การปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่อยากอยู่ด้วยการสร้าง Microculture

ตัวอยู่ แต่ใจไปแล้ว.. เราจะรื้อฟื้นสภาพจิตใจในช่วงที่โอกาสใหม่ในงานยังไม่มาถึง หรือช่วงที่ยังหาทางออกให้กับชีวิตการทำงานไม่ได้ อย่างไรดีนะ??⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
เรามีคำถาม 4 ข้อให้คุณได้ประเมินตนเอง ในสภาพแวดล้อมที่ตนทำงานอยู่ ⁣⁣⁣⁣
1) สิ่งที่คุณให้คุณค่า? เช่น ความยุติธรรม การรับฟัง หรือ ความเท่าเทียม ฯลฯ เป็นไปในทิศทางเดียวกับสภาพแวดล้อม ผู้คนที่คุณทำงานด้วยหรือไม่? คุณรู้สึกขัดแย้งกับตัวเองในพื้นที่แห่งนี้มากน้อยเพียงใด?⁣⁣⁣⁣
2) สุขภาพกายและใจของคุณเป็นอย่างไรในพื้นที่วัฒนธรรมองค์กรเช่นนี้?⁣⁣⁣⁣
3) ครั้งสุดท้ายที่คุณคำนึงถึงอนาคตของคุณอย่างจริงจังคือเมื่อไหร่? คุณเห็นภาพอนาคตของคุณชัดเจน และมีความรู้สึกเชิงบวกหรือไม่? ⁣⁣⁣⁣
4) คุณได้คิดถึงเส้นทางอาชีพ และภาพชีวิตของคุณมากน้อยแค่ไหน?⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
หากในข้อแรกและข้อที่สอง คุณรู้สึกไม่ดี นั่นก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจต้องปรับอะไรบางอย่างในพื้นที่การทำงานของคุณ และหากในข้อสามและสี่ คุณไม่เห็นอนาคตที่ชัดเจนและไม่มีความรู้สึกเชิงบวก คุณอาจต้องกลับมาทบทวนตัวเอง ให้เวลาในการทำความเข้าใจสิ่งที่ตนเองต้องการ ทำการเปลี่ยนแปลงวิธีที่คุณทำงาน และปรับสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณอย่างจริงจัง ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
แต่หากคุณสามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน คำตอบของคุณก็จะเป็นตัวบ่งบอกถึงบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่คุณต้องการ ซึ่งนำไปสู่การตั้งเป้าหมายเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานให้คุณมีความสุขมากขึ้นได้ และหากคำตอบทั้ง 4 ข้อของคุณนั้นบ่งบอกว่าวัฒนธรรมองค์กรที่คุณอยู่ มันช่างไม่เหมาะสมกับคุณเลย แต่คุณก็เห็นความชัดเจนในเป้าหมายที่คุณทำ คุณยังมีสิ่งที่คุณได้รับจากการอยู่ในองค์กรนี้ หรือ ยังไม่มีทางเลือกในการเปลี่ยนที่ทำงาน เราก็มีคำแนะนำให้คุณในเรื่องของการสร้าง “Microculture” หรือ การสร้างวัฒนธรรมในระดับย่อย เพื่อเติมพลังใจให้คุณในการทำงาน เพราะว่าคนเราไม่สามารถเปลี่ยนทั้งองค์กรให้มาสอดรับกับความต้องการคุณได้ แต่สามารถมีผลต่อคนรอบข้างได้นั่นเอง ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
–>->->->->⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣

วัฒนธรรมเป็นเรื่องของผลรวมของชุดพฤติกรรม ที่มาจากค่านิยมร่วม ทั้งดี หรือ ไม่ดี จนกลายเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติตัวร่วมกัน ตัวอย่างเช่น การทำงานเช้าชามเย็นชาม การนิยมประจบเจ้านาย การสานสัมพันธ์ด้วยการนินทา ก็คือว่าเป็นวัฒนธรรมเช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่ให้คุณค่าในการทำงานแตกต่างกัน อาทิ คนที่นิยมทำงานด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้า คนที่นิยมการพิสูจน์ความสามารถ รวมไปถึงคนที่ปฏิเสธการนินทา ก็อาจเกิดแรงต้านกับบุคคลเหล่านี้ขึ้นได้เช่นกัน และด้วยธรรมชาติของวัฒนธรรม การ “มีพื้นที่” เป็นเรื่องสำคัญ หากว่าเรามีค่านิยมเชิงบวกที่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยรวม แต่เราในฐานะ “บุคคล คนหนึ่ง” ก็สามารถส่งผลเชิงบวกต่อคนรอบข้าง และหาพื้นที่ในการสร้างวัฒนธรรมระดับย่อย หรือ ที่เราเรียกว่า “Microculture” ในพื้นที่ที่เราทำงานได้⁣⁣⁣⁣

⁣⁣⁣⁣
ก่อนอื่น มาเข้าใจนิยามและธรรมชาติของวัฒนธรรมย่อย หรือ “Microculture” กันก่อน⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣

Microculture คือ รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ของคุณกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในแต่ละวันการทำงานของคุณ ซึ่งมันย่อยไปกว่า Team Culture และ Organization Culture โดย Team Culture คือวัฒนธรรมของทีมคุณ แบ่งออกเป็นฝ่ายการทำงาน ส่วน Organization Culture คือวัฒนธรรมองค์กร คือมวลรวมของชุดพฤติกรรมที่คนทั้งองค์กรของคุณทำเป็นปกติ ส่วน Microculture นั้นจะเน้นไปที่บุคคลที่คุณมีปฏิสัมพันธ์ด้วยในแต่ละวัน คุณอาจไม่ได้ทำงานกับทุกคนในทีมของคุณ แต่คุณอาจได้เจอคนต่างแผนก และทำงานกับคู่หูคุณเป็นหลัก รวมไปถึงหัวหน้าของคุณ โดยระบุเป็นคนๆ ไป ซึ่งนั่นคือคนส่วนใหญ่ที่คุณได้ใช้เวลาด้วยในการทำงาน⁣⁣⁣⁣

⁣⁣⁣⁣
Microculture มีมุมที่แตกต่างที่สำคัญ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบของการเป็นผู้ถูกว่าจ้างหรือลูกน้อง และรูปแบบการเป็นหัวหน้าที่มีทีมในการดูแล ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
ในฐานะผู้ถูกว่าจ้างที่คุณไม่ใช่ผู้ตัดสินใจหลัก สิ่งที่เป็นโฟกัสของคุณก็คือคนที่คุณมีปฏิสัมพันธ์ด้วยตลอดกระบวนการการทำงาน และการพูดคุยกับหัวหน้าของคุณ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในตัวคุณ และการจัดชุดประสบการณ์การทำงานที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีของคุณ โดยมุ่งเน้นไปที่ dynamic ของคนที่คุณทำงานด้วย ซึ่งการมีความขัดแย้งระหว่างบุคคลนั้นเป็นเรื่องปกติและเป็นธรรมชาติของการทำงาน แต่กระนั้น การจัดระบบการทำให้คู่ทำงานที่ไม่ชอบบุคลิกลักษณะนิสัยกันนั้นทำให้เกิดความขัดแย้งโดยตรง และนำไปสู่งานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และลดทอนการเกิดการเติบโตในการทำงานด้วยซ้ำไป ซึ่งคุณก็สามารถช่วยให้มุมมองแก่หัวหน้าหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล วิเคราะห์บุคลิกภาพ และมาร่วมหาวิธีการทำงานใหม่ หรือ ขอร้องให้หัวหน้าจับคู่คนที่เคมีเข้ากันมากกว่านี้ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยไม่ต้องฝืนธรรมชาติของใคร เป็นต้น ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
หรือ หากคุณมีความ proactive มากพอ คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ dynamic ระหว่างผู้คนรอบตัวที่คุณทำงานด้วยมีลักษณะที่พึงประสงค์มากขึ้น เช่น คุณอาจคุยกับหัวหน้าของคุณในเรื่องลักษณะการทำงานเชิงจิตวิทยาของคนในทีม แล้วขอการสนับสนุนจากหัวหน้าให้เข้าใจในธรรมชาติการรับรู้ การทำงานของคุณและคนในทีม ให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นมากขึ้นและลดความขัดแย้งด้วย ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
และในกรณีที่คุณเป็นหัวหน้า หรือ ระดับผู้บริหาร Microculture management จะกลายเป็นทักษะสำคัญสำหรับคุณในการสำรวจธรรมชาติของคนในทีม หรือ ลูกน้อง และเลือกจับคู่คนจากทักษะ และบุคลิกภาพที่สอดคล้องกัน ให้มาทำงานร่วมกันเป็นคู่ๆ ช่วยเหลือกันโดยให้เกิดความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นที่เกิดจากบุคลิกภาพให้น้อยที่สุด ซึ่งคนบางคนก็แค่เข้ากันไม่ได้ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความสามารถแต่อย่างใด และจากการจับคู่คนทำงานนี้ ก็จะนำไปสู่ประสบการณ์การรับรู้วัฒนธรรมทีม หรือ ขององค์กรอีกด้วย⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
–>->->->->⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
3 กระบวนการสำคัญในการปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่ไม่อยากอยู่ ได้แก่⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
🔶 กระบวนการแรก : การ detox ตนเอง⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
คนจำนวนมากสูญเสียพลังชีวิตไปกับความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ หรือดูดซึมไปกับวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษแบบไม่รู้ตัว เช่น เมื่อเราอยู่ในหมู่คนขี้นินทา ขี้บ่น และจ้องจับผิดคนอื่น เราก็มักมีแนวโน้มที่จะดูดซึมเอานิสัยเชิงลบเข้ามา หากขาดการตระหนักรู้ในตน ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
การจะช่วยเยียวยาตนเอง และให้วัฒนธรรมรอบๆ ตัวคุณดีขึ้นได้นั้น คุณต้องตระหนักได้ถึงความสามารถในการควบคุมสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งที่คุณควบคุมไม่ได้ ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
การบ้าน: ⁣⁣⁣⁣
● ให้คุณเขียนสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ และสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ออกมาเป็นข้อๆ แล้วจัดการในสิ่งที่คุณสามารถควบคุมได้ไล่ไปทีละประเด็น เช่น การกระทำ การพัฒนากรอบความคิดของตนเอง ⁣⁣⁣⁣
● หมั่นสำรวจตนเองบ่อยๆ ในทัศนคติและพฤติกรรมเชิงลบ โดยเราสามารถตั้งคำถามเป็น checklist สำหรับตนเองในที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น ตอนนี้กำลังสะสมความคิดลบอยู่หรือไม่? ในช่วง 2-3 เดือนมานี้ ได้ดุและใช้อารมณ์ต่อเพื่อนร่วมงานมากน้อยแค่ไหน? ในตอนนี้คนอื่น ๆ มองเราว่า เป็นคนที่ขี้บ่น ทั้งเรื่ององค์กร หัวหน้า และตัวบริษัท อยู่หรือไม่? ฯลฯ ซึ่งหากมีมาก คุณก็จจะสามารถระบุได้ว่าคุณอยากจะพัฒนาพฤติกรรมของคุณข้อใด⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
โดยหลังจากที่แก้ปัญหาในสิ่งที่ตนเองควบคุมได้แล้ว ก็ให้วางแผนในการพูดคุยกับบุคคลรอบตัว ถ้าจะให้ดี ควรเป็นบริบทนอกที่ทำงาน หรือ ที่ที่จะไม่มีสิ่งรบกวนในบทสนทนานี้⁣⁣⁣⁣
คุณยังอาจสามารถลงลึกกับคนตรงหน้าได้อีกในเรื่องที่สำคัญๆ เช่น สิ่งที่คุณอยากจะเปลี่ยนแปลงในตนเอง สิ่งที่คุณหวังจากงานนี้ และอาจรวมไปถึงการขอโทษในสิ่งที่ผ่านมาด้วย ซึ่งการที่คุณเปิดประเด็นด้วยความจริงใจและเปราะบางเช่นนี้ จะเป็นการช่วยให้อีกฝ่าย ซึ่งอาจมีเรื่องในใจเช่นกัน ได้ออกมาเปิดเผย ได้พูดถึงมัน และแลกเปลี่ยนไปด้วยกันอีกด้วย⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
🔶 กระบวนการที่ 2 : สร้างกลุ่มในการทำวัฒนธรรม ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
เมื่อคุณได้เริ่มปลูกเมล็ดพันธุ์ของการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีแล้ว มันก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ถึงเวลาสร้างข้อตกลงในการสร้างวัฒนธรรมนี้ขึ้นมา โดยคุณควรพยายามนัดหมายทีม (รวมถึงหัวหน้าของคุณ) ในการวางแผนพูดคุยกับคนสำคัญๆ สื่อสารความต้องการ และเพื่อมาสร้างกติกาในการอยู่ร่วมกัน ทั้งคุณค่าที่ให้ร่วมกัน ไปจนถึงกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น ต้องอ่านไลน์และตอบภายใน 24 ชม. ⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
🔶 กระบวนการที่ 3 : หมั่นตรวจสอบและประเมินผล⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
อย่าลืมว่าการสร้างข้อตกลงเป็นเพียงการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ซึ่งการสร้างวัฒนธรรมนั้นใช้เวลา และไม่สามารถเปลี่ยนด้วยแค่ช่วงเวลาข้ามคืนได้ คุณต้องพยายามเป็นแบบอย่างที่ดี ทำอย่างสม่ำเสมอในสิ่งที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม set ใหม่ที่ได้มีการพูดคุย ปรึกษากันมา และก็อย่าลืมว่าคุณต้องใจเย็นๆ ในการรอการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจต้องช่วยให้การสนับสนุนด้านจิตใจของเพื่อนๆ ในทีม และให้โอกาสลองผิดลองถูกกันไปอีกสักพัก โดยอาจมี workshop ติดตาม มาร่วมสะท้อนตนเองร่วมกันในกลุ่มงานที่คุณทำ เพื่อที่อย่างน้อย คุณจะได้มีแรงสู้กับวัฒนธรรมกระแสหลักที่อาจไม่ดีต่อใจนักจากคนรอบตัวได้⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣
A Cup of Culture⁣⁣⁣⁣
———–⁣⁣⁣⁣
วัฒนธรรมองค์กร⁣⁣⁣⁣
Corporate culture⁣⁣⁣⁣
Organizational culture⁣⁣⁣⁣
⁣⁣⁣⁣.
.

Keep Your Company’s Toxic Culture from Infecting Your Team. (2019b, June 13). Harvard Business Review. https://hbr.org/2019/04/keep-your-companys-toxic-culture-from-infecting-your-team
Schneider, E. M. (2018, March 8). Building Micro-Cultures. https://www.linkedin.com/pulse/building-micro-cultures-eric-m-schneider/
 Aldrich, J. (2021, December 10). Micro Culture: The Invisible Key to Employee Happiness. Medium. https://bettermarketing.pub/micro-culture-the-invisible-key-to-startup-success-4ea5f72ab814
Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn
Search

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search