ปรับมุมมองเกี่ยวกับคน GenZ ในที่ทำงาน


กระแสเรื่องช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ดูจะเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน คำถามที่น่าสนใจคือ “ทำไมคนต่างวัยถึงคิดต่างกัน? บทสัมภาษณ์ของคุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer ของบริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ช่องว่างระหว่างวัยนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความแตกต่างของอายุเป็นหลัก แต่เป็นเรื่องของ Pre-perception ของคนนั้นว่ามีมากน้อยแค่ไหนต่างหาก” (Pre-perception คือ การใช้ชุดความคิดความเชื่อจากบริบทเดิมของตนเองมาตัดสินหรือมองโลกในปัจจุบัน)


เมื่อมองในแง่ขององค์กรการทำงาน คนรุ่นใหม่อย่าง GenZ ก็ก้าวเท้าเข้าสู่ตลาดแรงงานในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ก็มาพร้อมกับจำนวนเสียงบ่นและความไม่เข้าใจเกี่ยวกับคนเจนนี้ที่เพิ่มมากขึ้นไปด้วย เช่น “เด็กเจนนี้สนใจแต่ตัวเอง…” “อะไรๆ ก็จะเอาแต่เงิน…” “พูดเตือนอะไรก็ไม่สนใจฟัง…” เป็นต้น

คำถามคือ “มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ใช่ไหม… หรือมันเป็นเพียง Pre-perception ของคนผู้นั้น เท่านั้น…!?


::::::::::::::

บทความจาก Fast Company ได้สรุปผลการศึกษากลุ่มคน GenZ อายุระหว่าง 18-24 ปี จำนวน 500 คน ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อค้นหาสิ่งที่คน GenZ ต้องการอย่างแท้จริง และวิธีที่องค์กรสามารถทำเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน ค่าตอบแทน และสวัสดิการต่างๆ ที่ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้ …ข้อสรุปแรกที่ต้องเคลียร์ความเข้าใจ คือ “คน GenZ มีความคาดหวังที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนมาก และพวกเขาไม่เหมือนคน GenY!” ซึ่งผลสรุปทั้ง 3 ข้อมีดังนี้


1) ค่าตอบแทนไม่ใช่ทุกอย่าง!


– ประเด็น 3 อันดับแรกที่คน Gen Z ให้ความสำคัญและมีความต้องการมากกว่า 51% คือ การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต (mental health support)

– มากกว่าร้อยละ 61 ระบุว่า การได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลและสวัสดิการที่ยุติธรรมก็ถือว่าตอบโจทย์ชีวิตเขาแล้ว

– ส่วนการทำงานระยะไกล หรือแบบ Remote Work ที่เรามักคิดว่าเป็นสิ่งที่คนเจนนี้ต้องการ การศึกษากลับพบเพียง 34% ที่คิดการทำงานจากระยะไกลให้ประโยชน์กับเขา และน้อยกว่า 30% ที่ต้องการทำงานแบบ Remote Work


บทสรุป — เห็นได้ชัดว่า Gen Z ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตที่ดี (mental health) และสุขภาพกายที่แข็งแรง (wellness) มาเป็นอันดับต้น ส่วนค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลและสวัสดิการที่ยุติธรรมเป็นเรื่องรอง…


2) สมดุลของชีวิตและงานคือสิ่งที่ต้องการ!


– เมื่อคน Gen Z พูดถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต พวกเขาไม่ได้หมายความถึง “การดูแลตนเองแบบทั่วๆไป แต่คือการดูสุขภาพจิตที่มีพื้นฐานทางการแพทย์

– และสิ่งที่เขาต้องการคือ ความชัดเจนของวันลาป่วย (ที่ไม่ใช่การเอาวันลาพักร้อนมาใช้) การลาป่วยแบบยังได้รับค่าตอบแทนอยู่ หรือสวัสดิการด้านสุขภาพจิต เช่น การบำบัด การปรับสมดุล หรือการพบจิตแพทย์


บทสรุป — การได้ทำงานกับองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความอยู่ดีมีสุขของพนักงาน รวมทั้งความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตของตนเอง สิ่งที่จะทำให้คน Gen Z  ถอยหนีคือ การทำงานล่วงเวลาโดยไม่จำเป็น ผู้นำที่เป็น Toxic เพื่อนร่วมงานที่เป็น Toxic การล่วงละเมิด และการเลือกปฏิบัติ


3) ไม่ต่อต้านการทำงานแบบเดิม แค่มองหาองค์กรที่เปิดกว้าง!


– คน Gen Z ไม่ได้ต่อต้านรูปแบบการทำงานแบบดั้งเดิม พวกเขาแค่ต้องการให้บริษัท ลองใช้เวลาในการทำความเข้าใจว่าคน Gen Z “ให้ความสำคัญกับอะไร” “และทำไมถึงให้ความสำคัญเรื่องนี้” เพื่อออกแบบวิธีการทำงานที่ตอบสนองความคาดหวังของคน

– และสิ่งที่คน Gen Z กำลังเรียกร้องไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ส่วนตน แต่เพื่อผลประโยชน์ของทุกคนในทีม และพวกเขาเต็มใจที่จะเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน


บทสรุป — คน Gen Z ไม่ได้เป็นเจเนอเรชันที่หลีกหนีการทำงานหรือลาออกจากองค์กรแบบเดิม แต่พวกเขาเลือกงานหรือองค์กรที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ ยืดหยุ่น และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับคนทำงานมากกว่า


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://creativetalklive.com/generation-gap/
https://www.fastcompany.com/90701036/leaders-you-have-no-idea-what-gen-z-wants-at-work-here-are-the-myths-busted
arm
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search