: พยายามทำให้ทุกเรื่องในองค์กรเกิดดราม่า เกิดบรรยากาศที่รบกวนสมาธิ และเกิดความระแวงกันภายในทีม
วิธีจัดการ: พยายามไม่สนใจพฤติกรรมที่ก่อกวนอารมณ์ แต่กลับมาโฟกัสที่เป้าหมายและงานมากกว่าและสื่อสารเรื่องขอบเขตให้ชัดเจน

พฤติกรรม: มักเป็นคนกลุ่มสุดท้ายที่จะยอมเปลี่ยนแปลง และคอยขัดขวางการริเริ่มใหม่ๆ
วิธีจัดการ: อธิบายถึงประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง ให้พวกเขามีส่วนร่วมในกระบวนการ และให้การสนับสนุนระหว่างช่วงการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรม: ใส่ใจทุกรายละเอียดจนทำให้เกิดความล่าช้า และคาดหวังว่าทุกอย่างจะต้องไร้ที่ติ
วิธีจัดการ: สนับสนุนให้เน้นที่ความก้าวหน้าแทนการสมบูรณ์แบบ ตั้งเวลาที่เหมาะสม และช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของงาน

พฤติกรรม: เรียกร้องความสนใจและคำชมจากผู้อื่นตลอดเวลา มักขัดจังหวะผู้อื่นเพื่อให้ตัวเองเป็นจุดสนใจ
วิธีจัดการ: ชื่นชมผลงานอย่างมีโครงสร้างเพื่อลดพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจ ตั้งขอบเขตในที่ประชุม และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทักษะการทำงานร่วมกัน


บทสรุป
การเข้าใจและจัดการกับลักษณะพนักงานที่เป็นพิษเหล่านี้สามารถช่วยปรับปรุงบรรยากาศการทำงานในทีม และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น การจัดการพฤติกรรมด้วยความชัดเจน ความเห็นอกเห็นใจ และความสม่ำเสมอจะช่วยให้ทีมมีบรรยากาศที่เป็นบวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

A Cup of Culture
────
วัฒนธรรมองค์กร
corporateculture
organizationalculture
.
.

เพื่อนร่วมงานสุด Toxic
Sources:
https://www.business.com/articles/do-you-have-a-toxic-employee/
https://www.aseonline.org/News-Events/ASE-News/EverythingPeople-This-Week/10-toxic-traits-to-be-aware-of-in-the-workplace

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search