ภัยเงียบของวัฒนธรรมองค์กรแบบ “โลกสวย”

คุณเคยเข้าร่วมการประชุมที่ไม่เหมือนการประชุมไหม? ทุกคนพูดจาดีและเห็นพ้องต้องกันในห้องประชุม แต่กลับไม่มีใครแสดงความเห็นหรือวิจารณ์ ทำให้ต้องจบลงอย่างลวกๆ สถานการณ์เช่นนี้เป็นหนึ่งในหลายสิ่งที่เกิดขึ้นจากการมีวัฒนธรรมองค์กรแบบ “โลกสวย” เพราะในหลาย ๆ ครั้งก็เป็นเพียงการที่ผู้นำใช้ความสุภาพเพื่อฉาบบาง ๆ ทับความกลัวที่ซ้อนอยู่ด้านล่าง แม้ว่าวัฒนธรรมองค์กรเช่นนี้จะทำให้เกิดภาพความปรองดองและเห็นพ้องต้องกันภายในองค์กร แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับมีความผิดปกติคุกรุ่นอยู่ข้างใต้ซึ่งจะทำให้องค์กรขาดการสื่อสารอย่างจริงใจ ความกล้าหาญทางปัญญา นวัตกรรมใหม่ๆ และภาระความรับผิดชอบ⁣

🔸 ทำไมองค์กรต่าง ๆ ถึงต้องการทำให้เกิด “โลกที่สวยงาม”⁣
— ส่วนใหญ่แล้วความพยายามให้การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบโลกสวยมักเกิดขึ้นมาด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและได้รับการยอมรับ เพื่อผนวกคนในองค์กรที่มีความแตกต่างเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงถึงการเชื่อฟังคำสั่งของคนที่ตำแหน่งสูงกว่า หรือเพื่อกระตุ้นพนักงาน⁣

🔸ผลเสียของการมีวัฒนธรรมองค์กรแบบ “โลกสวย”⁣
— ผลกระทบทางลบของความโลกสวยไม่ใช่เพียงแค่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการทำงาน แต่อาจเป็นหายนะครั้งใหญ่สำหรับองค์กรเลยทีเดียว โดยผลกระทบเหล่านั้นได้แก่⁣

▪ ก่อให้เกิดวิกฤติ ⁣
ในองค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบโลกสวย ความเชื่องช้าทำให้องค์กรไม่สามารถปฏิบัติการได้อย่างทันท่วงที ผู้คนมักจะรอให้ปัญหาหาใหญ่เกินกว่าจะมองข้ามถึงค่อยคิดจะแก้ไข⁣

▪ ขัดขวางการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ⁣
การเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่เป็นตัวทำลายสิ่งเดิมที่เป็นอยู่เสมอ การคิดค้นสิ่งใหม่ๆยังเป็นกระบวนการทางสังคมที่ต้องอาศัยความคิดที่แตกต่างและการสนทนาแลกเปลี่ยนอย่างกล้าหาญตรงไปตรงมา แต่ความโลกสวยเป็นตัวทำลายกระบวนการดังกล่าว เพราะมันสามารถปิดปากคนทำให้ทีมที่เต็มไปด้วยคนที่มีความสามารถกลายเป็นกลุ่มที่ทำงานอย่างบกพร่อง⁣

▪ สิ้นเปลืองพรสวรรค์⁣
คนที่มีพรสวรรค์มักต้องการจะสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับองค์กร พวกเขามักต้องการวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อให้พวกเขาต้องพยายามท้าทายสิ่งเดิมๆที่เป็นอยู่และมีคนคอยบอกว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมันผิดจากสิ่งที่เป็นปกติอยู่เสมอ การทำแบบนั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กรแบบโลกสวยนั้น ทุกคนจะปล่อยให้พวกเขาทำสิ่งที่ต้องการและจบลงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น⁣

