ลดแรงต้านการเปลี่ยนแปลง ด้วยกลไกลสำคัญของ Change Agent


เมื่อ Change Agent เข้ามามีบทบาทในการเป็น “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ในองค์กร  สิ่งที่ Change Agent ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ “การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง” โดยเฉพาะหากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อกระบวนการ หรือวิธีการทำงาน อย่างเช่น การไปสู่องค์กรบริหารจัดการแบบลีน (Lean Management Transformation) คนกลุ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบที่สุดคือ กลุ่มคนที่อยู่ในส่วนดูแลลูกค้า (Frontline) ขององค์กร ซึ่งในที่สุดเป็นเป็นคนหลักของกระบวนการใหม่ที่จะเกิดขึ้น อาจมองว่าระบบที่เข้ามาใหม่นั้นเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน และเกิดการต่อต้านอย่างไม่รู้ตัว


เพื่อให้สามารถข้ามผ่านการต่อต้านเหล่านั้นได้ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องเข้ามาผลักดันให้ โปรแกรม Change Agent เป็นที่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญในการผลักดันให้สามารถดำเนินกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่น โดยสื่อสารอย่างจริงจัง และสนับสนุนนโยบายให้เกิดการทำงานระหว่าง Change Agent และหัวหน้างานทั้งหมดขององค์กร  


โดยองค์กรควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสมดุลความใกล้ชิดและระยะห่าง ระหว่าง Change Agent กับคนในกลุ่มพนักงาน โดยให้เกิดการจัดสรรเวลาอย่างน้อย 50% ของเวลาของทำงานประจำทั้งหมดของ Change Agent ในการลงไปหน้างาน เพื่อสร้างสัมพันธ์กับพนักงานแต่ละส่วนงาน เพราะการพูดคุยพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เป็น พนักงาน Frontline ได้เป็นอย่างดี


ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการช่วยสร้างสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ระหว่าง change agent และพนักงาน Frontline ให้มีระยะห่างที่เหมาะสม จึงต้องมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น พนักงาน Frontline ต้องการความมั่นใจว่า  change agent ไม่ได้ขึ้นตรงต่อหัวหน้างานของเขา Change Agent จึงปกป้องไม่ให้พวกเขาต้องรับงานมากเกินไป เพื่อให้มีเวลาบางส่วนมาทำกิจกรรมการเปลี่ยนแปลง หรือ ทำให้รับรู้ว่าผลกระทบต่างๆที่เกิดจากโครงการไม่ได้ส่งผลต่อการประเมินผลงานส่วนตัว


ดังนั้น  Change Agent จะต้องมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อความสำเร็จ หรือความคืบหน้าต่างๆของโครงการที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน


และโปรแกรมที่ดีที่ที่สุด ควรจะมีการส่งเสริมด้วยกระบวนการที่เป็นทางการ เพื่อให้มั่นใจว่า Change Agent และ หัวหน้างาน จะทำงานสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยส่งเสริมให้หัวหน้างานเข้าร่วมการเรียนรู้ในโครงการการเปลี่ยนแปลง และมีบทบาทในการเป็นพันธมิตรร่วมกับ Change Agent โดยพบปะเพื่อพูดคุยกันเป็นประจำถึงความคืบหน้าและร่วมกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค


สุดท้าย ระหว่างที่โครงการการเปลี่ยนแปลงกำลังดำเนินอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดการพึ่งพา Change Agent ที่มากเกินไป  องค์กรควรพยายามลดบทบาทของ Change Agent อย่างเป็นทางการลง  เพื่อให้มั่นใจว่าแต่ละส่วนงานจะรับผิดชอบในการพัฒนาและปรับปรุงงานในส่วนของตนเองได้อย่างเต็มที่

.
.
A Cup of Culture


.
.
แหล่งที่มาข้อมูล:

https://www.mckinsey.com/business-functions/operations/our-insights/the-change-agent-challenge

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn