ทำไมสุขภาวะ หรือ Well-being ของพนักงานจึงเป็นสิ่งที่ “ควร” ให้ความสำคัญ

เมื่อเราพูดถึง “Well-being” หรือ “สุขภาวะ” ในองค์กร เรามักนึกถึงไปถึงการได้สัมผัส ใกล้ชิดธรรมชาติ หรือ การมี work-life-balnce การมีโปรแกรมฝึกสติ การวาง zone ให้พนักงานผ่อนคลาย เช่น การจัดให้มีมุม relax zone เอาเก้าอี้ bean bags มาว่าง ฯลฯ.. ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมเหล่านี้ไม่ได้มีนัยยะสำคัญการสร้างสุขภาวะให้มากเท่าไหร่ เป็นเพียงองค์ประกอบย่อยเท่านั้น แท้จริงแล้ว สุขภาวะในที่ทำงานเกี่ยวข้องอย่างมากกับเรื่องของ “วัฒนธรรมและระบบในองค์กร” ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถวางรากฐานได้อย่างเป็นระบบ และเป็นรากฐานที่สำคัญอย่างมากต่อความสุขของพนักงาน และประสิทธิภาพโดยรวมของบริษัทในระยะยาว ⁣

Workplace Welling ไม่ใช่สิ่งที่ “น่ามี” หากแต่เป็นสิ่งที่ “ควรมี” ⁣

ในต่างประเทศ มีงานวิจัยจำนวนมากที่เผยให้เห็นว่า การป่วย ลา ขาด สาย หรือ การทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่วนมากเกี่ยวข้องกับความเครียดในการทำงาน เช่น ในประเทศอังกฤษ 57% ของการลา มาจากภาวะที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงาน อาทิ ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ความเครียดความเหนื่อยล้าและกดดันจากงานที่ทำ ฯลฯ 83% ของชาวอเมริกันเผชิญปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงาน (Everest College) โดยที่ 80% ของที่มาของความเครียดมาจากการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพในองค์กร (Dynamic Signal, 2019) โดยมีมากถึง 35% ที่ระบุว่าการทำงานกับหัวหน้าของตนเป็นที่มาของความเครียด (Korn Ferry)⁣

ในขณะที่ในไทย ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนถึงที่มาของความเครียดในการทำงาน แต่จากข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่าความเครียดคนไทยกลับมาสูงขึ้นอีกครั้งในเดือน ม.ค. ปี 2564 กราฟความเครียดของคนไทยพุ่งขึ้นมาก ประสบปัญหาภาวะเครียด ยังมีภาวะอาการซึมเศร้า อ่อนล้า รวมถึงความรูัสึกไม่ค่อยมีความสุขกับการใช้ชีวิต ซึ่งแน่นอนว่าเหตุการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิทมีนัยยะสำคัญต่อระดับความเครียด แต่ทั้งนี้ ในฐานะองค์กร เราสามารถเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มระดับสุขภาวะให้กับพนักงานได้ผ่านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนสุขภาวะ⁣

:::::::::::::::::::⁣

Dr. Jim Harter นักวิทยาศาสตร์อาวุโสด้าน Workplace Management and Wellbeing ที่ Gallup ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาความมีประสิทธิภาพในการทำงาน กับการพัฒนาสุขภาวะให้ของพนักงานไม่ใช่สิ่งที่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อกันและกันโดยตรง หากพนักงานมีสุขภาวะที่ดี ก็จะมีผลงานที่มีคุณภาพ และมีอัตราการป่วย ลา ขาดงาน และลาออกที่น้อยลงด้วย⁣

โดยสุขภาวะในการทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบได้ดังนี้⁣
🔹1) Career Wellbeing คือการรับรู้ถึงคุณค่างานที่ตนเองทำ ชัดเจนกับสิ่งที่ทำ ว่าทำอะไร ไปเพื่ออะไร⁣
🔹2) Social Wellbeing คือการได้อยู่ท่ามกลางผู้คนที่รู้สึกชอบ และเสริมพลังบวกให้แก่กันและกัน กล่าวคือ มีเพื่อนร่วมงานที่สามารถไว้วางใจกันได้ และมีทัศนคติที่ดี⁣
🔹3) Financial Wellbeing สุขภาวะทางการเงินในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมีรายได้มาก หากแต่มุ่งไปที่วิธีการใช้เงิน โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ ความรู้สึกมั่นคงต่อรายในได้ระยะยาว (finance security) และ การมีเงินเพียงพอกับรายจ่าย ไม่มีความเครียดหรือความกังวลต่อภาระทางการเงิน⁣
🔹4) Physical Wellbeing ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแค่การมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย หากแต่ยังหมายความรวมไปถึงการมี “พลังชีวิต” เหลือเพียงพอสำหรับการทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ แม้ว่าเลิกงานแล้ว ก็ยังมีพลังไปทำสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเองชอบ หรือ ต้องการได้โดยไม่ได้รู้สึกอ่อนล้าจนต้องหยุดพักเพียงอย่างเดียว⁣
🔹5) Community Wellbeing คือการรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอะไรบางอย่าง มีส่วนร่วมกับสังคมรอบข้างในลักษณะที่เป็นมิตร หรือ ได้ให้อะไรกับคนอื่น⁣

