Hubert Joly อดีต CEO ของ Best Buy เคยเล่าว่าตอนที่เขาเริ่มทำงานแรก ๆ กลยุทธ์ (Strategy) มักถูกมองว่าเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ แต่ในช่วงหลังมานี้ตัวแปรสำคัญที่เข้ามาแทรก และเปรียบเสมือนเป็นดาวเหนือคอยนำทางองค์กรกลายมาเป็นเป้าหมาย (Purpose) ขององค์กรแทน แต่กระนั้นก็ยังเกิดช่องว่างใหญ่ระหว่างเป้าหมายที่องค์กรมุ่งหวังกับสิ่งที่พนักงานสัมผัสได้จริง ๆ นั่นแปลว่าแค่เพียงการประกาศเป้าหมายขององค์กรออกไปอย่างเดียวคงจะไม่เพียงพอ เพราะตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ยังขาดหายไปคือ วัฒนธรรมองค์กร (Culture)
คุณ Hubert เชื่อในความสัมพันธ์ระหว่าง Purpose, Strategy และ Culture เพราะจากประสบการณ์การทำงานที่ Best Buy ทำให้เขาเห็นว่า Culture นั้นคือสิ่งที่ทำให้ทั้ง purpose และ strategy เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง และนั่นทำให้คุณ Hubert มองว่าในฐานะผู้นำองค์กรควรที่จะลงแรงกับการทำ Culture มากขึ้น
🔰 The Purpose – Strategy – Culture Triangle
สิ่งที่ Best Buy และองค์กรอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จเช่น Microsoft หรือ Netflix มีร่วมกันคือการมี Culture ที่เปรียบเสมือนแปลงดินสำหรับการเพาะปลูกที่ใส่ดินชั้นดีเอาไว้ ที่ทำให้ทั้ง purpose และ strategy เกิดขึ้นจริง โดยจากประสบการณ์ของคุณ Huber เขามองว่า ความว้าวมันเกิดขึ้นเมื่อองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างคือ purpose, strategy และ culture นั้นมาบรรจบ และทำงานร่วมกันอย่างลงตัว เพราะนั่นหมายถึงจุดที่พนักงานของเราพร้อมที่จะร่วมมือกันสนับสนุน purpose และ strategy องค์กรให้เกิดขึ้นจริง
โดยคุณ Hubert เขามอง purpose, strategy และ culture เป็นสามเหลี่ยม โดยที่แต่ละมุมส่งผลต่อกันและกัน และเมื่อมุมใดมุมหนึ่งขยับอีกมุมต้องขยับตามเพื่อไม่ให้สามเหลี่ยมที่เป็นองค์กรแตกออกจากกัน ซึ่ง CEO ควรที่จะโฟกัสกับมุมใดมุมหนึ่งของสามเหลี่ยมก่อนตามแต่ละบริบทขององค์กร มากกว่าการพยายามทำทั้งสามมุมไปพร้อม ๆ กันไม่อย่างนั้นผลลัพท์ที่ออกมาจะเป็นผลลัพท์แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
โดยคุณ Hubert เล่าว่าในยุคที่เขาเป็น CEO ของ Best Buy ในปี 2012 องค์กรในตอนนั้นมีปัญหาหนักมาก เขาจึงโฟกัสกับการพยายามซ่อมรูปแบบการทำงาน หรือก็คือการโฟกัสกับในมุมของ Strategy ให้มีความ stable เพื่อที่จะกอบกู้องค์กรจากการล้มละลาย และนั่นไม่ใช่เวลาของการมาวาดภาพสวยหรูของ purpose หรือปั้น culture เวลาแบบนั้นต้องการแก้ไขและพัฒนางานในแบบตรงไปตรงมาและความพยายามในการกอบกู้องค์กรนี้ยังได้จุดไฟของวัฒนธรรมองค์กรในตัวพนักงานอีกด้วย โดยภายหลังจากที่องค์กรมีเสถียรภาพขึ้นมาแล้ว Best Buy ก็พร้อมที่จะ move on ไปยังการพัฒนา Purpose ในระยะยาวในด้านของการใช้ Tecnology เพื่อพัฒนาชีวิตคน พร้อมปรับ Strategy ให้เป็นไปตามนั้น และเริ่มต้นลงมือปั้น Cul-ture ของ Best Buy ในแบบที่จะตอบโจทย์ Purpose ขึ้นมา
:::::::::::::::
และจากโมเดลนี้คุณ Hubert ก็ได้อธิบายหลักการของเขาในการปั้น Culture ไว้ว่านอกเหนือจากการเป็นแบบอย่างของตัวผู้นำที่เป็นปัจจัยสำคัญแล้ว ในทุก ๆ องค์กรจะมีคันโยกอยู่ 3 อันที่ใช้หลัก ๆ คือ คันโยกธุรกิจ คันโยกการจัดการ และ คันโยกมนุษย์
🔶 Business levers
เริ่มจากคันโยกธุรกิจที่แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจใด ๆ นั้นก็ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรโดยตรงเสมอ เช่น ถ้าธุรกิจขององค์กรโฟกัสกับการแก้ pain points ของลูกค้า พนักงานจะเริ่มมีความเข้าใจมุมมองของลูกค้ามากขึ้นผ่านการทำงาน และนั่นส่งผลโดยตรงต่ออนาคตขององค์กรในการพัฒนาแผนในอนาคตให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้าใจลูกค้า
โดยที่ Best Buy จากเดิมที่เน้นการขยาย Brand ตัวเอง เปลี่ยนแผนเป็นการทำงานร่วมกับแบรนด์อื่น ๆ อย่าง Apple, Mi-crosoft หรือ Sony ในการทำแบรนด์ร่วมกันภายในร้านค้าของ Best Buy นั้นช่วยเปลี่ยนมุมมองให้ตัวพนักงานเองมอง Best Buy เปลี่ยนไปจากการเป็นแค่ร้านขายของที่มุ่งแต่การหาลูกค้า และขยายแบรนด์ กลายเป็นองค์กรที่พร้อมทำงานกับ Partner เพื่อช่วยให้คนเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
