ทำ Hybrid Workplace ให้เวิร์คกับเรากันเถอะ

การทำงานแบบ Hybrid สามารถเป็นได้ทั้งสิ่งดี และเป็นฝันร้ายสำหรับองค์กร แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องยอมรับว่า Hybrid จะไม่หายไปไหน ดังนั้นคำถามไม่ใช่ Hybrid มันดีกับเราหรือไม่ แต่คือเราจะทำอย่างไรได้บ้างให้ Hybrid ดีกับเรา⁣

การทำงานแบบ Hybrid เปิดโอกาสให้พนักงานได้ทำงานอย่างยืดหยุ่น และมีความสะดวกสบายของที่บ้าน และก็ยังสามารถเกิดปฏิสัมพันธ์ในเวลาที่มาเจอกันที่ทำงาน เรียกได้ว่าเป็นการดึงข้อดีของทั้งออฟไลน์ และออนไลน์เข้ามาด้วยกัน แต่ถ้าองค์กรเลือกที่จะยึดติดกับรูปแบบการทำงานเดิม ๆ โดยหวังว่าโลกจะไม่เปลี่ยนไป และหวังว่าสักวันจะได้กลับสู่ระบบเดิม องค์กรอาจจะพลาดโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากรูปแบบการทำงานแบบนี้ และด้วยการนำนโยบายที่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ มาใช้ อาจจะทำให้แทนที่ Hybrid Work จะโอกาสที่ดี กลายมาเป็นฝันร้ายได้เช่นกัน⁣

นั่นเป็นเพราะคำว่า Hybrid ไม่ใช่ตัวแทนของการทำแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือทางแก้ปัญหาชั่วคราวในระหว่างที่รอให้เข้าออฟฟิศได้ แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างตั้งใจ โดยที่ต้องมองย้อนกลับไปพิจารณาในทุก ๆ ส่วนของวัฒนธรรมองค์กร พร้อมกับต้องอาศัยการทดลอง และปรับแต่งไปมาหลาย ๆ ครั้ง และทำให้ผลลัพท์สุดท้ายที่ดีกับองค์กรที่สุด โดยในการเริ่มต้นก็มี 4 Mindset ที่ต้องปรับก่อนที่เราจะออกแบบวัฒนธรรมองค์กรแบบ Hybrid ได้อย่างมีประสิทธิภาพ⁣

:::::::::::::::::::⁣

🔴 1. From Culture by Chance to Culture by Design⁣

หลาย ๆ ที่มีความเชื่อว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และนั่นทำให้หลาย ๆ องค์กรกลัวว่าวัฒนธรรมจะแย่ลงถ้าคนไม่ได้เข้าออฟฟิศ⁣

แต่ในความเป็นจริงวัฒนธรรมองค์กรคือสิ่งที่ออกแบบได้ และควรออกแบบอย่างตั้งใจ เพราะวัฒนธรรมองค์กรที่ประสบความสำเร็จไม่เคยเกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ แต่ล้วนได้รับการออกแบบ และพัฒนาอย่างใส่ใจทั้งสิ้น ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดคือ Netflix ทีผ่านการลองผิดลองถูกอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีจนเป็นได้อย่างทุกวันนี้⁣

สโลแกนของเพจเราที่พูดบ่อย ๆ คือ “ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตามวัฒนธรรมองค์กรก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี” และในสภาวะ Hybrid ที่ทีมงานแต่ละคนได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างมากการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมองค์กรแบบที่ไม่ได้ตั้งใจนี้คือความเสี่ยงที่องค์กรสามารถที่จะยอมรับได้ยิ่งกว่าเดิม⁣

และแม้วัฒนธรรมองค์กรจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าเราต้องทำให้มันไร้ที่ดิตั้งแต่แรก เพราะ trial-and-error mindset ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะ Remote work เป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับทุก ๆ คน และยังคงมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาจึงไม่มีใครมีคำตอบสุดท้ายให้ว่ามันควรเป็นอย่างไร ดังนั้นการให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อออกแบบวัฒนธรรมองค์กรแบบ Hybrid ร่วมกันจึงเป็นส่วนสำคัญของการลองผิดลองถูกนี้⁣