▪ ตัดสินใจอย่างเชื่องช้า⁣
ท่ามกลางวัฒนธรรมองค์กรแบบโลกสวยนั้น การพูดอย่างตรงไปตรงมาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยอมรับไม่ได้จึงทำให้การปรึกษาหารือและพิจารณาเพื่อดำเนินการตัดสินใจนั้นตื้นเขินและเชื่องช้า หรือแม้แต่เป็นไปในลักษณะที่ทุกคนเห็นพยายามพ้องต้องกันไปหมดจนทำให้จบลงที่การตัดสินใจที่ผิดพลาด⁣

▪ ทำให้คนเรียนรู้ที่จะสิ้นหวัง⁣
วัฒนธรรมองค์กรแบบโลกสวยมักมุ่งสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเฉื่อยชาไม่ตอบโต้ และความรู้สึกสิ้นหวัง ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่จะลดทอนศักยภาพขององค์กร ⁣

▪ ยอมปิดปากเงียบมากกว่าลุกขึ้นมาท้าทาย⁣
เมื่อเกิดปัญหา ผู้คนในสภาพแวดล้อมเช่นนี้มักเลือกที่จะยอมแพ้และปิดปากมากกว่าที่จะก้าวออกมาท้าทายเพื่อทำให้สถานการณ์ดีขึ้น⁣

🔸 วิธีการต่อกรกับ “โลกสวย”⁣
— คุณสามารถใช้กลยุทธต่างๆเหล่านี้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้น “การปฏิบัติดี” ไม่ใช่ “โลกสวย”⁣

  1. บอกความคาดหวัง มาตรฐาน และรูปแบบของการประชุมให้ชัดเจน⁣
    ความกำกวมคือสิ่งที่เป็นปัญหา ฉะนั้น คุณควรทำให้ทุกคนรู้ว่าคุณคาดหวังให้ทุกคนปฏิบัติต่อกันอย่างไร คุณควรแสดงออกให้ชัดเจนว่าคุณต้องการความจริงใจ ความเห็นที่ตรงไปตรงมา และคำถามที่ท้าทาย และเมื่อมีการจัดประชุมก็ควรระบุอย่างชัดเจนถึงรูปแบบและผลลัพธ์ที่คุณตั้งใจอยากจะให้เกิดจากการประชุมนั้น⁣
  2. ท้าทายสิ่งเดิมๆ ที่คุณสร้างมาเองอย่างเปิดเผย⁣
    หากคุณไม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ก็อย่าคาดหวังว่าจะมีใครกล้าพอที่จะทำ คุณต้องเป็นผู้ริเริ่ม ทำให้เห็นว่าคุณเองมีด้านอ่อนแอและผิดพลาดได้ และแสดงให้ทุกคนเห็นว่าความจริงใจเป้นสิ่งที่ดี⁣
  3. ปกป้องคนที่จริงใจ⁣
    หากใครมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและพูดอย่างตรงไปตรงมา คุณต้องปกป้องเขา พูดชมเชยเขาเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกคนอื่นเยาะเย้ย เมื่อคุณสนับสนุนให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างจริงใจ สิ่งนี้จะเริ่มกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่⁣
  4. จัดการกับปัญหาการทำงานทันที⁣
    หากคุณไม่จัดการกับปัญหาการทำงานของพนักงานที่เกิดขึ้น นั่นแปลว่าคุณกำลังปล่อยผ่านความผิดพลาดนั้น หากคุณลังเลที่จะจัดการ นั่นคือการสร้างความสับสนให้ผู้อื่น ฉะนั้นคุณควรจะเรียกบุคคลคนนั้นเข้ามาคุยส่วนตัวด้วยความสุภาพ⁣


    A Cup of Culture⁣
    ———–⁣
    วัฒนธรรมองค์กร⁣
    corporate culture⁣
    organizational culture⁣
    .
    .
    >>>



แหล่งที่มา⁣

https://hbr.org/2021/06/the-hazards-of-a-nice-company-culture⁣

.
.
>>>

Share to
Facebook
Twitter
LinkedIn