ดูแลห่านทองคำของคุณด้วยสุขภาวะในองค์กร

ความกดดันในการสร้างผลประกอบการเป็นแรงกดดันที่ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจต้องโฟกัสกับมันจนบางครั้งอาจหลงลืมรากฐานสำคัญขององค์กรไปนั่นก็คือ สุขภาวะ หรือ Well-being ของพนักงาน คล้ายกับการมีห่านที่ออกไข่เป็นทอง แต่ฝืนจนห่านออกไข่ไม่ไหว


ที่ผ่านมาหลาย ๆ แห่ง มองด้านสุขภาวะว่าเป็นเรื่องส่วนตัว และไม่ใช่ปัญหาของการบริหารองค์กร แต่ความเชื่อนั้นไม่จริงอีกต่อไปแล้ว เพราะการศึกษาด้านองค์กรในช่วงตลอดกว่า 40 ปีที่ผ่านมาพบว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากสุขภาพที่ดีของพนักงานนั้นส่งผลทางตรง และทางอ้อมต่อผลประกอบการด้านธุรกิจอย่างไม่น่าเชื่อ


Well-being ในมุมวัฒนธรรมองค์กร


Employee engagement หรือการมีส่วนร่วมของพนักงาน เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่หลาย ๆ บริษัทแสวงหา แต่จากการศึกษาของ Gallup พบว่าบริษัทที่มีหัวคิดสมัยใหม่ไม่ได้มองหา Engagement เดี่ยว ๆ อีกต่อไป แต่ถอยกลับมามองไปถึงภาพใหญ่ที่มันเพียงเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่ง นั่นก็คือ Well-being หรือสุขภาวะนั่นเอง


ที่ผ่านมาหลาย ๆ บริษัทมีการพูดถึง Well-being ไว้เพื่อเป็นสโลแกนในการดึงดูด Talent หรือการตั้งเป็นโครงการสุขภาพที่จ่ายงานไปให้ฝ่ายบุคคลวางแผนจัดการสวัสดิการต่อไป ซึ่งก็พบว่าผลลัพธ์ไม่ได้เป็นที่น่าพอใจทั้งในด้านความพึงพอใจของพนักงาน และ Performance


ปัญหาของการมอง Well-being  ในฐานะโครงการเป็นวิธีที่ไม่ได้ผล เพราะสุขภาวะกายและใจของพนักงานเองนั้นมันเป็นเรื่องที่ต้องลงลึกไปให้ถึงการทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิด หรือ Mindset หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้นคือการทำให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

เพราะงานวิจัยปี 2019 ของ Gallup พบว่า:

  • ถ้าพนักงานมีสุขภาวะที่ดีตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มงาน จะมีทั้ง Engagement ในงานและสุขภาพวะที่ดีในปีถัด ๆ
  • ในทางกลับกันถ้าพนักงานกำลังเป็นทุกข์ หรือลำบากใจบางอย่าง พนักงานที่มีปัญหาดังกล่าวจะส่งผลทางลบต่อสภาพแวดล้อมของทีม และบริษัทโดยรวมด้วย


ดังนั้น ในการพัฒนาสุขภาวะ เราต้องมองไปให้เห็นถึงภาพรวมทั้งหมดขององค์กร และเช่นเดียวกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรทุกรูปแบบ ถ้าผู้จัดการหรือผู้บริหารเปิดให้มีการพูดคุยหรือแสดงออกที่ส่งเสริมสุขภาวะ แล้วทำให้มันเป็นบรรทัดฐานขององค์กร พนักงานจะยิ่งอยากมีส่วนร่วมกับการสร้าง Well-being ได้มากขึ้น เพราะมันเป็นผลดีทั้งกับตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์กรโดยรวม แต่ถ้าผู้บริหารไม่ให้ความร่วมมือ หรือยังไม่เห็นความสำคัญ มันจะยากที่องค์กรนั้น ๆ จะสามารถสร้าง Well-being ให้เกิดขึ้นได้จริง ๆ


และเช่นเดียวกับ Core value อื่น ๆ ขององค์กร Well-being ไม่สามารถเป็นแค่คำโปรยบนกำแพง หรือโครงการย่อย ๆ ได้ แต่ผู้นำ ผู้บริหาร และผู้จัดการจะต้องจริงจังกับการทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนาธรรมองค์กรจริง ๆ องค์กรจะต้องโฟกัสกับการสร้างวัฒนธรรมที่คนในองค์กรรู้สึกว่างานมีความหมาย และเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ Productive และ Healthy ดีต่อใจด้วย การส่งเสริม Wellbeing ในองค์กรจึงหมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงาน ชุมชน และสังคมโดยรวม และมันเริ่มจากการที่ผู้นำองค์กรที่จะต้องตั้งใจที่จะส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานได้เติบโต และมีสุขภาวะที่ดีรอบด้านตั้งแต่ ส่วนตัว ด้านการงาน สุขภาพ และการเงิน