ตัวอย่างเช่นที่ GitLab พนักงานทุกคนสามารถปรับแก้ไข Core Values ขององค์กรได้ โดยที่พวกเขาได้รับการกระตุ้นให้นำเสนอไอเดียเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรเรื่อย ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้แม้แต่คนที่ไม่ใช่พนักงานสามารถ Tweet หา CEO ได้ถ้ามีอะไรอยากเสนอ เพราะเขามองว่าการออกแบบวัฒนธรรมองค์กรไม่ใช่การวางเส้นทางให้กับพนักงาน แต่มันคือการกำหนดโครงสร้างไว้ และให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแต่งเติมใส้ในผ่านการนำเสนอไอเดีย และแก้ไขปรับปรุง⁣


🔵 2. From Input to Impact⁣

ก่อนหน้านี้มันง่ายที่องค์กรจะให้ความสำคัญของ Input ที่พนักงานให้ เช่น เวลาเข้างาน เวลาการทำงาน หรือการอยู่วิธีการทำงานมากกว่าผลลัพท์ นั่นทำให้เรามีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Busy Culture เกิดขึ้น คือการที่พนักงานพยายามทำตัวให้ดูยุ่ง เพื่อให้มีคุณค่าในที่ทำงาน⁣

แต่ในสภาวะของ Hybrid Work องค์กรหลายแห่งยังคงพยายามมองหาตัวช่วยที่จะยืนยันได้ว่าพนักงานของพวกเขาตั้งใจทำงานจริง ๆ หรือใช้เวลาไปกับการทำงานเยอะแค่ไหน และนั่นก็หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำงานที่บ้านกลายเป็นฝันร้ายของหลาย ๆ ที่⁣

แต่ในการที่จะแก้ปัญหาจริง ๆ นั้นไม่ใช่การพยายามสอดส่องพนักงานแต่มันคือการปรับเปลี่ยนความสำคัญจาก Input มาเป็น Impact เพราะนี่คือเวลาที่ดีที่องค์กรควรจะเลิกให้รางวัลกับความ’ยุ่ง’ หรือการทำงานหนัก แต่กลับมาโฟกัสในเรื่องของเป้าหมาย และผลลัพท์แทน โดยหนึ่งในเครื่องมือที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมนี้ก็คือ OKR ที่หลาย ๆ องค์กรเริ่มนำไปปรับใช้ตั้งแต่ก่อนยุค Remote และก็ยิ่งเป็นประโยชน์ในยุคนี้⁣


🔴 3. From Work-life (Im)balance to Work-Life Integration⁣

หลาย ๆ คน รวมไปถึงหลาย ๆ องค์กรต่างพยายามที่จะแยกชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวออกจากกัน แต่คำว่า work-life balance กลับกลายเป็นเหมือนสิ่งที่ไม่เคยได้สัมผัสกันจริง ๆ และยิ่งเราตามหามันมากเท่าไหร่มันก็ยิ่งยากที่จะเจอ⁣

ยุคของการติดต่อสื่อสารที่มันง่าย และรวดเร็วนั้นได้มีส่วนในการทำลายขอบเขตระหว่างการทำงาน และชีวิตส่วนตัวไปเรียบร้อยแล้ว และยิ่งช่วงการระบาดของโควิดเส้นแบ่งนี้ก็ได้หายไปโดยสิ้นเชิง เพราะตลอดสองปีที่ผ่านมาหลาย ๆ คนก็ทำงานไปพร้อม ๆ กับกิจวัตรส่วนตัวไปแล้ว⁣

