แม้จะมีการระบาดขึ้นมาอีกรอบ แต่ข่าวดีก็คือในตอนนี้วัคซีนโควิด 19 ก็ใกล้จะมาถึงให้คนไทยได้ใช้กันในอีกไม่กี่เดือนแล้วนะครับ ในส่วนของคนถ้าวัคซีนเริ่มแพร่หลายกันมากขึ้น เราก็จะสามารถหมดห่วงไปอย่างน้อยในด้านของสุขภาพร่างกายไปได้หนึ่งเรื่องเลยทีเดียว เพราะถือเป็นหนึ่งในข้อดีของมนุษย์ที่เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่ปรับตัวได้เก่งมาก ๆ
แต่แน่นอนว่า อีกส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่นกัน ก็คือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมหาศาลจากการระบาดของโควิดตั้งแต่จากมาตรการ lock down ต่าง ๆ การต้องปรับตัวเพื่อ Work from Home หรือการต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลกระทบทางอ้อมจากการแพร่ระบาดเหล่านี้เช่นกัน ซึ่งเศรษฐกิจไม่ว่าประเทศไหน ๆ เองก็คงไม่สามารถฟื้นตัวได้ภายในระยะเวลาอันสั้นเหมือนร่างกายคนเรา เพราะเราไม่ได้วัคซีนสำหรับองค์กร หรือบริษัทในแบบที่ฉีดใส่ได้เลย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าองค์กร และบริษัทจะไม่มีตัวช่วยในการป้องกันตัว และช่วยฟื้นฟูตัวเองจาก COVID-19 เลยเสียทีเดียว เพราะระหว่างปี 2020 ที่ผ่านมามีงานวิจัยจากหลาย ๆ แห่งที่ค้นพบว่ามีปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากต่อการที่แต่ละองค์กรได้รับผลกระทบมากหรือน้อยแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรในภาคธุรกิจไหนก็ตามแต่ และปัจจัยสำคัญนั้นที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นวัคซีนสำหรับองค์กรนั้นก็คือ “วัฒนธรรมองค์กร” นั่นเอง
อย่างเช่น ในงานศึกษาของ KPMG เขาพบว่าเกินครึ่งหนึ่งของผู้บริหารองค์กรชั้นนำของโลก 300 แห่งบอกว่า “วัฒนธรรมองค์กรนี่แหละสิ่งหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลให้องค์กรสามารถตั้งตัวได้จาก COVID-19” และสถานบันวิจัย O.C. Tanner Institute ได้ตีพิมพ์รายงาน 2021 Global Culture Report ออกมา ผ่านการเก็บข้อมูลจากพนักงานกว่า 40,000 คนจาก 20 ประเทศทั่วโลก ออกมาเป็นเป็นบทสรุปของปี 2020 ในด้านวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งด้วยการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้น ปีที่ผ่านมาจึงเป็นปีที่หลาย ๆ องค์กรพบว่าวัฒนธรรมของตัวเองนั้นต้องถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และองค์กรที่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กรหลาย ๆ แห่งก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนามันอย่างต่อเนื่อง
แต่อีกเรื่องที่น่าสนใจกว่าคือในงานสำรวจชิ้นนี้คือจากข้อมูลกว่า 13 ล้านชุดข้อมูล O.C. Tanner Institute เขาก็ได้แบ่งองค์กรออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1. องค์กรที่วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรง กับ 2. องค์กรที่วัฒนธรรมองค์กรไม่แข็งแรง และทำการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบว่าสองกลุ่มนี้เขาได้รับผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ซึ่งผลที่ได้ออกมาเน้นย้ำความสำคัญ และบทบาทของวัฒนธรรมในฐานะวัคซีนสำหรับองค์กรท่ามกล่างวิกฤติ COVID-19 นี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้:
.
