ลดแรงต้านการเปลี่ยนแปลง ด้วยกลไกลสำคัญของ Change Agent


เมื่อ Change Agent เข้ามามีบทบาทในการเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ในองค์กร  สิ่งที่ Change Agent ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ “การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง” โดยเฉพาะหากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อกระบวนการ หรือวิธีการทำงาน อย่างเช่น การไปสู่องค์กรบริหารจัดการแบบลีน (Lean Management Transformation) คนกลุ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบที่สุดคือ กลุ่มคนที่อยู่ในส่วนดูแลลูกค้า (Frontline) ขององค์กร ซึ่งในที่สุดเป็นเป็นคนหลักของกระบวนการใหม่ที่จะเกิดขึ้น อาจมองว่าระบบที่เข้ามาใหม่นั้นเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และเกิดการต่อต้านอย่างไม่รู้ตัว


เพื่อให้สามารถข้ามผ่านการต่อต้านเหล่านั้นได้ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องเข้ามาผลักดันให้ โปรแกรม Change Agent เป็นที่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญในการผลักดันให้สามารถดำเนินกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่น โดยสื่อสารอย่างจริงจัง และสนับสนุนนโยบายให้เกิดการทำงานระหว่าง Change Agent และหัวหน้างานทั้งหมดขององค์กร  


โดยองค์กรควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสมดุลความใกล้ชิดและระยะห่าง ระหว่าง Change Agent กับคนในกลุ่มพนักงาน โดยให้เกิดการจัดสรรเวลาอย่างน้อย 50% ของเวลาของทำงานประจำทั้งหมดของ Change Agent ในการลงไปหน้างาน เพื่อสร้างสัมพันธ์กับพนักงานแต่ละส่วนงาน เพราะการพูดคุยพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เป็น พนักงาน Frontline ได้เป็นอย่างดี


ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการช่วยสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ระหว่าง change agent และพนักงาน Frontline ให้มีระยะห่างที่เหมาะสม จึงต้องมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น พนักงาน Frontline ต้องการความมั่นใจว่า  change agent ไม่ได้ขึ้นตรงต่อหัวหน้างานของเขา Change Agent จึงปกป้องไม่ให้พวกเขาต้องรับงานมากเกินไป เพื่อให้มีเวลาบางส่วนมาทำกิจกรรมการเปลี่ยนแปลง หรือ ทำให้รับรู้ว่าผลกระทบต่างๆที่เกิดจากโครงการไม่ได้ส่งผลต่อการประเมินผลงานส่วนตัว


ดังนั้น  Change Agent จะต้องมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อความสำเร็จ หรือความคืบหน้าต่างๆของโครงการที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน


และโปรแกรมที่ดีที่ที่สุด ควรจะมีการส่งเสริมด้วยกระบวนการที่เป็นทางการ เพื่อให้มั่นใจว่า Change Agent และ หัวหน้างาน จะทำงานสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยส่งเสริมให้หัวหน้างานเข้าร่วมการเรียนรู้ในโครงการการเปลี่ยนแปลง และมีบทบาทในการเป็นพันธมิตรร่วมกับ Change Agent โดยพบปะเพื่อพูดคุยกันเป็นประจำถึงความคืบหน้าและร่วมกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค


สุดท้าย ระหว่างที่โครงการการเปลี่ยนแปลงกำลังดำเนินอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดการพึ่งพา Change Agent ที่มากเกินไป  องค์กรควรพยายามลดบทบาทของ Change Agent อย่างเป็นทางการลง  เพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละส่วนงานจะรับผิดชอบในการพัฒนาและปรับปรุงงานในส่วนของตนเองได้อย่างเต็มที่

.
.
A Cup of Culture


.
.
แหล่งที่มาข้อมูล:

https://www.mckinsey.com/business-functions/operations/our-insights/the-change-agent-challenge

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search