อยากสร้างองค์กร Agile อย่ามองข้ามการสร้าง Culture

กว่า 20 ปีแล้วที่คำว่า Agile ถูกพูดถึงครั้งแรกใน the Agile Manifesto เพื่อใช้แก้ปัญหาของการทำงานแบบบนลงล่างที่ทำให้ทุก ๆ อย่างช้าไปหมด ด้วยโมเดลการทำงานที่ลื่นไหล คล่องตัว และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาหลักการนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างมากจนถูกนำไปใช้ในแทบจะทุก ๆ อุตสาหกรรม จนแตกหน่อออกเป็นทั้งเครื่องมือ และกระบวนการที่หลากหลายต่อดยอดมาเรื่อย ๆ จนตลอด 20 ปีที่ผ่านมา Agile กลายมาเป็น Adjec-tive ประจำวงการธุรกิจที่ทุก ๆ อย่างจะต้องมีคำว่า Agile นำหน้า เช่น agile HR, agile project management, agile customre service, agile sales หรือ agile C-suite เป็นต้น⁣⁣
⁣⁣
เหตุที่ Agile ได้รับความนิยมอย่างสูงนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีหลายแห่งที่ประสบความสำเร็จในการ implement หลักการของ Agile ในการพัฒนาทั้งด้านความเร็ว และคุณภาพงาน จนไปถึงการเติบโตในระยะยาวขององค์กร และก็ด้วยเคสความสำเร็จเหล่านี้แหละ ที่ได้ให้แรงบันดาลใจกับอีกหลาย ๆ องค์กรในการปรับเปลี่ยนสู่วิถี Agile แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ใช่ว่าทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จในการทำ Agile ได้จริง ๆ โดยมีอัตราความล้มเหลวในการ Implement อยู่ที่ 50%⁣⁣
⁣⁣
คำถามอะไรคือสิ่งที่ทำให้แม้จะใช้กระบวนการเดียวกันแท้ ๆ แต่กลับมีโอกาสประสบความสำเร็จแตกต่างกันได้ขนาดนี้ วันนี้เราจะคุยกันถึงบทความจากคุณ Timothy R. Clark ที่ได้เขียนไว้บน Havard Business Review ที่มาอธิบายส่วนที่หายไปกัน⁣⁣
⁣⁣
กระบวนการ และเครื่องมือที่เราคุ้นเคยกับคำว่า Agile เช่น Scrum Sprint หรือ Kanban นั้นมักจะถูกเข้าใจว่าเป็นหัวใจหลัก แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นเพียงเค้าโครงการทำงานเท่านั้น แต่หัวใจสำคัญจริง ๆ ของ Agile คือวิธีที่ทีมใช้ในการระบุปัญหา และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในทีม โดยการระบุปัญหาคือเวลาที่ทีมมีไอเดียที่ขัดแย้งกันพวกเขารับมือมันอย่างไรเพื่อสร้างผลลัพท์ที่ดีที่สุด มันคือวิธีการถกเถียง พูดคุย ให้และรับความคิดเห็นระหว่างกันที่ต้องเป็นสิ่งที่คล่องตัว และไร้แรงเสียดทาน ไม่ใช่การที่พวกเขาจะต้องกังวลว่าสามารถพูดอะไรได้บ้าง จะโดนเซ็นเซอร์ไหม หรือจะมีใครไม่พอใจอะไรหรือไม่ หรือถ้าจะพูดง่าย ๆ คือหัวใจของการที่ Agile จะประสบความสำเร็จได้คือ Cul-ture ที่ต้องมี Psychological Safety⁣⁣
⁣⁣
ที่ทำงานที่มี Psychological Safety สูงจะมีปฏิสัมพันธ์กับทีมงานโดยมีนวัตกรรม และผลลัพท์เป็นที่ตั้ง ในขณะที่ถ้า Psy-chological Safety มีน้อยปฏิสัมพันธ์กันด้วยความกลัว และการหาทางพยายามเอาตัวรอด และนั่นคือบรรยากาศที่ทีมหยุดตั้งคำถามซึ่งกันและกัน เลี่ยงการยอมรับความผิดพลาด สำรวจความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และท้าทายความเชื่อเดิม หรือก็คือหยุด Agile เพราะทีมเราจะสามารถมาคิดออกแบบ Prototype ได้อย่างไรถ้าตอนนี้ยังอยู่แต่กับความกลัวผิดพลาด ดังนั้นประเด็นที่เรากำลังจะพูดถึงเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก⁣⁣
⁣⁣
::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
🔰 มอง Agile เป็นการทำ Culture⁣⁣