ในด้านของ Employee Engagement องค์กรทั่วไปได้รับผลกระทบลดลงจากปีก่อนถึง 52% ในขณะที่องค์กรที่วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรงนั้นเองก็ลดลงเช่นกัน แต่ลดลงเพียง 1% เท่านั้น เรียกไว้ว่าแทบจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ เลย และในด้านอื่น ๆ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างในด้านของ Employee Retention จากองค์กรทั่วไปจะอยู่ที่ -53% กลุ่ม Culture แข็งแรงนั้นลดลงเพียง 2% เท่านั้น ในขณะที่ในด้านของอัตราการเกิด Burn out ของพนักงานที่องค์กรทั่วไปจะเพิ่มมากกว่าปีก่อนถึง 81% หรือเกือบ ๆ สองเท่า องค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรดีก็เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 13% เท่านั้นเอง สุดท้ายคือในด้านของความพึงพอใจโดยรวมที่องค์กรทั่วไปนั้นลดฮวบลงไป 49% ด้วยผลจาก COVID-19 องค์กรที่วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรงนั้นโดยรวมลดลงไปเพียง 1% เท่านั้น เรียกได้ว่าหากมองจากมุมนี้แล้ววัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงช่วยป้องกันอาการต่าง ๆ โควิดที่เกิดขึ้นกับองค์กรได้ชะงัดเลยทีเดียว
===============================
โดยที่ HP หนึ่งในองค์กรที่ติดแรงค์ Top Culture เขาก็อธิบายในมุมของเขาไว้ว่า
“เราใช้วัฒนธรรมองค์กรในการฝ่าวิกฤตินี้ เพราะวัฒนธรรมเราให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกัน และสนับสนุนกันและกันอยู่แล้ว ในสภาวะแบบนี้ทำให้เรายิ่งเข้าหาพนักงานของเรามากกว่าแต่ก่อน เราใช้การทำงานแบบ Agile ของเราในการตอบสนองความต้องการของพนักงานเราท่ามกลางสภาวะนี้ มันทำให้เราได้เรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง จนสามารถที่จะทำบางอย่างที่ในสถานการณ์ปกติจะใช้เวลาเป็นปี แต่ตอนนี้กลายเป็นแค่ไม่กี่สัปดาห์”
และสาเหตุที่ Culture สามารถเป็นวัคซีนให้กับองค์กรได้อย่างดีมันเป็นเพราะในสภาวะวิกฤติใด ๆ ก็ตามการตัดสินใจต้องรวดเร็ว และอาศัยการทำงานร่วมกันในระดับที่ไม่เคยเห็นมีก่อน และการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจนและทุกคนเห็นจุดมุ่งหมายไปทางเดียวกันช่วยให้พนักงานสามารถตัดสินใจได้อย่างฉับไว้ โดยไม่ต้องให้การตัดสินใจไปกองอยู่แค่ที่หัวหน้าเท่านั้น
===============================
Success Story ที่เราสามารถเห็นได้ชัดมากคือ Zoom หนึ่งในองค์กรที่ได้รับการยกย่องว่า Culture ดีที่สุด ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญว่าทำไมในปีที่ผ่านมา No name อย่าง Zoom ถึงครองตลาด Video conference ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งที่ธุรกิจนี้มีมานานแล้ว และมีผู้เล่นยักษ์ใหญ่อยู่หลายเจ้าที่เราก็รู้จักกันดีเช่น Meet จาก Google หรือ ของ Microsft ที่มีทั้ง Team และ Skype โดยเฉพาะ Skype ที่ก่อนหน้าที่เราเคยใช้เป็นเป็นคำกริยาเรียกแทน Video Call มาหลายปี แต่ตอนนี้เราใช้ Zoom เป็นกริยาแทนไปแล้ว
===============================
อีกประเด็นสำคัญคือในสภาวะวิกฤติการสื่อสาร และความโปร่งใสกลายมาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด งานวิจัยจาก MIT Sloan พนักงานที่ทำงานในองค์กรที่วัฒนธรรมองค์กรดีนั้นเมื่อเจอกับ COVID-19 ยิ่งมีความพึงพอใจในวัฒนธรรมองค์กรตัวเองมากขึ้นกว่าเดิมอย่างก้าวกระโดด
เพราะในสภาวะวิกฤติพนักงานจะมีการพูดคุยกันเองในเรื่องของการสื่อสารในองค์กรมากกว่าในสถานการณ์ปกติถึง 2 เท่าทั้งในแง่ดี และแง่ร้าย ทำให้องค์กรที่สื่อสารชัดเจน และฉับไวพนักงานจะยิ่งรักองค์กรขึ้นอย่างมาก และในทางตรงกันข้ามองค์กรที่พลาดในเรื่องนี้ความไม่พอใจของพนักงานก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติเช่นกัน การมีวัฒนธรรมองค์กรให้สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และโปร่งใสจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าเราปล่อยให้วัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้นตามธรรมชาติการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนมักจะกลายเป็นปัญหาสำคัญลำดับแรกของหลาย ๆ องค์กร
การศึกษาเหล่านี้ช่วยให้เราเห็นภาพได้ชัดขึ้นถึงอิทธิพลของการมีวัฒนธรรมองค์กรในการฝ่าวิกฤติต่าง ๆ และในระหว่างนี้เองก็เป็นช่วงเวลาทองของการกลับมามองปรับเปลี่ยน และออกแบบวัฒนธรรมองค์กรให้รับมือกับวิกฤติต่าง ๆ ทั้งปัจจุบันและที่จะมาถึงได้ เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้องค์กรของท่าน เพราะดังเช่นที่ใน Podcast ของเราย้ำบ่อย ๆ ว่าไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตามวัฒนธรรมองค์กรก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี ทำไมเราไม่มาสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เราอยากให้เป็นกันล่ะครับ
A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture
ที่มาบทความ:
https://www.octanner.com/content/dam/oc-tanner/images/v2/culture-report/2021/GCR-2021-sm.pdf
https://sloanreview.mit.edu/article/how-companies-are-winning-on-culture-during-covid-19/