วัฒนธรรมของคุณให้ความสำคัญกับอะไร? เจาะลึกวัฒนธรรมองค์กร 4 ประเภท

วัฒนธรรมองค์กรของคุณ ให้ความสำคัญกับอะไรมากกว่ากัน…
ระหว่าง ความมั่นคง และ ความยืดหยุ่น ?
ระหว่าง เรื่องภายใน และ เรื่องภายนอกองค์กร?


ในระหว่างการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพ Performance และความสำเร็จขององค์กรในปี 1999 University of Michigan ได้ออกแบบ Competing Values Framework ที่แบ่งประเภทวัฒนธรรมองค์กรตามความสำคัญที่องค์กรให้ต่อความมั่นคง ความยืดหยุ่น และความสนใจต่อเรื่องภายในและภายนอก โดย Framework ดังกล่าว กลายเป็นฐานของเครื่องมือวัดวัฒนธรรมองค์กร (Organisational Culture Assessment Instrument หรือ OCAI) ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย


แต่ที่น่าสนใจไปกว่านี้คือ หลังจากนั้นเป็นต้นมา งานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมองค์กรต่างๆ มักใช้ Competing Values Framework นี้ เป็นตัวตั้งในการวิจัยวัฒนธรรมในด้านอื่นๆ เช่น การสื่อสาร ความสามารถที่จะปรับตัวแบบ Agile หรือแม้แต่ระบบการให้และคำนวนค่าตอบแทนให้พนักงาน


==================


Competing Values Framework แบ่งวัฒนธรรมองค์กรเป็น 4 ประเภท ดังนี้:


• Clan องค์กรมีความยืดหยุ่นสูง และ Focus เรื่องภายในองค์กรมากกว่าภายนอก
• Adhocracy องค์กรมีความยืดหยุ่นสูง และ Focus เรื่องภายนอกองค์กรมากกว่าภายใน
• Hierarchy องค์กรเน้นการควบคุมและ Focus เรื่องภายในองค์กรมากกว่าภายนอก
• Market องค์กรเน้นการควบคุมและ Focus เรื่องภายนอกองค์กรมากกว่าภายใน.


วัฒนธรรมทั้ง 4 ประเภทนี้ มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่ต่างกัน และมีความเหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรมที่ต่างกันด้วย A Cup of Culture ขอชวนทุกคนมาดูกันเลยว่า วัฒนธรรมของคุณ เป็นวัฒนธรรมแบบไหน


🔰 Clan Culture: “ไปด้วยกัน ไปได้ไกล”


ลักษณะเด่น: ความร่วมมือกัน การให้เกียรติซึ่งกันและกัน
Clan Culture คือวัฒนธรรมที่เน้นเรื่องคน ในฐานะ “ครอบครัวแสนสุข” ที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นทีม ให้คุณค่ากับทุกคนเท่ากันแนว Flat Organisation และเห็นการสื่อสารระหว่างกันเป็นเรื่องสำคัญ Clan Culture มักพบได้บ่อยในองค์กรที่มีขนาดกลาง-เล็ก, Startups, หรือในองค์กรที่ขึ้นชื่อด้านวัฒนธรรม อย่าง Zappos
ผู้นำแนว Clan Culture มักมาในรูปแบบของ Mentor ผู้พร้อมรับฟังและสนับสนุนทุกคนให้ไปถึงฝั่งด้วยกัน
ข้อดี คือ Clan Culture เป็นวัฒนธรรมที่มี Employee Engagement และความไว้ใจภายในสูง นอกจากนั้น ความยืดหยุ่นของวัฒนธรรมนี้ยังช่วยในการปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ไว
ข้อควรระวัง คือ วัฒนธรรมลักษณะนี้อาจประคับประครองต่อไปได้ยากเมื่อองค์กรเติบโต และ อาจทำให้บางครั้ง การบริหารทำงานดูไม่มีทิศทางหรือไม่ชัดเจน• วัฒนธรรมนี้สร้างได้ ผ่านการให้ความสำคัญกับพนักงานอย่างแท้จริง เช่น การสื่อสารที่เปิดเผยและชัดเจน การทำความเข้าใจกับเหล่าพนักงานในฐานะเพื่อนมนุษย์และสร้างการทำงานที่สอดคล้องกับคุณค่าส่วนบุคคล และกระบวนการให้ Feedback กันและกันอย่างเปิดกว้างในทุกระดับ


อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Employee Engagement และวัฒนธรรม 4 ประเภทได้ที่นี่: https://www.brightsidepeople.com/en/วัฒนธรรมองค์กรแบบไหน-จ-2/.


🔰 Adhocracy Culture: “ลุยก่อน เสี่ยงก่อน ได้เปรียบ”


ลักษณะเด่น: ความเป็นนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์
Adhocracy Culture คือวัฒนธรรมที่เน้นเรื่องไอเดีย ความสร้างสรรค์ และความเป็นนวัตกรรม ซึ่งแน่นอนว่าความเป็นนวัตกรรมนี้ จะมาควบคู่กับความเสี่ยงที่ Adhocracy Culture พร้อมน้อบรับ วัฒนธรรมเช่นนี้ให้คุณค่ากับความเป็นเอกลักษณ์ระดับบุคคล ที่จะเป็นที่มาของไอเดียที่แตกต่างหลากหลาย และจะตอบโจทย์การพัฒนาธุรกิจในที่สุด
ผู้นำแนว Adhocracy Culture มักมาในรูปแบบของ Experimenter ผู้กล้าลอง กล้าลุย และกล้าท้าทายคนในองค์กรให้ลองและลุยไปด้วยกัน
ข้อดี คือ Adhocracy Culture สามารถสร้าง Employee Engagement ผ่านเป้าหมายในการ “ทำสิ่งแปลกใหม่” ที่จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ละการพัฒนาวิชาชีพได้เสมอ นอกจากนี้ องค์กรที่มีที่ Adhocracy Culture เช่น Facebook หรือ Google มักเป็นองค์กรที่โด่งดังและทำกำไรได้สูง
ข้อควรระวัง คือ วัฒนธรรมลักษณะนี้จะมีความแข่งขันภายในที่สร้างแรงกดดันต่อพนักงานอย่างสูง และองค์กรยังต้องพร้อมรับความเสี่ยงที่มากับไอเดียที่ “นำหน้า” ตลาดอีกด้วย
• วัฒนธรรมนี้สร้างได้ ผ่านการเปิดโอกาสให้พนักงานร่วมกันะดมไอเดียหรือคิดแผนกลยุทธ์ผ่านเวิร์คช็อปหรือระบบการ Brainstorm อื่นๆ และการให้รางวัลไอเดียดีๆ ใหม่ๆ ซึ่งจะเหมาะกับองค์กรที่พร้อมรับมือกับกลยุทธ์ธุรกิจแบบ High-Risk เป็นพิเศษ.


🔰 Market Culture: “เรามาเพื่อชนะลูกเดียว”


