ทำเองก็ได้…ทำไมต้องจ้าง Consultant? 🤔คำถามนี้อาจเคยอยู่ใจของใครหลาย ๆ คน ทั้งองค์กรที่เคยเสียเงินจ้าง และองค์กรที่เลือกทำเองเป็นหลัก…
ในด้านหนึ่ง เลือกเสียเงินจ้างให้เข้ามาช่วยสร้าง Impact ในเชิงธุรกิจหรือ Efficiency ต่างๆ ได้เรียนรู้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆจาก Firm เหล่านั้น และนำไปต่อยอดเอง ได้ Know-how ในแบบฉบับของตน ไม่ต้องเสพติดในระยะยาว
อีกด้านหนึ่งเสียเงินไปหลายล้านแต่กลับไม่ได้อะไรกลับมาเป็นชิ้นเป็นอันเท่าไร หรือได้ผลน่าพอใจแต่ก็ต้องผูกปิ่นโตกันไปในระยะยาว เพราะเมื่อที่ปรึกษาจากไป เราก็ทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ (หลายครั้งเป็นความตั้งใจของที่ปรึกษาโดยที่เราไม่รู้ตัว)
ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง หลายองค์กรเลือกที่จะใช้การเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือจ้างคนที่มีความรู้มาเป็นพนักงานประจำและทำงานนั้นๆ ซึ่งหาก scale ของงานไม่ใหญ่มาก และไม่ได้ต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ การทำด้วยตัวเองก็น่าจะประหยัดกว่ามาก แต่หลายองค์กรก็เสียน้อยเสียอยาก ใช้เวลาทำเองตั้งแต่พัฒนาคน ไปจนถึงขั้นทำเองได้จนได้ผลลัพธ์ตอบกลับมาระดับ B สรุปรวมเวลาไปหลายปี
ไม่ว่าเรื่องที่ท่านต้องการจะปรึกษาจะเป็นเรื่องใด Strategy and Management, Operations, IT หรือ HR แนวคิด 5 ประการในการจ้างปรึกษานี้อาจเป็นตัวช่วยตัดสินได้ว่าเมื่อไรควรจ้าง เมื่อไรควรทำเอง…..
✅ 1) ความชำนาญและประสบการณ์
เริ่มต้นด้วยการลองค้นหาภายในองค์กรก่อนว่า มี Expertise หรือ Resource นั้นอยู่หรือไม่ คนๆนั้นพร้อมที่จะไปถึงเป้าหมายของโครงการหรือความยั่งยืนของการแก้ปัญหานั้นๆ หรือเปล่า หรือหากงานนั้นเสร็จสิ้นแล้ว เรายังจำเป็นต้องใช้ Expertise หรือ Resource นั้นต่อไปหรือไม่
ถ้าคำตอบคือทั้งสอง “ไม่” เราควรเลือกที่จะจ้าง ..
✅ 2) เวลาที่ใช้กับผลัพธ์ที่ต้องการ
กระบวนการทำงานใหม่ที่สำคัญมากๆ หากทำกันเองอาจเสียเวลามากเพราะเราไม่เคยทำมาก่อนและไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จหรือใหม่ ที่ปรึกษา คือ ผู้ที่มีประสบการณ์นั้น และผ่านปัญหามามากมาย อาจช่วยแนะนำทางลัดหรือ Best Practice ที่มีอยู่แล้วที่เหมาะกับประเด็นในองค์กรได้เลย การประหยัดเวลาและเริ่มกระบวนการทำงานใหม่ๆได้เร็วอาจหมายถึง Impact ที่มากขึ้น..
✅ 3) มุมมองต่อปัญหา
การแก้ปัญหากันเองภายในอาจมาถึงจุดที่ตันไม่มีอะไรใหม่ๆ ที่ปรึกษาจะช่วยขยายมุมมองให้กว้างขึ้น เป็นมุมของคนนอกที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย การกระตุ้นของที่ปรึกษาสามารถช่วยเราให้คิดออกไปนอกกรอบที่มีอยู่นำมาซึ่งวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ..
✅ 4) มิติการเมืองในองค์กร
หลายๆ ครั้งในองค์กรก็ไม่ได้ตรงไปตรงมาในทุกๆ เรื่อง การแก้ปัญหาหรือตัดสินใจบางด้านด้วยคนภายในกันเอง อาจเป็นประเด็นละเอียดอ่อน เช่น การตัดงบประมาณ การให้คนออก การปรับตัวชี้วัดที่อาจทำให้บางกลุ่มได้หรือเสียประโยชน์ การมีคนนอกเข้ามาช่วยเป็น Power Player อาจช่วยทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้..
✅ 5) องค์ความรู้ใหม่ๆ
ผลพลอยได้อีกอย่างจากการมีที่ปรึกษาคือองค์ความรู้ใหม่ๆที่พวกเข้าตั้งใจหรืออาจไม่ได้ตั้งใจถ่ายทอดให้เรา เพราะการใช้องค์ความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลเชิงลึก ถือเป็นเครื่องมือหลักของทีมที่ปรึกษา หากองค์กรมีวิธีในการเรียนรู้และซึมซับมันออกมาได้ เราจะได้ประโยชน์ในระยะยาวโดยไม่ต้องเสพติดแบบเลิกไม่ได้แบบหลายๆองค์กร ..
หากแนวคิดทั้ง 5 นี้ไม่ได้อยู่ในความสนใจของท่าน อาจจะด้วยเหตุผลเรื่อง ขนาดของประเด็นที่จะแก้ หรือ Impact ที่ไม่ใหญ่มากนัก รวมถึงระยะเวลาที่ท่านมีมากพอที่จะลองผิดลองถูกและเรียนรู้กันไป หรือแม้แต่การบริหารการเมืองภายในที่ผู้นำทำได้อย่างดีเยี่ยม ก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะต้องไปเสียเงินทองมากมายจ้างที่ปรึกษาแต่อย่างใด..
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.
.
.
.
.
แหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.entrepreneur.com/article/320051
https://www.industryweek.com/leadership/companies-executives/article/22007366/inside-vs-outside-when-to-hire-a-consultant
https://www.forbes.com/sites/forbescoachescouncil/2018/11/29/five-common-misconceptions-about-hiring-a-management-consultant/#8a7fea1a44f8