ส่วนหนึ่งของมหันตภัย COVID-19 คือ มีหลายองค์กรที่ไม่ได้ไปต่อ โดยเฉพาะองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ส่วนที่ไปต่อได้ก็มีไม่น้อยที่ต้องทำ Rightsizing กันอย่างยกใหญ่เพื่อรักษาเส้นเลือดใหญ่ให้หล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญ ๆ ไว้ได้
.
หนึ่งกิจกรรมที่ผู้นำองค์กรและชาวเอชอาร์ต้องลงมือทำคือการบอกข่าวร้ายนี้ให้กับพนักงานที่จะไม่ได้ไปต่อ และถ้าหากสัมภาษณ์ผู้จัดการทุกคนทั่วโลก ก็คงได้คำตอบเดียวกันว่านี่คือ กิจกรรมลำดับต้นๆที่เครียดและกดดันที่สุด
.
เราอาจต้องทำเข้าใจบทบาทผู้นำก่อนว่า นอกจากการที่ต้องมีความเชี่ยวชาญตามสายงานและทักษะการบริหารแล้ว ท่านจำเป็นที่จะต้องมี “ความกล้าหาญ กล้าหาญในการตัดสินใจเรื่องยากๆ กล้าแสดงความรับผิดชอบ กล้ายอมรับว่าตัวเองผิดพลาด รวมถึงกล้าสื่อสารข่าวร้ายกับพนักงาน” แต่เรื่องนี้ไม่ใช้เรื่องง่ายนักเพราะมักจะไปจบลงด้วยการที่ลดทอนน้ำหนักของการสื่อสารลง เลี่ยงไม่พูดถึงสาระสำคัญหรืออาจโกหกเพื่อให้ตัวเองไม่กลายเป็นผู้ร้าย
แนวทางต่อไปนี้อาจช่วยให้ยาขมขวดนี้มีรสชาติที่ไม่แย่เกินไปนัก
.
.
.
? #เตรียมตัวเป็นอย่างดี
การสื่อสารเรื่องยากๆจะง่ายลงมาบ้างหากเราเตรียมตัวและวางแผนไปก่อน การพูดคุยเรื่องการเลิกจ้างส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกและตามมาด้วยการโต้แย้งถกเถียงหรือแม้กระทั่งคราบน้ำตา ควรเริ่มต้นจากการเขียนสคริปต์ในสิ่งที่จะสื่อสาร โดยคาดการณ์ความน่าจะเป็นต่างๆ พร้อมคำถามหรือความขัดแย้งที่อาจจะมี การวางแผนจะช่วยให้เราควบคุมตัวเองที่จะไม่ตอบสนองแบบใช้อารมณ์เพราะจะทำให้สถานการณ์อาจแย่ลง ควรเตือนตัวเองก่อนเข้าสู่การสนทนาว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นมาจากการคิดและตัดสินใจมาอย่างดีแล้ว
.
.
? #เลือกทำเลที่เหมาะสม
การให้เกียรติและเคารพในความเป็นส่วนบุคคลของลูกจ้างเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกของการสนทนา สถานที่แจ้งข่าวลักษณะนี้ต้องปราศจากผู้อื่นโดยสิ้นเชิง หากเป็นไปได้ควรใช้ห้องที่มองไม่เห็นจากภายนอก คู่สนทนาอาจแสดงความรู้สึกต่างๆออกมาซึ่งต้องไม่ทำให้พวกเขาต้องรู้สึกเสียหน้าหรืออับอาย และในทางกลับกันหากสถานการณ์อาจนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง ท่านควรเลือกสถานที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของท่านด้วย
.
.
? #ตรงไปตรงมาอย่างให้เกียรติ
จากการเปิดเผยของเหล่าผู้บริหารทั่วโลกต่างยอมรับว่าวิธีที่ดีที่สุดในการสนทนาเรื่องการเลิกจ้างคือ การสื่อสารตรงๆแบบไม่อ้อมค้อม ควรเล่าเหตุและผลตามความเป็นจริงมากกว่าการจะให้น้ำหนักในการรักษาน้ำใจกันจนการสื่อสารนั้นกำกวมและเป็นเป็นเหตุให้แปลความผิด เป็นการสนทนาที่ไม่ควรใช้เวลานานเกินไปเพราะเราไม่สามารถปรับเปลี่ยนผลลัพธ์ของมันได้อยู่ดี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้เกียรติคู่สนทนา ส่วนการแสดงความเห็นอกเห็นใจและการช่วยเหลือเป็นการส่วนตัวต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ที่ท่านมีต่อลูกจ้างรายนั้นๆ
.
.
? #ไม่เปิดช่องให้มีการต่อรอง
ต้องยอมรับว่าการสื่อสารเพื่อเลิกจ้างเป็นเพียงการ ”แจ้งให้ทราบ” คำถามประมาณ “ทำไมต้องเป็นผม” “ทำไมบริษัทต้องเลือกวิธีการนี้” “ทำไมบริษัทไม่นึกถึงความทุ่มเทที่ผมมีให้” จะมีอยู่ในการสนทนาลักษณะนี้ ท่านควรรับฟัง แสดงความเห็นใจและอธิบายด้วยเหตุผลโดยมีเป้าหมายที่จะให้การสนทนานี้จบลงแบบไม่มีการต่อรอง แผนและสคริปต์ที่ท่านวางไว้จะช่วยท่านได้มากไม่ให้หลุดไปจากวัตถุประสงค์ของการสนทนา
.
.
.
A Cup of Culture