หากจะเป็นเปลี่ยนวัฒนธรรม โปรดอย่าทำ 3 อย่างนี้

มาถึงจุดนี้ทุกท่านคงปฏิเสธไม่ได้ว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องที่ส่งผลสำคัญในการเติบโตขององค์กร จากการศึกษาของ KPMG พบว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรฝ่าฟันวิกฤติไปได้ทั้งในระหว่างและหลังจากยุค Covid-19 และ และคงปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าผู้นำคือคนสำคัญในการทำให้วัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้น มีความเติบโตงอกงาม หรือพังทลายไปต่อหน้าต่อตา ในยุคปัจจุบันผู้นำในหลายองค์กรให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์กรมากขึ้น มีการพูดถึงวัฒนธรรมองค์กรแม้ในการประชุมแบบ Virtual มากขึ้น หลายองค์กรใช้งบประมาณกว่า 60,000 บาทต่อพนักงานหนึ่งคนในเรื่องการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรผ่านการจ้างที่ปรึกษา การสำรวจ และการทำ Workshop ต่างๆ แต่จากการรายงานของ Gartner พบว่ามีเพียง 30% ขององค์กรที่ลงทุนได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า


Gartner ยังรายงานต่อว่าผู้นำหลายท่านใช้เครื่องมือผิดในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร เนื่องจากได้ทำการสำรวจกับพนักงานกว่า 7,500 คนและ 200 ผู้นำด้าน HR รวมถึงการทำ Focus Group เพื่อลงรายละเอียดอีกหลายรอบ และพบว่า 3 เรื่องนี้คือ Key Insights สำคัญที่องค์กรทำเพื่อให้เกิด Cultural Transformation แต่กลับพบว่าไม่ได้ส่งผลดีอะไร


เน้นการใช้ Buzzword สวยๆ


วัฒนธรรมองค์กรเป็น Soft Side ที่อธิบายเป็นคำพูดได้ยาก ผู้นำจึงมีแนวโน้มที่จะใช้คำที่เป็นกลางๆแต่มีพลังและสร้างแรงจูงใจเช่น High-Performing, Collaborative, Innovation, Customer-Focused, Result-Oriented หรือ Entrepreneurial แต่จากงานวิจัยของ Gartner พบว่า Buzzword เหล่านี้ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรเมื่อเปรียบกับองค์กรที่ไม่ได้ใช้คำเหล่านี้ ซึ่งจริงอาจทำให้เกิด Say/Do Gap เกิดขึ้น กล่าวคือสิ่งที่ผู้นำพูดกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงช่างไม่สอดคล้องกัน สิ่งที่งานวิจัยแนะนำคือวัฒนธรรมที่ควรเน้นคือจุดตัดกันระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและสิ่งที่เราอยากให้เกิด คำว่า Culture of Innovation อาจฟังดูแฟนซีเกินไปและพนักงานอาจมองไม่ออกเลยว่าเกี่ยวกับงานที่เขากำลังทำอยู่อย่างๆไร ดังนั้นแทนที่จะพูดย้ำแต่คำสั้นๆ ผู้นำควรขยายความคำว่า Innovation บ่อยๆว่า “เราสนับสนุน Culture of Innovation ในขณะที่เรายังมุ่งมั่นในการเติบโตและทำกำไรในธุรกิจที่เราทำอยู่” เป็นต้น


พึงพาข้อมูลจาก Survey เพียงอย่างเดียว


เป็นเรื่องยากที่จัดวัดมิติของมนุษย์ผ่านระบบชั่งตวงวัด เสมือนเอาเครื่องช่างน้ำหนักไปวัดสุขภาพของคนโดยรวมไม่ได้ การใช้เครื่องมือประเภท Employee Engagement Survey หรืออัตรา Turnover ของพนักงานเพื่อจะบอกอะไรๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรหรือแรงจูงใจของพนักงาน คงไม่เพียงพอ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการรวมตัวเลขและหาค่าเฉลี่ยจะให้ข้อมูลคร่าวๆมากเกินไปกับเรื่องสำคัญลำดับต้นๆขององค์กร Gartner แนะว่าควรเปิดโอกาสให้มีการเขียนตอบเชิงบรรยายมากขึ้นในแบบสำรวจ และที่สำคัญที่สุดคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม Psychological Safety ที่ทุกคนจะกล้าแสดงความคิดเห็นต่างๆได้ในทุกๆโอกาสโดยไม่ต้องหวั่นถึงผลที่จะตามมาหากสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อองค์กร


วัฒนธรรมเปลี่ยนแต่ระบบยังเหมือนเดิม  


องค์กรที่เป็น Collaborative Culture แต่ยังใช้การประเมินผลงานแบบ Forced Ranking ก็เป็นการขัดกันเพราะคนจะแข่งมากกว่าจะร่วมมือกันเพราะมีเพียงจำนวนคนที่จำกัดที่จะได้คะแนนดีๆและจำเป็นต้องมีคนที่ได้คะแนนต่ำๆ หรือองค์กรที่ประกาศตัวเป็น Customer-Centric แต่กลับจำกัดจำเขี่ยประมาณในการเดินทาง ทำให้ทีมขายไม่สามารถเดินทางไปพบลูกค้าได้บ่อยเท่าที่ควรจะเป็น การนำวัฒนธรรมองค์กรไปฝังอยู่ใน Operation เป็นสิ่งผู้นำให้ความสนใจน้อย แต่กลับสร้าง Impact สูงสุดในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กร การขับเคลื่อนเรื่องสำคัญขนาดนี้ แค่ผู้นำสื่อสารบ่อยๆ เป็นแบบอย่างในเชิงพฤติกรรม คงไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องผลักดันในเชิงโครงสร้างและนโยบายให้สอดรับ เพราะการพูดคุยหรือการเป็นแบบอย่างของผู้นำส่งผลถึงเพียงคนใกล้ชิดแวดล้อมแต่ไปไม่ถึงคนในระดับปฏิบัติการที่อยู่หน้างาน


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

.
.
>>>

ที่มาของบทความ

https://info.kpmg.us/news-perspectives/people-culture/culture-as-an-organizational-antidote-for-covid-19.html

https://hbr.org/2019/07/the-wrong-ways-to-strengthen-culture

https://www.gartner.com/en/human-resources/trends/3-culture-conversations-ceo-must-have-chro?utm_source=hbr&utm_medium=banner&utm_campaign=RM_GB_2019_HRL_NPP_BN1_THREE-CEO-HR-CULTURE

.
.
>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search