ใช้ Data สร้างวัฒนธรรมองค์กร เริ่มต้นด้วย 4 เทคนิคนี้

การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะมันคือสิ่งที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะในเวลาเดียวกัน ทำให้การพยายามใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรมันจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อน และวันนี้เราจะมาจัดการกับความซับซ้อนนี้กัน⁣⁣
⁣⁣
ในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรอย่างเป็นระบบ การที่ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจตรงกันถึงความคาดหวัง และมองการพัฒนานี้ไปในทิศทางเดียวกันเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก แต่ความท้าทายในด้านของวัฒนธรรมองค์กรคือการที่องค์ประกอบเหล่านั้นสามารถเป็นเรื่องที่จับต้องได้ยาก เช่น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าองค์กรเรามีวัฒนธรรมองค์กรแบบ ’ครอบครัว’ แค่ไหน หรือ ‘Data-driven’ แค่ไหน และนั่นทำให้เกิดช่องว่างระหว่างความเข้าใจกันระหว่างผู้นำ ผู้จัดการ และพนักงานคนอื่น ๆ ⁣⁣
⁣⁣
ในช่วงเริ่มต้นสิ่งสำคัญที่ถูกหยิบมาใช้จัดการกับปัญหาเหล่านี้คือ การสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารความคาดหวัง และให้ความเข้าใจเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันถึงวัฒนธรรมองค์กรที่คาดหวัง แต่ถึงอย่างนั้นแล้วในระหว่างทางล่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการพัฒนานี้กำลังมาถูกทางแล้ว และทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายเห็นตรงกันถึงสถานะปัจจุบัน และความคืบหน้าเพื่อพัฒนาต่อได้ตลอดเวลา นั่นคือโจทย์ของการทำวัฒนธรรมองค์กรที่เราต้องอาศัย Data เข้ามาช่วย⁣⁣
⁣⁣
แต่เมื่อพูดถึงการใช้ข้อมูลเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรแล้ว ความท้าทายคือองค์ประกอบที่มีความเป็นศิลปะที่ทำให้การใช้ข้อมูลเชิงตัวเลขสามารถทำได้ยาก และต้องอาศัยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพมากกว่า แต่แน่นอนว่าการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรในเชิงตัวเลขนั้นไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่เราจะต้องถอยออกมาก่อนหนึ่งก้าว และระบุให้ได้ก่อนว่าข้อมูลที่เราต้องใช้นั้นมีอะไรบ้าง โดยเราสามารถเริ่มต้นได้จากการมองไปที่องค์ประกอบสำคัญต่าง ๆ ที่วัฒนธรรมองค์กรส่งผลโดยเริ่มจาก 4 มิติหลัก ที่สามารถปรับเพิ่ม-ลดได้ตามบริบทของแต่ละองค์กรดังนี้:⁣⁣
⁣⁣
::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣

ข้อมูลพฤติกรรม ✅⁣⁣

⁣⁣
ตัวตน การสื่อสาร การแสดงออก และวิธีการบริหารของผู้นำคือหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของวัฒนธรรมองค์กร การแปรข้อมูลในส่วนนี้ให้เป็นตัวเลขก็สามารถทำได้โดยการระบุถึงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้ชัดเจนว่าในองค์กรเรา พฤติกรรมที่เรียกว่าตรงกับวัฒนธรรมองค์กรมีอะไรบ้าง และนำพฤติกรรมเหล่านั้นมาใช้ประเมินในรูปแบบของความถี่ หรือความสม่ำเสมอได้กับทั้งระดับของผู้นำ จุดไปถึงพนักงานระดับเริ่มต้น และสามารถต่อยอดไปได้จนถึงการใช้ในรูปแบบของการโค้ช หรือการให้ฟีดแบคการทำงาน จนไปถึงวัดประเมินประจำปี ด้วยวิธีการนี้เราจะได้ชุดข้อมูลเชิงพฤติกรรมออกมาเป็นตัวเลขได้⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣

รูปแบบการตัดสินใจ ✅⁣⁣

⁣⁣
อีกหนึ่งมิติคือการตรวจสอบว่าวัฒนธรรมองค์กรของเรานั้นมีรูปแบบการตัดสินใจแบบไหน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้แค่ไหน หรือการตัดสินใจเหล่านั้นมาจากผู้นำสูงสุดเพียงคนเดียว ซึ่งข้อมูลนี้สามารถบ่งบอกได้ถึงว่าวัฒนธรรมองค์กรเราปัจจุบัน centralized หรือ decentralized มากน้อยแค่ไหน โดยข้อมูลนี้สามารถเก็บได้จากการบันทึกการตัดสินใจอย่างเป็นทางการ เช่น จากอีเมลผู้บริหาร หรือบันทึกการประชุม และจัดกลุ่มเพื่อทำการวิเคราะห์จำนวนครั้ง ความถี่ และจำนวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงระดับการกระจายตัวของการตัดสินใจว่าใช่รูปแบบที่องค์กรเราต้องการมุ่งหน้าไปหรือยัง⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣

รูปแบบการสื่อสาร ✅⁣⁣

⁣⁣
ปัจจุบันมีหลายเจ้าที่ใช้เทคโนโลยี A.I เพื่อประมวล sentimental ของข้อความต่าง ๆ ในองค์กรว่ามีโทนสื่อไปในรูปแบบไหน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรในเชิงปริมาณอย่างมาก แต่นอกเหนือจากวิธีนั้นแล้วในการวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารข้อมูลอีกส่วนที่สามารถนำมาใช้ได้คือการดูสถิติของอัตราส่วนของช่องทางการสื่อสาร เช่น จำนวนอีเมล จำนวนข้อความ Slack ต่อวัน รวมถึงเวลาที่ส่งข้อความเหล่านั้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยบอกได้ว่าองค์กรเรามีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ช่วงเวลาของการสื่อสารเป็นอย่างไร (นอก-ในเวลางาน) เป็นการสื่อสารแบบสองทาง หรือทางเดียวมากกว่า (e-mail หรือ แชท) หรือสื่อสารเปิดเผยมากน้อยแค่ไหน (แชทเดี่ยว vs แชทกลุ่ม)⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣

กระบวนการเรียนรู้และพัฒนา ✅⁣⁣

⁣⁣
ไม่ว่าวัฒนธรรมองค์กรจะเป็นรูปแบบไหนก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเรียนรู้และพัฒนาต่างเป็นส่วนสำคัญทั้งนั้น และในด้านนี้เราสามารถวัดได้จากหลายส่วนด้วยกัน เริ่มตั้งแต่จำนวนโอกาสในการพัฒนาตัวเองที่องค์กรมีให้กับพนักงาน จำนวนพนักงานที่สามารถเข้าถึงข้อมูลการอบรม การเข้าถึงคลังข้อมูลบริษัท อัตราการตอบรับของพนักงานต่อโอกาสการอบรมที่เสนอให้ และแน่นอนว่ารวมไปถึงงบประมาณที่บริษัทจัดสรรให้กับการอบรม⁣⁣
⁣⁣
::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือจุดเริ่มต้นของการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมองค์กรในรูปแบบที่ลงทุนน้อยที่สุด โดยที่ข้อมูลส่วนใหญ่นั้นหลาย ๆ องค์กรได้มีอยู่แล้ว แต่อาจจะกระจายกระจาย และไม่ได้ถูกนำมาใช้ในมุมของงานด้านวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้นการลองนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการวางแผนพัฒนา Culture แล้วอาจจะช่วยให้องค์กรเห็นภาพได้ชัดมากขึ้น แต่แน่นอนว่าชุดข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของภาพใหญ่เท่านั้นเพราะไม่ว่าอย่างไรงานด้านวัฒนธรรมองค์กรยังมีตัวแปรเชิงคุณภาพที่ต้องอาศัยประสบการณ์ในการตีความ รวมไปถึงข้อมูลบริบทอื่น ๆ ที่แต่ละองค์กรมีแตกต่างกัน โดยหวังว่าเนื้อหาที่เล่ามานี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการเริ่มต้นการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อให้ชาว A Cup of Culture สามารถออกแบบวัฒนธรรมองค์กรกันได้ง่ายขึ้น⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
Corporate culture⁣⁣
Organizational culture
.
.

Sources:
https://hbr.org/2020/05/diversity-and-inclusion-efforts-that-really-work
https://www.eaglesflight.com/resource/how-do-you-analyze-organizational-culture-3-steps-for-success/

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search