ลักษณะเด่น: การแข่งขัน มุ่งสู่ผลลัพธ์
Market Culture คือวัฒนธรรมที่เน้นผลลัพธ์และการสร้างกำไร วัฒนธรรมลักษณะนี้ตั้งเป้าหมายให้ทุกบทบาทอย่างชัดเจน และทุกบทบาทจะสอดคล้องต่อเป้าหมายใหญ่ขององค์กร เพื่อมุ่งสู่การเติบโตในตลาด ซึ่งทำให้องค์กรที่มี Market Culture มีความคาดหวังต่อพนักงานสูง และมีระบบติดตาม Performance ของพนักงานอย่างใกล้ชิด ซึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็น Industry Leader เช่น Amazon และ Apple (โดยเฉพาะในยุคของ Steve Jobs) มักจะมีวัฒนธรรมเช่นนี้
ผู้นำแนว Market Culture มักมาในรูปแบบของ Goal-Oriented Victor ผู้มีความคาดหวังสูง ที่จะผลักดันทีมให้คงมาตรฐานอันเลิศขององค์กร
ข้อดี คือ เป้าหมายที่ชัดเจนของ Market Culture ช่วยให้พนักงานทุกคนทำงานเพื่อมุ่งไปในทิศทางเดียวกันและสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนั้น การ Focus ที่เรื่องภายนอกองค์กรยังช่วยให้วัฒนธรรมลักษณะนี้สามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงในตลาดได้ไวอีกด้วย
ข้อควรระวัง คือ องค์กรที่มี Market Culture มักมาพร้อมกับวิธีการทำงานที่ทำให้ทุกการตัดสินใจผูกติดกับตัวเลขเป็นหลัก ซึ่งเมื่อรวมกับแรงกดดัน อาจทำให้พนักงานเครียด ไม่รู้สึก Engage กับงาน และ Burn Out ได้ในที่สุด
• วัฒนธรรมนี้สร้างได้ ผ่านการประเมินและคำนวนว่าแต่ละบทบาทในองค์กรมี Return of Investment ขนาดไหน การตั้ง Milestone ที่ชัดเจน และการให้รางวัลกับเหล่า Top Performance ขององค์กร


🔰 Hierarchy Culture: “ทำให้ดีและถูกต้อง”


ลักษณะเด่น: การควบคุม โครงสร้างที่แข็งแรง
Hierarchy Culture คือวัฒนธรรมที่เน้นการควบคุมและการทำงานตามโครงสร้างใน Day-to-Day วัฒนธรรมลักษณะนี้จะมีระบบสายการบังคับบัญชาและกฎกติตาที่ชัดเจน ที่ให้คุณค่ากับความมั่นคง ความสม่ำเสมอ และการเป็นแบบหนึ่งเดียวกันที่ตรวจสอบกันได้ เช่นหน่วยงานรัฐ หรือธุรกิจเครือใหญ่อย่าง McDonald’s
ผู้นำแนว Hierarchy Culture มักมาในรูปแบบของ Monitoring Ruler ผู้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ และให้คุณค่ากับความสามารถที่จะคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้าได้
ข้อดี คือ ทิศทางขององค์กร และกระบวนการทำงานที่ชัดเจนของ Hierarchy Culture สามารถช่วยให้พนักงานคงมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ และดำเนินงานเพื่อตอบโจทย์กับเป้าหมายใหญ่ขององค์กรได้
ข้อควรระวัง คือ ความแข็งแกร่งของโครงสร้างภายในจะไม่เปิดโอกาสให้ความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียใหม่ๆ ซึ่งทำให้อาจปรับตัวตามตลาดไม่ทัน
• วัฒนธรรมนี้สร้างได้ ผ่านการสร้างกระบวนการ ระบบ และนโยบายการทำงานที่ชัดเจนและแข็งแรงขึ้น การ “ปิด Gap” ในสายการบังคับบัญชา และการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวในทุกระดับขององค์กร


==================


องค์กรหนึ่ง อาจไม่ได้มีวัฒนธรรมเพียงประเภทเดียว แต่อาจมีลักษณะของหลายประเภทผสมผสานกัน (เช่น Google ที่เป็นทั้ง Clan และ Adhocracy Culture) อย่างไรก็ตาม ในการปรับและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร หนึ่งในขั้นตอนที่จะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น คือการระบุว่าวัฒนธรรมในปัจจุบันเป็นอย่างไร และเป็นประเภทใด เพื่อที่องค์กรจะได้มีจุดตั้งต้นในการออกแบบแนวทางในการเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกจุดและชัดเจน.


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

.
.
>>>>>

.

แหล่งที่มาของข้อมูล:

https://builtin.com/company-culture/types-of-organizational-culture

https://www.runmeetly.com/four-types-organizational-culture

https://blog.vantagecircle.com/types-of-organizational-culture/

4 Distinct Types of Corporate Culture—Which Is Yours?

.
.

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.