⁣⁣
สิ่งสำคัญที่ต้องทำอย่างแรกคือการที่เราต้องมองมันเป็นการทำวัฒนธรรมองค์กร เพราะอย่างที่เราพูดไว้ข้างต้นกระบวนการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยกันเกี่ยวกับ Agile นั้นเป็นเพียงแค่เค้าโครงเท่านั้น และสิ่งสำคัญจริง ๆ คือปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน แต่หลายองค์กรที่ไม่ประสบความสำเร็จในการนำ Agile ไปใช้คือการนำไปใช้เพียงกระบวนการ และปล่อยให้วิถีการทำงานแบบเดิม ๆ เกิดขึ้นต่อไป โดยที่ละเลยวัฒนธรรมองค์กร ส่วนหนึ่งเพราะวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่ค่อนข้างนามธรรม และ implement ได้ยาก และง่ายกว่าที่จะพูดได้ว่าเรานำระบบไปใช้แล้ว⁣⁣
⁣⁣
แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่ถ้าเริ่มไม่ถูกสามารถเริ่มได้จากตัวผู้นำ ตรวจสอบให้ดีว่าผู้นำองค์กรตอบสนองต่อความผิดพลาด ต่อความคิดเห็นของพนักงานอย่างไร เพราะตัวผู้นำคือแบบอย่างสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรดังนั้นการสื่อสารทั้งด้านการพูดจา และการปฏิบัติตัวก็ควรจะสอดคล้องกับความ Agile และสร้างบรรยากาศที่พนักงานกล้าผิดพลาด และกล้าออกความเห็น รวมไปถึงทบทวนนโยบายขององค์กรในด้านการรับมือกับความผิดพลาดอย่างไร และมีการส่งเสริมการลองผิดลองถูกอย่างไร⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔰 ออกแบบวิธีการตอบสนองต่อพฤติกรรม Agile ให้ดี⁣⁣
⁣⁣
นอกเหนือจากการที่เราจะมีผู้นำเป็นแบบอย่างแล้ว ตัวช่วยอีกอย่างที่ดีคือการลองมาระบุว่าพฤติกรรมที่เรามองว่าเป็น Agile สำหรับองค์กรเรานั้นมีอะไรบ้าง อาจจะเป็นการออกความเห็นอย่างตรงไปตรงมา การรับฟังความเห็นต่างอย่างเปิดรับ การนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ เป็นต้น โดยพยายามหาพฤติกรรมที่หลากหลายที่สุดเท่าที่จะนึกออก และพูดคุยกันถึงว่าถ้ามีพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้น เราจะรับมือกับมันอย่างไรดีในเชิงบวก เพื่อเป็นการส่งเสริมในทั้งสองทาง เช่น ถ้ามีคนวิจารณ์งานของเรา จะตอบสนองว่า “ขอบคุณความที่ช่วยให้ฉันเห็นความผิดพลาดนี้ คุณพอจะมีไอเดียไหม ?” หลังจากที่ได้ลิสต์พฤติกรรม และการตอบสนองแล้วสามารถที่จะตีพิมพ์เป็นเอกสาร เพื่อใช้เป็น Ground Rules ในการประชุม หรือเอกสาร Onboarding พนักงานใหม่ได้ด้วย⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
🔰 ฝึกทำพฤติกรรมเหล่านี้ในการประชุม⁣⁣
⁣⁣
เมื่อเราได้ลิสต์เหล่านี้มาแล้ว สิ่งถัดมาที่สามารถทำได้คือในการประชุมครั้งถัดไปให้หยิบมาฝึกใช้กัน โดยอาจจะโฟกัสไปทีละรูปแบบ เพื่อให้ไม่ยากเกินไปที่ได้คอยสังเกตกันและกัน โดยสามารถที่จะเป็นการประชุมในหัวข้อใดก็ตามที่กำหนดไว้อยู่แล้ว เพียงแต่ให้ตกลงกันว่าเราจะมาลองทำฝึกพฤติกรรมเหล่านี้ พร้อมกับคอยสังเกต และเตือนกันเอง พร้อมถึงอาจจะมีรางวัลให้กับความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ได้ด้วย⁣⁣
⁣⁣
:::::::::::::::::::::⁣⁣
⁣⁣
ทั้งหมดนี้ก็เป็นมุมมองในฐานะของคนสร้างวัฒนธรรมองค์กรในด้านของ Agile โดยถ้าเราให้พนักงานเราไปแค่เครื่องมือ และกระบวนการ โดยไม่ปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานสุดท้ายแล้วความเปลี่ยนแปลงก็จะยากที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นการมองการสร้างวัฒนธรรมองค์กรควบคู่ไปกับการวางระบบงานจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการออกแบบให้มีวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อให้เกิด Psychological Safety ⁣⁣
⁣⁣
⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣
———–⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣
Corporate culture⁣⁣
Organizational culture⁣⁣
⁣⁣.
.

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
https://hbr.org/2022/02/agile-doesnt-work-without-psychological-safety
https://www.scrumalliance.org/ScrumRedesignDEVSite/media/Forbes-Media/ScrumAlliance_REPORT_FINAL-WEB.pdf

.
.

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search