เพิ่มขีดความสามารถ Gen M ด้วย Shadow Board


หากพูดถึงพนักงานกลุ่ม Generation Millennials (Gen M) คงทำให้นึกถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นตัวของตัวเอง และความสามารถในการปรับตัวเกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งนับว่าบุคคลกลุ่มนี้มีพลังในการสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรเป็นอย่างมาก ความท้าทายขององค์กรก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถปลูกฝังความผูกพันของพนักงาน Gen M และเพิ่มความสามารถขององค์กรให้เท่าทันการแข่งขันในยุคดิจิตอล บางองค์กรใช้วิธีที่จะจัดการกับความท้าทายนี้ด้วยการ “Shadow Board”


หลายท่านคงคุ้นเคยกับวิธีการ Job Shadowing นั่นก็คือการพัฒนาศักยภาพพนักงานโดยการประกบกับรุ่นพี่หรือผู้เชี่ยวชาญในงานเพื่อเรียนรู้ในการทำงานจริง ส่วน Shadow Board มีแนวคิดที่คล้ายกัน ต่างกันตรงที่ว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ ๆ อย่าง Gen M มีโอกาสไปประกบทำงานร่วมกับกลุ่มผู้บริหารในโครงการที่สำคัญ เพื่อถ่ายทอดมุมมองวิธีคิดแบบผู้บริหาร ในขณะเดียวกันก็เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล และมุมมองการทำงานจาก Gen M ด้วย


จากกรณีตัวอย่างของหลายองค์กรที่ปรับใช้ ทำให้เห็นถึง ประโยชน์ของ Shadow Board ใน 3 มิติได้แก่


1. การคิดค้นรูปแบบธุรกิจใหม่ (Business Model Reinvention)


กรณีศึกษาจาก French AccorHotels เมื่ออิทธิพลของ Airbnb ทำให้พวกเขาต้องหาวิธีปรับกลยุทธ์รูปแบบธุรกิจใหม่ โดยการสร้างแบรนด์สำหรับลูกค้ากลุ่ม Gen M พวกเขาพยายามอยู่ 2 ปี แต่ก็ยังไม่เห็นความคืบหน้าเท่าที่ควร จนกระทั่งได้ลองใช้วิธี Shadow Board และนั่นคือที่มาของแบรนด์ Jo&Joe ที่เป็นที่รู้จักกันในนามที่พักพิงของกลุ่ม Gen M ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ความยืนหยุ่น และการสร้างสังคมของคนรุ่นใหม่ร่วมกัน


2. การปรับกระบวนการ (Process Redesign)


Stora Enso บริษัทอุตสาหกรรมกระดาษและบรรจุภัณฑ์ ใช้ Shadow Board เพื่อศึกษาและปรับปรุงกระบวนการการมอบหมายงานของกลุ่มผู้บริหาร จากเดิมที่มอบหมายงานให้กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ที่เหมาะสมเกี่ยวกับงานนั้น ๆ มาเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับกลุ่ม Gen M ที่ไม่ได้มีความเชียวชาญ หรือประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับงานนั้น ๆ ด้วยความคาดหวังที่อยากจะได้มุมมองใหม่ ๆ ที่ปราศจากอคติ ตัวอย่างหนึ่งคือโครงการที่ตั้งเป้าหมายจะลดระยะเวลาในกระบวนการ supply chain และพวกเขาสามารถคิดค้นกระบวนการใหม่ที่ได้ผลจริง ๆ ภายในระยะเวลา 6 เดือนเท่านั้น


3. การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation)


Group M India มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เป็นแบบดิจิตอลภายในระยะเวลา 3 ปี พวกเขาจึงจัดกลุ่ม YCO (Youth Committee) โดยการรวบรวมกลุ่มคน Gen M เพื่อผลักดันแนวคิดแบบเติบโตไปข้างหน้า ด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และการ Shadow Board  เพื่อมุ่งเน้นการคิดและทำงานแบบดิจิตอล พบว่าสามารถเพิ่มศักยภาพกระบวนการภายใน ทั้งฝ่ายสื่อ ข้อมูล ที่ปรึกษา ผู้ตรวจสอบ และกลุ่ม Start-ups จนในที่สุดได้คิดค้น Social Media Platform ที่ชื่อว่า Yammer เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างฝ่ายบริหารและพนักงานระดับอื่น ๆ ในแต่ละบริษัทตัวแทน