ดังนั้นความคิดนึงที่ต้องเปลี่ยนไปคือการที่เราต้องหยุดสู้กับความเป็นจริง ความเป็นจริงที่งานและชีวิตคือสิ่งเดียวกัน และพยายามป้องกันไม่ให้ครอบครัวมาขัดจังหวะการทำงาน แต่ยอมรับและปรับตัวดังเช่นที่ GitLab ก็มีสิ่งที่เรียกว่า Juice Box แชท คือการที่พวกเขาเชิญชวนสมาชิกในบ้านของพนักงานมาพูดคุยกันในหัวข้อต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น เลโก้ ซุปเปอร์ฮีโร่ เกมส์ หรือแคมป์ปิ้ง เพราะที่ GitLab เขาเชื่อว่าการยอมรับความเป็นจริงนี้แทนที่จะพยายามสร้างกำแพงกั้นโลกสองใบนี้จะช่วยให้ที่ทำงานมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น และยืดหยุ่นได้มากขึ้น⁣


🔵 4. From Synchronous to Asynchronous Collaboration⁣

หนึ่งในความผิดพลาดของหลาย ๆ องค์กรเมื่อก้าวสู่ความ Hybrid คือการเอาวิธีการทำงานเดิม ๆ มาเปลี่ยนให้เป็นออนไลน์ โดยรูปแบบการทำงานร่วมกันที่เชื่อว่าเราต้องทำงานไปพร้อม ๆ กันเท่านั้น และนำมาซึ่งตาราง Zoom ที่ไม่จบไม่สิ้น และการนัดหมายไม่ทั้งสัปดาห์ก็จุไม่พอ⁣

รูปแบบการทำงานเดิม ๆ เราเป็นไปด้วยการทำงานแบบ synchronous หรือทำไปพร้อม ๆ กัน การหารือตั้งนัดประชุมและพูดคุยไปพร้อม ๆ กัน ทำงานส่งงานคุยก็ต้องทำทันที เพราะอีกฝ่ายกำลังรออยู่ โดยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญว่ารอบ ๆ ตัวมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง⁣

แต่รูปแบบการทำงานแบบ Asynchronous นั้นอาจจะตอบโจทย์ในยุคนี้มากกว่าในการสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน โดยที่ CEO ของ Doist เล่าว่าการทำงานแบบ Asynchronous นั้นทำให้พนักงานของเขาคิดก่อนพิมพ์มากขึ้น และสร้างบรรยากาศที่ใจเย็นกว่าเดิม โดยที่พนักงานสามารถกำหนดเวลาทำงานเองได้ และไม่โดนกดดันให้ต้องรีบตอบทันที พร้อมกับมีเวลาให้คิดก่อนที่จะตอบมากขึ้น และผลลัพท์คือการทำงานร่วมกันที่ดีกว่าเดิม และผลลัพท์ที่ดีกว่าเดิม เพราะคนมีเวลาที่จะคิดทบทวน และนำเสนอมันอย่างตั้งใจ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาประชุมใด ๆ ⁣

::::::::::::::::::⁣

วัฒนธรรมองค์กรแบบ Hybrid เป็นโจทย์ยากของหลาย ๆ องค์กร และเป็นโจทย์ที่อาศัยความตั้งใจอย่างมากในการเรียนรู้ ทดลอง และปรับแก้ และในที่สุดแล้วองค์กรที่จริงจังกับเรื่องวัฒนธรรมองค์กรจริง ๆ ก็จะสามารถแก้โจทย์นี้ได้ และ เนื้อหาข้างต้นรวมถึงบทความอื่น ๆ ที่ทาง A Cup of Culture เราได้รวบรวมมาให้ตลอดที่ผ่านมาก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่องค์กรจะได้ใช้พยายามออกแบบวัฒนธรรมองค์กรของตัวเองในแบบที่ตั้งใจไว้ เพราะสุดท้ายสิ่งหนึ่งที่เราเชื่อจริง ๆ คือการที่ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาตั้งใจสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เราอยากให้เป็นกันล่ะ…⁣


A Cup of Culture⁣
———–⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣
Corporate culture⁣
Organizational culture⁣
⁣.
.

Sources:
https://hbr.org/2022/03/what-great-hybrid-cultures-do-differently
https://www.fearlessculture.design/blog-posts/5-shifts-to-build-a-strong-hybrid-work-culture?utm_source=dlvr.it&utm_medium=linkedin
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search