ซึ่งสุขภาวะด้านอาชีพ สังคม ร่างกาย และการมีส่วนร่วมนั้น ในภาวะที่หลาย ๆ องค์กรจัดให้มีการ work from home ก็ยังสามารถพัฒนาได้ โดยการวางรากฐานวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่า รู้สึกไว้วางใจต่อกัน และมีสุขภาวะในด้านต่าง ๆ ได้ ผ่านระบบคนที่มีคุณภาพ⁣

::::::::::::::::::::⁣

โดย Cary Cooper นักจิตวิทยามหาวิทยาลัย Manchester ได้เสนอกลยุทธ์ 3 ขั้นในการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะโดย “เริ่มจากการคน” ดังนี้⁣
🔶 1. อบรมผู้จัดการและผู้บริหาร ตั้งแต่ระดับสูง ไปจนระดับล่าง ในการพัฒนา EQ หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ ให้พัฒนาลูกน้องในเชิงการสร้างแรงจูงใจ การชื่นชม ไม่ใช่การจ้องจับผิด และมีความไว้วางใจมากพอที่จะให้อิสระในการทำงาน ทำให้พนักงานรู้สึกถึงความสามารถตนเองมากขึ้น และมีความรู้สึกของการควบคุมสิ่งที่ตนเองทำ⁣

🔶 2. ให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน – พนักงานหลายคนเป็นพ่อแม่ของคน หรือ มีพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดู หรืออาจมีภาวะบางอย่างที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษและไม่อาจทำงานตามเงื่อนไขเวลาได้อย่างสะดวกสบายนัก ซึ่ง technology นั้นได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนสามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น บริษัทก็ควรปรับตัวให้ความยืดหยุ่นเหล่านี้ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงการปล่อยปะละเลยพนักงานเช่นกัน แต่ใจความหลักคือการให้อิสระเพียงพอที่พนักงานไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการอยู่กับหน้าจอคอมตลอดเวลา และในเวลาที่จำกัดเท่านั้น⁣

🔶 3. ควรมีข้อตกลงร่วมกันเรื่องการสื่อสารความคาดหวังในการตอบอีเมลล์ หรือ สื่อสารนอกเวลางาน การที่เราไม่ได้กำหนดเวลาในการตอบอีเมลล์นั้น อาจทำให้เกิดภาวะ burntout ของพนักงานได้ โดยให้ความรู้สึกถึงความจำเป็นต้องอยู่หน้างาน หรือ ไม่สามารถแบ่งเวลาส่วนตัวออกมาจากเวลางานได้ ซึ่งการที่หัวหน้า หรือ ผู้บริหารออกแบบนโยบายการทำงานที่มีเวลาที่ควรตอบอีเมลล์ กับเวลาที่ไม่จำเป็นต้องตอบนั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่หลาย ๆ ที่ละเลยกระบวนการนี้ หากเราสร้างข้อตกลงที่ชัดเจนแล้ว พนักงาน ก็จะสามารถแบ่งเวลาพักผ่อนได้ดียิ่งขึ้น และลดความเครียดจากการทำงานด้วย⁣

:::::::::::::::::::::::⁣

ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการมีปฏิสัมพันธ์กันให้เกิดคนคุณภาพที่สร้างระบบคุณภาพได้อย่างแท้จริง และเมื่อพนักงานรู้สึกมีความสุขขึ้นในการทำงาน จากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และลดความกดดันที่ไม่จำเป็นออก ความมีประสิทธิภาพของงานก็จะตามมา อัตราการลาออกจากพนักงานที่มีคุณภาพก็จะลดน้อยลง และส่งผลให้บริษัทมีกลุ่มคนที่ส่งพลังงานดี ๆ ต่อกันมากชึ้น และนี่คือเหตุผลว่าทำไม “สุขภาวะ” ของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรใส่ใจ⁣


A Cup of Culture⁣
———–⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣
Corporate culture⁣
Organizational culture
.
.

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Cary Cooper – Workplace Wellbeing. (2019, January 21). YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=GOU22vOjatc
Heckman, W. (2022, January 7). 42 Worrying Workplace Stress Statistics. The American Institute of Stress. https://www.stress.org/42-worrying-workplace-stress-statistics
The Value of Employee Well-being in the Workplace. (2015, June 19). YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=YU8PrzrsMCQ

.
.

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search