4. สร้างการได้รับการยอมรับให้กับกลุ่ม Gen M


จากงานวิจัยพบว่ากลุ่ม Gen M เป็นวัยที่ต้องการการยอมรับ และ Shadow Boards ก็เป็นวิธีการที่ตอบโจทย์โดยการสร้างพื้นที่ให้พวกเขาได้แสดงความสามารถ ตัวอย่างกรณีศึกษาที่ Stora Enso พนักงานคนหนึ่งเริ่มเข้าโปรแกรม Shadow Board ด้วยตำแหน่งพนักงานการเงิน  ด้วยผลงานที่โดดเด่น และได้รับการมองเห็นจากการเข้าร่วม Shadow Board ทำห้เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายขายเพียงไม่กี่เดือนหลังจากจบโปรแกรม
.
.

คำถามคือพวกเขาควรทำอย่างไรเพื่อสร้างการ Shadow Board ให้ได้ผล?


ไม่มีระยะเวลาที่กำหนดที่ชัดเจนสำหรับ Shadow Board  แต่สิ่งที่สำคัญคือการการสูบฉีดพลังงานใหม่เข้ามาในโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง โดยการ


1. เปิดกว้างให้กับผู้ที่สนใจ


โดยทั่วไปองค์กรจะมีการระบุคนเก่งหรือ Talent อยู่แล้ว แต่ที่ Stora Enso เปิดกว้างกับกลุ่มคนที่หลากหลาย วิธีนี้ไม่เพียงแต่ได้การผสมผสานทีมงานที่หลากหลาย แต่ยังได้ค้นหาคนเก่งที่เหมาะสมกับหน้าที่นั้นจริง ๆ ข้อมูลที่น่าสนใจแสดงให้เห็นว่าจากการเปรียบเทียบการคัดเลือกคนเข้าร่วมโปรแกรมที่มาจากกลุ่ม Talent กับการเปิดรับสมัครแบบ Open Enrollment  พบว่าการเปิดรับสมัครแบบ Open Enrollment ได้ผลงานที่ดีกว่าทั้งในด้านการวิเคราะห์งาน และการทำงานเป็นทีม


2. ผู้บริหารให้ความสำคัญอย่างจริงจัง


เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น การสนับสนุนและความร่วมมือจากผู้บริหารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เช่นที่ Accor Hotel CEO จะเป็นผู้ที่สัมภาษณ์ผู้ที่สมัครเข้าร่วมโปรแกรมด้วยตัวเอง และยังทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกในโครงการอยู่เสมอ รวมถึงสมาชิกยังมีโอกาสได้รายงานผลโครงการโดยตรงกับ CEO อีกด้วย


3. ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ


แต่ละองค์กรที่กล่าวมา ทำการประเมินผลโครงการสม่ำเสมอ เก็บรายละเอียดว่าสิ่งใดที่ทำแล้วดี หรือสิ่งใดที่ควรปรับปรุง ที่ Stora Enso ทบทวนผลลัพธ์และกระบวนการทุก ๆ ปี เพื่อประเมินว่าจะสามารถสนับสนุนทรัพยกรส่วนใดเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้บริหารและ Gen M สามารถทำงานร่วมกันได้ดีและบรรลุผลได้มากยิ่งขึ้น


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

ที่มา

https://hbr.org/amp/2019/06/why-you-should-create-a-shadow-board-of-younger-employees

https://www.forbes.com/sites/forbeshumanresourcescouncil/2019/10/24/assemble-a-shadow-board-to-integrate-gen-z-and-stay-ahead-of-disruption/#2a1000367ea5

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search