แต่หากใครยังลังเลด้วยคำถามที่ว่า Well-being นั้นสำคัญจริง ๆ หรือไม่นั้น วันนี้เรา 4 งานวิจัยที่จะมาช่วยยืนยันความสำคัญ และอิทธิพลที่มีต่อผลประกอบการของสุขภาวะ


Well-being ดีต่อมูลค่าบริษัทในตลาดอย่างชัดเจน


งานวิจัยชิ้นแรกที่จะพูดถึงเป็นของปี 2013 ที่พบว่าบริษัทที่ได้รับรางวัล Corporate Health Achievement Aware ซึ่งเป็นรางวัลที่ให้กับองค์กรที่ดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงานอย่างดี โดยมีผู้ได้รับรางวัล อย่างเช่น American Express หรือ Johnson and Johnson ผู้วิจัยนำราคาหุ้นของบริษัทกลุ่มนี้ในตลาดมาเทียบย้อนหลังเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในตลาดเดียวกัน และพบว่าบริษัทกลุ่มนี้มีมูลค่าหุ้น และผลประกอบการที่สูงกว่าบริษัททั่วไปอย่างชัดเจน


และในปีถัดมีก็มีอีกงานวิจัยที่ไปติดตามอีกรางวัลที่เกี่ยวข้องกับ Well-being ก็คือ Employee Health Management Best Practices ที่ทำร่วมกับ Mercer และเทียบกับตลาด S&P 500 เป็นระยะเวลา 6 ปีพบว่า องค์กรเหล่านี้มีมูลค่าในตลาดโตขึ้น 235% เทียบกับองค์กรอื่น ๆ ใน S&P 500 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 159%


และถ้า 6 ปียังไม่ชัดพออีกการศึกษานึงที่อิงจากรางวัล Koop Health Award ที่มีผู้ได้รางวัลเช่น Dell, IBM, Pepsi, Johnson&Johnson, Citibank ผู้วิจัยติดตามบริษัทในกลุ่มนี้เป็นระยะเวลา 14 ปี (2000-2014) โดยเทียบกับดัช S&P 500 พบว่าอัตรการโตขององค์กรกลุ่มนี้ตลอด 14 ปีโตขึ้นกว่า 325% เทียบกับตลาดที่โตขึ้นเพียง 105% นั่นแปลว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสุขภาวะพนักงานสามารถทำผลประกอบการชนะตลาดไปได้กว่า 3 เท่า และรวมถึงผลตอบแทนแบบการปันผลก็ไม่น้อยหน้าเพราะก็ชนะตลาดไปที่ 2.31% ต่อ 1.95%


และสุดท้ายในปี 2019 มีงานชิ้นใหญ่สุดที่เพิ่งจะเสร็จออกมาเป็นงานวิจัยแบบ meta-analysis โดยศึกษา Well-being ของพนักงาน 1,882,131 คน และผลประกอบการของบริษัท 82,248 แห่ง เพื่อจะตอบคำถามที่ตั้งว่า “Well-being มันช่วยเพิ่ม Productivity และนำไปสู่ผลประกอบการที่จับต้องได้จริง ๆ ใช่ไหม” และแน่นอนว่าผลลัพท์ตอกย้ำความสำคัญของ Well-being จองพนักงาน เพราะมันส่งผลโดยตรงต่อ Productivity และ Customer loyalty และแน่นอนว่าลดอัตรา turnover อย่างมาก


เราเห็นได้ชัดว่าสุขภาวะในการทำงานมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประกอบการของบริษัท ดังนั้นการลงทุนในสุขภาพกาย และใจของพนักงาน จึงเป็นสิ่งที่ทำให้หลาย ๆ บริษัท ในตอนนี้โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มที่เป็น high-performing company และมันคงดีไม่น้อยถ้าข้อได้เปรียบในด้านผลประกอบการเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้บริษัทอื่น ๆ หันมาลงทุนในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อสุขภาวะของพนักงานอย่างจริงจังมากขึ้นเช่นกัน

A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

Reference:

https://www.forbes.com/sites/colleenreilly/2020/06/09/wellbeing-positively-impacts-firm-performance/?sh=410700547cc9

https://ideas.repec.org/p/cep/cepdps/dp1605.html

https://www.gallup.com/workplace/245786/gallup-reports-share-leaders-2019.aspx

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26716843/

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search