หัวหน้าคนใหม่หรอ? เอาละ… ปรับตัวอย่างไรดี!

หากคุณเพิ่งเริ่มงานใหม่และสามารถเข้ากับหัวหน้าได้ดี ถือเป็นโชคดีของคุณ แต่จะทำอย่างไรล่ะหากสถานการณ์มันตรงกันข้าม จะทำอย่างไรล่ะหากคุณเริ่มทำงานไปได้ไม่กี่เดือนแล้วเพิ่งรู้ตัวว่าคุณกับหัวหน้าเข้ากันไม่ได้เลย คุณควรเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหา เหตุผลเหล่านี้อาจเป็นคำตอบว่าทำไมความสัมพันธ์ระหว่างคุณและหัวหน้าถึงตึงเครียด และคุณอาจลองใช้วิธีการเหล่านี้เพื่อลดความตึงเครียดดังกล่าว


1. ถามระดับความคาดหวังจากหัวหน้า


หนึ่งลักษณะนิสัยที่อาจทำให้เกิดความยากลำบากในการทำงานคือความพิถีพิถัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าคุณต้องการทำงานออกมาให้ได้ดีที่สุดและเป็นไปตามกฎระเบียบ คุณอาจรู้สึกว่าหัวหน้าของคุณโยนงานกองโตให้กับคุณ และถ้าคุณเป็นคนที่มีความพิถีพิถันในการทำงานมากกว่าหัวหน้าของคุณ คุณจะพยายามทำให้งานที่คุณได้รับมอบหมายทุกงานออกมาไร้ที่ติที่สุด จนในที่สุดคุณอาจใช้เวลากับงานแต่ละงานนานกว่าที่หัวหน้าของคุณต้องการ


สิ่งที่สำคัญคือการเข้าใจระดับความคาดหวังที่หัวหน้าคุณมีในแต่ละงานเพื่อช่วยให้คุณรู้ว่าควรทุ่มเทกับงานแต่ละงานมากน้อยแค่ไหนและอาจช่วยให้คุณจัดการงานกองโตได้ง่ายมากขึ้น


2. สังเกตสิ่งที่หัวหน้ามักให้ความสำคัญ?


อีกลักษณะนิสัยที่อาจทำให้เกิดปัญหาคือการชอบเอาใจผู้อื่นซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าคุณต้องการเข้ากับคนอื่นให้ได้ดี หากคุณมีนิสัยชอบเอาอกเอาใจมากกว่าหัวหน้าของคุณ บางครั้งคุณอาจรู้สึกไม่ค่อยดีกับ feedback ที่ได้รับ และคุณอาจกังวลว่าหัวหน้าของคุณไม่ชอบคุณจากการได้รับ feedback เช่นนั้น กลับกัน หากหัวหน้าของคุณเป็นคนที่มีนิสัยชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นมากกว่าคุณ เขาอาจไม่กล้าให้ feedback ด้านลบกับคุณเพราะกลัวว่าคุณจะไม่พอใจ และจะส่งผลกระทบต่อคุณเพราะบางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าหัวหน้าไม่ได้พึงพอใจกับผลงานของคุณแต่คุณไม่รู้ว่าควรต้องปรับปรุงตรงไหน


หากเป็นอย่างไรกรณีแรก สิ่งที่สำคัญคือการสังเกตว่าหัวหน้าของคุณปฏิบัติกับทุกคนในองค์กรอย่างไรและให้ความสำคัญกับ feedback ที่เกี่ยวกับการทำงานมากกว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณกับหัวหน้า แต่หากเป็นกรณีที่กลับกันคือหากหัวหน้าของคุณเป็นคนที่มีนิสัยชอบเอาอกเอาใจผู้อื่นมากกว่าคุณ คุณควรถามคำถามเจาะจงเกี่ยวกับการทำงานของคุณเพื่อให้ได้ feedback เกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องปรับปรุง การทำเช่นนี้อาจช่วยให้หัวหน้าของคุณเห็นว่าคุณสามารถรับคำวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ได้และพยายามให้ feedback คุณมากขึ้นโดยไม่ต้องรอให้คุณถาม


3. สังเกตไลฟ์สไตล์การทำงาน


คุณจะทำอย่างไรหากสิ่งที่หัวหน้าของคุณให้ความสำคัญนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละวัน? สถานการณ์เช่นนี้พบได้บ่อยหากหัวหน้าของคุณเป็นคนเน้นการตอบสนองเฉพาะหน้ามากกว่าการวางกลยุทธ์ มันอาจทำให้คนรู้สึกไม่แน่ใจว่าในแต่ละวันคุณควรจะให้ให้ความสำคัญกับงานไหนในแต่ละวัน สิ่งสำคัญคือการเช็คกับหัวหน้าของคุณบ่อย ๆ เพื่อปรับจูนการทำงานให้ตรงกัน


4. ให้เวลาปรับตัวซึ่งกันและกัน


ลักษณะนิสัยที่สามที่อาจทำให้เกิดปัญหาคือความเปิดกว้างต่อประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าคุณปรับตัวกับสิ่งใหม่ ๆ ได้ดีแค่ไหน คนที่เปิดกว้างจะมุ่งมั่นในการแสวงหาและเปิดรับโอกาสใหม่ ๆ ส่วนคนที่ปิดกั้นก็จะคอยหาเหตุผลเพื่อหลักเลี่ยงสิ่งใหม่ ๆ เหล่านั้น


หากคุณและหัวหน้าของคุณมีความแตกต่างกันมากในเรื่องของความเปิดกว้าง จะมีคนที่ผลักดันให้อีกคนต้องเปลี่ยนวิธีคิดและอีกคนก็จะพยายามขัดขืน ถ้าหัวหน้าของคุณเป็นคนที่เปิดกว้างน้อยกว่าคุณ คุณควรบอกเขาล่วงหน้าเกี่ยวกับโอกาสหรือแนวทางใหม่ที่เข้ามาก่อนที่จะถึงเวลาที่คุณต้องตัดสินใจเพื่อให้หัวหน้าของคุณมีเวลาปรับตัวกับความแปลกใหม่ของสถานการณ์ก่อนที่จะต้องตัดสินใจ


::::::::::::::::::::::::

สุดท้ายนี้ อย่าลืมว่าคุณไม่จำเป็นต้องชอบหัวหน้าเพื่อที่จะชอบงานของคุณ เพียงแค่สภาพแวดล้อมการทำงานของคุณมั่นคงและคุณสามารถเข้ากับเพื่อนที่ทำงานได้จำนวนหนึ่งก็ถือว่าเพียงพอ คุณยังสามารถจะเรียนรู้การทำงานจากการสังเกตุหัวหน้าของคุณและให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ว่าอะไรทำให้เขาประสบความสำเร็จเพื่อนำบทเรียนนั้นไปปรับใช้เมื่อถึงคราวที่คุณก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำ


อย่างไรก็ตาม นี่เป็นคำแนะนำในกรณีที่หัวหน้าของคุณไม่ได้ทำอะไรที่ไม่เหมาะสมในที่ทำงาน แต่หากคุณมีหัวหน้าที่ตะคอกคุณ สร้างความเกลียดชังในการทำงาน หรือคุกคามคุณ คุณต้องรายงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลทันที คุณไม่ควรจัดการกับสถานการณ์เหล่านั้นด้วยตัวเอง


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search