เราได้ยินบ่อยๆ กับคำว่า #ล้มให้เร็ว #ล้มเพื่อไปข้างหน้า คำพูดเหล่านี้ถูกพูดกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในท่ามกลาง Disruptive world องค์กรไม่มีทางเลือกใดๆ อีกแล้วนอกจากต้องปรับตัวเองให้เป็นองค์กรนวัตกรรม แต่พอเอาเข้าจริงๆ “การล้ม” กลับกลายเป็นคำถามตัวใหญ่ๆ ว่า…
เรารับมันได้จริงหรือ!?
มันเป็นเรื่องที่ควรส่งเสริมให้เกิดได้จริงๆหรือไม่!?
จากการสำรวจของ Amy Edmonson ศาสตราจารย์จาก Harvard พบว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าความผิดพลาดนั้นเป็นเรื่องเลวร้าย ทุกครั้งที่เกิดเรื่องผิดพลาดสำคัญๆ จะเกิดมาตรการเฝ้าติดตาม เรียกหาสรุปรายงาน และป้องกันสุดความสามารถที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดนั้นอีก (รวมถึงหาตัวบุคคลที่เป็นต้นเหตุ) หรืออีกนัยหนึ่ง หากเรายอมรับว่าตัวเองผิดพลาดก็เท่ากับยอมจำนนที่จะถูกตำหนิหรือการลงโทษไปโดยปริยายด้วย และนี่เป็นที่มาของเหตุผลว่า ทำไมพื้นที่ปลอดภัยในการกล้าคิดกล้าแสดงออกจึงไม่เคยเกิดขึ้นจริงแม้มันจะออกมาจากปากผู้บริหารครั้งแล้วครั้งเล่า
ผู้สำรวจยังได้แจกแจงให้ฟังอีกว่า #ความผิดพลาดนั้นไม่ได้มีขนาดเท่ากันทั้งหมดแม้จะใช้คำเดียวกัน การให้นิยามและขนาดที่ชัดเจนของมันจะช่วยให้เรายอมรับและเรียนรู้จากมันได้ง่ายขึ้นและไม่พาตัวเองเข้าไปสู่วังวนของการ Blame game ซึ่งเราสามารถแบ่งความผิดพลาดได้เป็น 9 ระดับ ดังนี้
===== ระดับ 1 #ความผิดพลาดที่สมควรได้รับการลงโทษ
Deviance ผิดพลาดเพราะฝ่าฝืนข้อตกลงที่ได้ระบุไว้อย่างตั้งใจ
Inattention ผิดพลาดเพราะทำผิดไปจากข้อกำหนดอย่างไม่ได้ตั้งใจ
Lack of ability ผิดพลาดเพราะขาดทักษะที่จำเป็นหรือไม่อยู่ในสภาพที่ปฏิบัติงานนั้นๆ
Process inadequacy ผิดพลาดเพราะมีทักษะและทำตามกระบวนการที่ระบุไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน
Task challenge ผิดพลาดเพราะพบกับงานที่ยากที่จะทำให้สำเร็จอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
Process complexity ผิดพลาดเพราะเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ซับซ้อนที่ต้องเข้ามาในคราวเดียวกัน
Uncertainty ผิดพลาดเพราะไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้อย่างแม่นยำส่งผลให้ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
Hypothesis testing ผิดพลาดเพราะทดลองเพื่อทดสอบไอเดียต่างๆ ซึ่งคาดการณ์ไว้แล้วว่าอาจล้มเหลว
Exploratory testing ผิดพลาดเพราะทดลองเพื่อขยายขอบเขตองค์ความรู้และดูความเป็นไปได้ต่างๆที่จะนำไปสู่ความล้มเหลว
===== ระดับ 9 #ความผิดพลาดที่สมควรได้รับการชื่นชม
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture
.
.
>>>
ที่มาของบทความ
https://hbr.org/2011/04/strategies-for-learning-from-failure
.
>>>