ย้อนกลับไปไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ หลายคนคงนึกไม่ออกเลยว่าถ้าเราจะต้อง Work from Home กันจริง ๆ จะเป็นยังไง จนถึงวันนี้ หลายคนน่าจะพอคุ้นชินกับการ Work from Home กันบ้างแล้ว แม้ว่าหลาย ๆ สิ่งอาจจะยังไม่เข้ารูปเข้ารอย แต่เราก็ได้ยินข้อดีที่ได้ค้นพบเกี่ยวกับการ Work from Home อยู่มากมายเลยทีเดียว เช่น การประหยัดเวลาในการเดินทางไปได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อวัน การย้ายห้องประชุมได้ใน 1 คลิก การค้นพบว่าการประชุมที่เคยใช้เวลาถึงครึ่งวันจริง ๆ แล้วเราสามารถหาข้อสรุปได้ภายใน 1 ชั่วโมง รวมถึงการได้เยี่ยมบ้านเพื่อนร่วมงานได้หลาย ๆ คนพร้อม ๆ กัน
.
.
จากเหตุการณ์นี้ เราจะเห็นได้ว่าคนเราสามารถปรับตัวได้รวดเร็วในเวลาที่คับขัน กรณี Work from Home เป็นเพียงแค่ตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ถ้ามาลองทบทวนดู COVID-19 ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตในหลาย ๆ ด้าน แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายไปซะทุกเรื่องแต่ก็ทำให้เราได้เห็นบางวิธีที่จริง ๆ แล้วอาจจะดีกว่า และแม้ต่อให้ COVID-19 ผ่านไปแล้ว สิ่งที่ได้เรียนรู้จากช่วงเวลานี้ก็อาจจะทำให้การใช้ชีวิตของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
.
.
A Cup of Culture ได้รวบรวมความเปลี่ยนแปลงที่จะอาจจะเกิดขึ้นในการทำงานในอนาคตดังนี้
.
.
1. บทบาทของการประชุมผ่าน VDO เนื่องจากการประชุมผ่าน VDO ที่ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วง Social Distancing สามารถปิดช่องว่างของการประชุมทางโทรศัพท์ และเติมเต็มการปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวโดยการแสดงให้เห็นภาษากาย ในอนาคตการเดินทางเพื่อการประชุมอาจลดลง รวมถึงสามารถลดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมให้เหลือแต่เพียงผู้ที่มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ เนื่องจากสามารถบันทึกการประชุมสำหรับผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้
.
.
2. การใช้สำนักงานในการทำงาน ผลจากความสามารถในการประชุมผ่าน VDO และระบบเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารงานในช่วงนี้ อาจทำให้พบว่าจริง ๆ แล้วการเข้ามาทำงานในสำนักงานทุกวันอาจไม่จำเป็นอีกต่อไป โดยเฉพาะในบางลักษณะงานที่ค่อนข้างเป็นเอกเทศ เช่นการวิเคราะห์ การออกแบบ หรือการตรวจสอบข้อมูลเป็นต้น
.
.
3. การรักษาความปลอดภัยด้าน IT หรือ Cyber Covid-19 ทำให้หลาย ๆ องค์กรเห็นถึงความสำคัญในการเก็บรักษาข้อมูลให้พนักงานเข้าถึงได้จากทุกที่ในกรณีฉุกเฉิน แต่การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลยังเป็นประเด็นที่ต้องระวัง การวางแผนการพัฒนาหรือการลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยด้าน IT หรือ Cyber จึงอาจเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง
.
.
4. สมรรถนะที่จำเป็นเพิ่มขึ้น แต่ละองค์กรมีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน แต่จากเหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นว่าสิ่งที่ทุก ๆ องค์กรและคนในองค์กรควรมีคือความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางวิกฤติ เช่นความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน ความรวมรวดเร็วในการตอบสนอง การคิดริเริ่มสิ่งใหม่ การคำนึงถึงสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
.
.
5. การดูแลรักษาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนให้เกิดความสามารถในการปรับตัวที่รวดเร็ว องค์กรอาจต้องวางแผนทบทวนการดูแลรักษาทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การคัดสรร สนับสนุนทรัพยากร ทักษะ ที่จำเป็น การบริหารจัดการยามฉุกเฉิน ตลอดจนการดูแลด้านการป้องกันและรักษาสุขภาพที่เพิ่มขึ้น
.
.
“ไม่ใช่ผู้ที่มีภูมิปัญญาที่ดีที่สุด ไม่ใช่ผู้แข็งแกร่งที่สุด แต่ผู้ที่ปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้คือผู้ที่จะอยู่รอด”
– Leon C. Megginson, Civilisation Past and Present, 1963
.
.
การเดินทางฝ่าวิกฤติในครี้งนี้ยังไม่จบสิ้น และนี่อาจจะไม่ใช่บทสรุปสุดท้าย แต่สิ่งสำคัญที่เราได้เรียนรู้คือการไม่ปล่อยให้วิกฤตินั้นเกิดขึ้นและผ่านไปอย่างสูญเปล่า
.
.
A Cup of Culture
ที่มาของบทความ
https://www.linkedin.com/pulse/covid-19-forever-change-our-ways-working-hugh-ujhazy/