บริหารใจพนักงานในองค์กร ด้วยแนวทางใหม่ Reflection Recognize


เราทราบกันดีกว่าการแสดงออกให้พนักงานเห็นว่าเรารับรู้คุณค่าที่เขาสร้างให้กับองค์กรนั้นคือพื้นฐานของการดึงให้คนเก่ง ๆ อยู่ในองค์กร และเพิ่มโอกาสการเติบโตทางธุรกิจของเรา แต่แม้ว่าผู้จัดการหลาย ๆ คนล้วนมีความตั้งใจที่จะแสดงออกซึ่งการเห็นคุณค่านี้ ความยากของมันคือการที่บางครั้งสิ่งที่เราเห็นและชื่นชม กับสิ่งที่พนักงานพยามทำนั้นเป็นคนละอย่างกัน และนั่นอาจนำมาซึ่งผลลัพท์ในทางตรงกันข้ามกับที่คาดหวังได้


เพราะทุกคนล้วนมีความต้องการที่จะให้ความพยายามในทุก ๆ ด้านถูกเห็นค่า โดยเฉพาะในด้านที่มองเห็นได้ยาก เช่น ความพยายามนอกเวลางาน การต้องทำงานกับลูกค้าที่คุยยาก ๆ หรือก็มีคนอีกประเภทที่ทำงานได้ดีและรวดเร็วจนเราอาจจะหาจังหวะมาพูดคุยถึงความสำเร็จไม่ค่อยได้ นั่นก็นำมาสู่สาเหตุของการ burnout ได้เช่นกัน


และเมื่อโจทย์ของเราคือทำอย่างไรเราถึงจะสามารถพูดคุยกับพนักงานถึงความสำเร็จที่พวกเขาสร้างไว้ทั้งในด้านที่มองเห็นได้ และมองเห็นไม่ได้ พร้อมกับช่วยให้พนักงานอยู่กับปัจจุบัน และมองเห็นถึงความคืบหน้าของตัวเองโดยไม่ burnout ไปก่อน เครื่องมือที่เรียกว่า Reflection recognition ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ตอบโจทย์อย่างมาก และมี 3 ขั้นตอนที่พร้อมให้นำไปใช้ได้ทันทีดังนี้


🟡 Invite them to share.


ขั้นแรกคือการส่งเสริมให้พนักงานแชร์เรื่องเกี่ยวกับความภาคภูมิใจของตัวเอง พร้อมกับเหตุผล โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการพูดคุยกันในต้องประชุม หรือนัดเป็นพิเศษ แต่สามารถใช้ได้กับทุก ๆ โอกาสที่ได้คุยกัน โดยสามารถใช้คำถามในลักษณะในลักษณะไม่ทางการ เช่น

▫️ ไม่ได้คุยกันนานเลย มีงานอะไรที่ทำอยู่ตอนนี้แล้วภูมิใจอยากเล่าให้ฟังบ้างไหม
▫️ มีประเด็นไหนของงานที่ทำที่อยากให้คนอื่นมองเห็นบ้างไหม
▫️ ตอนนี้มีงานไหนที่กำลังตื่นเต้นอยู่บ้าง
▫️ ช่วงนี้งานที่ยากที่สุดที่ทำอยู่คืออะไร และกำลังรับมือกับมันอย่างไร


และที่สำคัญคืออย่าแปลกใจที่ครั้งแรกมันจะรู้สึกแปลก ๆ หรือพนักงานดูงง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น สิ่งสำคัญคือตราบใดที่เราถามนั่นหมายถึงเราเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เล่าเรื่องราวเหล่านี้ และเมื่อเราทำบ่อย ๆ มันก็จะกลายเป็นเรื่องปกติ หรือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรไปเอง อย่างไรก็ตามแน่นอนว่าหลาย ๆ ครั้งเราก็จะได้คำตอบกว้าง ๆ เช่น “ทุกอย่างน่าตื่นเต้นไปหมด” หรือ “ไม่ค่อยมีอะไรยาก” นั่นทำให้ขั้นตอนต่อไปนั้นสำคัญไม่แพ้กัน


🟡 Probe positively


มนุษย์เรามักจะมีแนวโน้มที่จะลดค่าความสำเร็จตัวเอง และขยายความผิดพลาดให้ใหญ่ขึ้น ในฐานะผู้นำแล้วเราสามารถช่วยให้ทีมงานของเราลงลึกให้มากขึ้นเกี่ยวกับความสำเร็จ ด้วยคำถามเหล่านี้

▫️ คุณทำ xxxx ให้มันเกิดขึ้นได้ได้อย่างไร
▫️ กว่าจะเสร็จได้นี่ต้องอาศัยอะไรบ้าง
▫️ มีอะไรที่น่าสนใจที่ได้เรียนรู้จากมันบ้าง


ในขณะที่ทีมงานแชร์เรื่องราวเหล่านี้ แนวโน้มคือพวกเขาจะเล่าถึงเรื่องที่สำคัญ ๆ สำหรับพวกเขาตั้งแต่กำแพงที่ต้องฝ่าไป การเสียสละที่ต้องทำ หรืออุปสรรคที่ต้องสู้เพื่อให้มันสำเร็จได้


🟡 Reflect back.


และสุดท้ายนี้คือหลังจากที่ทีมงานของเราได้แชร์แล้ว ก็เป็นตาของเราที่จะต้องสะท้อนเรื่องราวเหล่านั้นกลับไปบ้าง โดยอาจจะพูดง่าย ๆ เช่น “ขอบคุณที่เล่าให้ฟัง เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าต้องพยายามขนาดนี้” หรือ “ขอบคุณที่เล่าให้ฟัง สุดยอดเลย”


และบางครั้งที่เราอาจจะไม่ค่อยได้คุยประเด็นเหล่านี้บ่อย ๆ หรือยังรู้สึกว่าพนักงานนั้นยังดูสับสน สิ่งที่ช่วยให้บทสนทนาดีขึ้นได้คือการทวนรายละเอียดบางอย่างในเรื่องราวที่พวกเขาเล่ากลับไป เพื่อให้เห็นว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูด และช่วยขยายความสำเร็จเหล่านั้นให้ชัดขึ้นกับผู้เล่า


ทั้งหมดนั้นคือ 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ที่พร้อมให้เรานำไปปรับใช้เพื่อให้การทำ employee recognition มีความหมายกับพนักงานมากกว่าแค่การแจกรางวัล หรือให้คำชมแบบกลาง ๆ ที่อาจจะเป็นวิธีที่รู้สึกแปลก ๆ ในตอนแรก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเห็นคุณค่ากันและกัน และกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเรื่องเวลาผ่านไป


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.

References:
https://hbr.org/2019/10/how-to-give-and-receive-compliments-at-work
https://hbr.org/2022/10/a-better-way-to-recognize-your-employees?ab=hero-main-text
 The Perfectionism Detox by Petra Kolber

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search