ในยุคที่เศรษฐกิจย่ำแย่ หลายองค์กรยอมถอย ในขณะที่องค์กรที่แข็งแรงมากพอ ยังคงสู้ต่ออย่างไม่ถดถอย มีการแตก Business Unit ย่อยออกมา หรือผู้ประกอบการบางคนก็เริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสำหรับธุรกิจยุคใหม่แบบ STARTUP CULTURE จึงเป็นสิ่งที่ใครหลายคนให้ความสนใจมากในปัจจุบัน
.
.
Startup Culture มีความแตกต่างจาก วัฒนธรรมองค์กรทั่วไปเพราะวัฒนธรรมนี้จะต้องสะท้อนมาจากตัวบุคคลและ passion ของกลุ่มผู้บริหาร แต่นี้ไม่ได้หมายความว่าพนักงานไม่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรม แต่ผู้บริหารจะต้องเป็นแรงขับเคลื่อนในการสร้างวัฒนธรรมอย่างแท้จริงโดยเฉพาะในกลุ่ม Startups เนื่องจากโครงสร้างองค์กรเป็นแบบ Flat มากกว่า จึงทำให้พนักงานในองค์กรมีความใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น
.
.
โดยส่วนมากวัฒนธรรมองค์กรแบบ Startup มักจะให้ความสำคัญในเรื่องของ Work-Life Balance และมีความยืดหยุ่นมากกว่าวัฒนธรรมองค์กรใหญ่ และสิ่งสำคัญพื้นฐานในการสร้าง STARTUP CULTURE เริ่มต้นจากการระบุ Mission, Core Values และสื่อสารให้ทั่วถึงอย่างชัดเจน และเพื่อจะทำให้วัฒนธรรมนี้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 4 ส่วนดังนี้
.
.
.
? 1) #ผู้นำจะต้องเป็นแบบอย่าง
โดยใช้การแสดงออกทางพฤติกรรมตามค่านิยมต่างๆ มาเป็นตัวผลักดันวัฒนธรรมควบคู่กันไป การทำ mission ต่างๆ ซึ่งหากพนักงานไม่เชื่อใจ อาจส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมที่ไม่ดีแทน ตัวอย่างการเป็นแบบอย่างที่ดี ที่เริ่มได้ง่ายๆ เช่น
○ ทำตามสัญญา
○ เคารพในหน้าที่และตามสายบังคับบัญชา
○ รับผิดชอบในหน้าที่
○ รับฟังความคิดเห็น
○ ให้ทีมทำตามสไตล์ของเขา
○ ดูแลตัวเอง
.
.
.
? 2) #จ้างอย่างระวัง
ในกระบวนการคัดเลือกพนักงาน ไม่เพียงแต่ประเมินในด้านทักษะการทำงาน แต่ต้องดูว่า “Culture Fit” หรือไม่ ดูพื้นฐานค่านิยมของผู้สมัครว่าเป็นไปในทางเดียวกับขององค์กรหรือไม่ และอีกมุมหนึ่งที่องค์กรเองก็ต้องพร้อมให้คำตอบกับคำถามสุดฮิตจากผู้สมัครที่สนใจใน Startup ด้วยเพื่อที่จะสามารถดึงดูด Talent ที่ใช่ได้อยู่หมัด ตัวอย่างเช่น
○ เขาจะได้เรียนรู้อะไร
○ เขาสามารถเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ผู้นำได้แค่ไหน?
○ Company Values (ค่านิยมองค์กร) มีอะไรบ้าง
○ แผนจ้างช่วง 30-60-90 วันเป็นอย่างไร?
○ อะไรที่ถือเป็นความสำเร็จขององค์กรบ้าง และเขาจะต้องโดนประเมินด้วยอะไรบ้าง?
○ Team structures เป็นอย่างไร และบรรยากาศในทีมเป็นอย่างไร?
○ แผนการลงทุนในปัจจุบันขององค์กรเป็นอย่างไร? และแผนในอนาคตเป็นอย่างไร?
○ นโยบายตอนออกขององค์กรเป็นอย่างไร?
○ มีคนเคยลาออกจากองค์กรหรือไม่? เพราะอะไร?
.
.
.
? 3) #การชื่นชมและให้รางวัลพนักงาน
จุดเริ่มต้นของการให้กำลังใจพนักงาน ช่วยสร้างขวัญและกำลังใจ ทำให้พนักงานผูกพันและรักองค์กร ลองสร้าง “Employee Spotlights” โครงการชื่นชมพนักงาน ให้ตัวแทนพนักงานได้พูดถึงเกี่ยวกับองค์กรของคุณ อาจอัดเป็น VDO ใช้ในการสื่อสารในองค์กรก็ได้ หรือ “Peer to Peer Shoutouts” ที่เปิดโอกาสให้พนักงานพูดถึงองค์กรในหัวข้อต่างๆ ในการทำงานกับองค์กร เช่น
○ Company Culture (วัฒนธรรมองค์กร)
○ Employee Engagement (ความผูกพันของพนักงาน)
○ Team Culture (บรรยากาศการทำงานของทีม)
○ Leadership (ผู้นำของเขา)
○ Mission and Core values (ภารกิจและค่านิยม)
○ Accomplishments and success stories (เรื่องราวที่ประสบความสำเร็จ)
○ Resources and opportunities (ทรัพยากรและโอกาสต่างๆ)
○ Professional growth (ความก้าวหน้าในสายอาชีพ)
○ Passion Projects (โครงการที่เป็นแรงบันดาลใจ)
○ Perk and benefits (สิทธิพิเศษ และสวัสดิการต่างๆ)
○ Employer Testimonials (รางวัลและการได้รับชื่นชมขององค์กร)
.
.
.
? 4) #ประเมินวัฒนธรรมองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
เพราะบริษัทที่เป็น Startup มักเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น คุณต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ซึ่งรวมถึงวัฒนธรรมองค์กรด้วย จึงควรตรวจเช็ควัฒนธรรมองค์กรให้พร้อมรับกับสิ่งที่คุณกำลังเติบโตไป คนของคุณมีการพัฒนาตามทันหรือไม่ ซึ่งคุณอาจใช้ pulse check หรือ employee engagement survey เพื่อประเมินคนในองค์กรของคุณ
.
.
.
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
.
.
.
ที่มาจาก:
https://builtin.com/company-culture/startup-culture
https://online.hbs.edu/blog/post/startup-interview-questions
https://builtin.com/company-culture/cultural-fit
https://www.inc.com/brent-gleeson/7-ways-to-lead-by-example.html