ทำ 5 ข้อนี้ สามารถบริหารเจ้านายได้อยู่หมัด

ย้อนกลับไปวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งเป็นวิกฤตของโลกล่าสุดที่กระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งโลก โดยการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษารายใหญ่ในสมัยนั้นอย่าง Booz & Company  (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของ PWC) ได้ทำการสำรวจผู้จัดการอาวุโสมากกว่า 800 คนในปี 2008 ปีที่เหตุการณ์ได้เกิดสดๆร้อนๆและเริ่มส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอย ผลจากการศึกษาพบว่ามีผู้จัดการเกือบ 50% ที่ไม่แน่ใจในความสามารถของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรของตัวเองว่าจะพาองค์กรฝ่าวิกฤตและสามารถฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิม
.
.

และนี่เป็นเหตุให้เกิดภาพที่เหล่าผู้จัดการต้องออกมาทำงานเกินขอบเขตของตัวเองเพื่อจะไปทำงานบางส่วนแทนผู้บริหารของตนเพื่อให้ผ่านวิกฤตไปได้แม้หลายๆ คนยังไม่มีความพร้อม การบริหารงานจึงไม่ใช่เพียงการบริหารทีมงานของเราเองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการบริหารจากล่างขึ้นบน (Managing Up) ซึ่งหากทำได้ดี ผู้จัดการท่านนั้นก็น่าจะเป็นทางเลือกแรกๆ ที่จะขยับขึ้นป็นผู้บริหาร โดยหนังม้วนเดียวกันนี้อาจจะเกิดซ้ำอีกหลังกระแสน้ำ Covid-19 เริ่มลดระดับลงและตอของปัญหาเริ่มผุดขึ้นมา และหากเหล่าพนักงานหรือผู้จัดการได้ทำงานแบบบริหารจากล่างขึ้นบนได้อย่างดี ก็น่าจะเป็นโอกาสท่ามกลางวิกฤตที่มองเห็นได้  หลัก 6 ประการนี้ถูกสรุปมาจากหนังสือและหลายบทความหลายชิ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อให้ท่านนำไปลองปรับใช้ดู
.
.

เสริมจุดแข็งปิดจุดอ่อน

ถ้าเราทราบว่าจุดแข็งของเจ้านายคืออะไร ก็ต้องมีส่วนให้ได้ใช้จุดแข็งในงานบ่อยๆ เช่น เข้าไปปรึกษางานและเชื่อมโยงเข้าหาจุดแข็งนั้นมากๆ โดยไม่ลืมที่จะใหเครดิตเจ้านายเสมอ แต่ในทางกลับกัน หากเราเห็นจุดอ่อนบางด้าน ก็ไม่ควรไปฉวยโอกาสหรือทำให้รู้สึกเสียหน้า แต่ควรเสนอตัวเข้าไปปิดจุดอ่อนนั้นเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดี
.
.

เข้าใจสไตล์การทำงาน

เจ้านายมีหลายแบบ บางคนชอบลงรายละเอียดบางคนชอบแบบภาพรวม บางคนชอบเจอกัน บางคนก็ชอบแนวสรุปเป็นเรื่องราว บางคนชอบความเป็นส่วนตัว หลายคนก็เป็นแนวให้อยู่ใกล้ติดตัว หาสไตล์การทำงานของเจ้านายให้เจอและเสนอที่จะปรับตัวให้เข้ากับสไตล์นั้น แม้มันจะฝืนความเป็นตัวเราไปสักหน่อยก็ตาม
.
.

รู้ว่าอะไรคือเรื่องสำคัญ

สิ่งที่เราให้ความสำคัญกับของเจ้านายอาจมีหลายอย่างที่ต่างกัน หากหาไม่เจอให้ลองสืบดูว่าตัวชี้วัดของนายหรือสิ่งที่นายของเจ้านายประเมินคืออะไรบ้าง แล้วอย่าทำตัวเป็นอุปสรรคต่อสิ่งนั้น เช่น นายบางคนถูกวัดด้วยการลดค่าใช้จ่าย เราก็ควรทำให้นายเห็นเราพยายามประหยัดและลดความสิ้นเปลื้องทุกอย่าง นายถูกวัดด้วยยอดขายโดยรวม ก็อย่ามัวแต่สนใจแต่ยอดขายส่วนตัวของเรา แต่ควรมีส่วนทำให้ภาพรวมดีขึ้นด้วย
.
.

ผูกสัมพันธ์แบบจริงใจ

อย่ามองข้ามมิติของความสัมพันธ์เป็นอันขาด หากเราจะมีสักคนที่ราควรมีความสัมพันธ์อย่างดีในแผนก คนๆนั้นควรเป็นเจ้านายของเรา หมั่นสอบถามสารทุกข์ดิบ สังเกตุเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ชอบหรือไม่ชอบ หรือไปทานอาหารกลางวันด้วยบ้าง อย่ากลัวการถูกมองว่าประจบประแจงมากเกินไปจนต้องพลาดสัมพันธ์ที่ดี
.
.

อย่าปฏิเสธไว้ก่อน

ไม่มีเจ้านายคนไหนชอบความผิดหวัง ควรเก็บคำปฏิเสธไว้ในลิ้นชักและใส่กุญแจ แม้บางครั้งนายของเราอาจไม่รู้ว่าเรามีอะไรต้องทำอยู่แล้วมากมายและกำลังจะมอบหมายงานเพิ่ม ก็ให้มองเป็นข้อดีว่าเราเป็นคนที่ได้รับความไว้วางใจ แต่เราสามารถให้นายเห็นว่าตอนนี้เราทำอะไรอยู่บ้าง และหากมีงานล้นมือ ก็ขอความเห็นเรื่องการขยับลำดับความสำคัญของงานแต่ละงานแทนโดยให้นายเป็นคนตัดสินใจ
.
.

และท้ายที่สุดคือ พนักงานต้องเข้าใจและบริหารความคาดหวัง เพราะการที่เราจะทำงานให้เข้าตา สิ่งแรกที่เราควรรู้คือ เจ้านายมีความคาดหวังต่อเราหรือสิ่งที่เราทำอย่างไร หากเจ้านายไม่เคยเอ่ยออกมาชัดๆ เราควรหาทางสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรและไปทบทวนกับนายว่าเราเข้าใจถูกหรือไม่ อย่าปล่อยให้การทำงานร่วมกันเดินไปข้างหน้าโดยไม่รู้ว่าสิ่งที่เราทำเข้าตาหรือไม่ และเมื่อรู้ความคาดหวังนั้นแล้วก็ต้องพยายามสุดความสามารถที่จะไปให้ถึงหรือเกินไปกว่านั้น
.
.

A Cup Of Culture
.
.

แหล่งที่มาของบทความ

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search