🔷 Management levers
กระบวนการบริหารจัดการเองก็ส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรโดยตรง ตั้งแต่ในด้านที่ว่าเราให้อำนาจกับคนแบบไหน เรามองหาคนแบบไหนเข้ามาร่วมงาน เรายอมปล่อยให้พนักงานทำพฤติกรรมแย่ ๆ ได้ไหมถ้าเขาทำงานเก่ง กระบวนการตัดสินใจเกิดขึ้นอย่างไรในองค์กรของเรา และส่วนอื่น ๆ อีกมากมายในกระบวนการบริหารองค์กรต่างส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กรทั้งสิ้น
ยกตัวอย่างเช่นที่ Netflix ระเบียบในการเบิกค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ของขวัญ สวัสดิการ และอื่น ๆ นั้นมีอยู่แค่ข้อเดียวเลยก็คือ “เพื่อประโยชน์สูงสุดของ Netflix” แต่การที่ Netflix สามารถทำแบบนี้ได้นั้นเป็นเพราะเขาได้ใช้คันโยกบริหารอย่างเต็มที่เช่นกัน ตั้งแต่การ Recruit เฉพาะคนที่เก่งแบบสุดโต่ง และออกแบบระบบการบริหารจัดการให้กระจายศูนย์ได้เต็มที่เพื่อให้พนักงานทุกคนตัดสินใจในด้านของตัวเองได้อย่างอิสระ และมีกระบวนการให้ Feedback ที่ชัดเจน
และสำหรับองค์กรทั่วไปที่ไม่ได้สุดโต่งระดับ Netflix สามารถเริ่มต้นใช้คันโยกบริหารนี้ได้ผ่านการปรับเปลี่ยนโยบายการประชุมผู้บริหารให้เป็นการเริ่มหัวข้อพูดคุยเป็นเรื่องเกี่ยวกับคน และปัญหาในองค์กร แล้วค่อยตามมาด้วยหัวข้อของธุรกิจ และการเงิน ทั้งหมดนี้คือการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่จะช่วยให้เหล่าผู้บริหารชินกับการมีวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับพนักงาน
🔶 Human magic levers
สุดท้ายนี้คือคันโยกมนุษย์ ที่เป็นส่วนสำคัญและตัวที่เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกัน สร้างสภาพแวดล้อมที่พนักงานกระตือรือร้นที่จะทุ่มพลังงาน และความสามารถทั้งหมดให้แก่ Purpose ขององค์กร โดยคันโยกนี้มี 6 วัตถุดิบที่เป็นส่วนสำคัญคือ :
▫️ Meaning: เราจะส่งเสริมให้พนักงานเชื่อมโยงแรงบันดาลใจส่วนตัวกับงานได้อย่างไร ?
▫️ Human connections: เราจะสร้างสภาพแวดล้อมที่พนักงานเราสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้อย่างไร ?
▫️ Autonomy: เราจะให้อิสระกับพนักงานในระดับที่เพียงพอให้พวกเขาทำงานได้เต็มศักยภาพได้อย่างไร ?
▫️ Psychological safety: เราจะทำอย่างไรให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะเป็นตัวเอง และพูดความคิดเห็น ความรู้สึกได้อย่างอิสระ ?
▫️ Mastery: เราสามารถสร้างการเรียนรู้ และส่งเสริมความมั่นใจของพนักงานได้อย่างไร ?
▫️ Growth mindset : องค์กรจะส่งเสริมการเติบโตของพนักงานได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ?
การระบุวัฒนธรรมองค์กรให้ชัดเจนนั้นจะช่วยให้องค์กรตอบคำถามเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น และใช้ทั้ง 3 คันโยกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นวิธีที่ Best Buy ใช้ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความเป็นมนุษย์ พร้อมกับตอบโจทย์ทั้ง Purpose และ Strategy
::::::::::::::::::::::
ในปัจจุบัน Strategy ไม่ใช่สิ่งเดียวที่องค์กรควรโฟกัสอีกต่อไป เพราะโลกเรามีความไม่แน่นอนเยอะมากขึ้น จนการวาง Strategy จากบนลงล่างแบบเดิม ๆ ใช้ไม่ได้อีกต่อไป และต้องอาศัยการปรับตัวอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น มีองค์กรไหนบ้างที่สามารถวางแผน Strategy โดยคาดเดาการระบาด Covid ไว้ล่วงหน้าได้สำเร็จ หรือมีกี่องค์กรที่มีแผนกลยุทธ์พร้อมใช้สำหรับรับมือกับสงคราม Ukrain-Russia ด้วยสภาพแวดล้อมที่คาดเดาได้ยาก และเปลี่ยนแปลงเร็วนี้ สิ่งสำคัญสำหรับองค์กรจึงต้องรวมไปถึงการที่องค์กรมี Purpose ช่วยนำทางท่ามกลางความไม่แน่นอนทั้งหมด และมี Culture เป็นหลักการในการดำเนินการไปด้วยกัน พร้อมกับให้ทั้ง 3 ชิ้นส่วนนี้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อพาองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้อง
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
Corporate culture
Organizational culture
.
.