นำทีมด้วยวัฒนธรรมแห่ง “ความหวัง” ในโลกที่แปรปรวน

“หน้าที่แรกและหน้าที่สุดท้ายของผู้นำคือ การทำให้ความหวังยังคงอยู่” John W. Gardner นักปฏิรูปและผู้นำทางความคิด ได้กล่าวไว้…. แต่พอเราหันกลับมาดูสถานการณ์ปัจจุบัน คำถามในหัวก็ผุดขึ้นมาทันทีว่า…. “แล้วในโลกที่ทุกอย่างล้วนไม่แน่นอน ผู้นำองค์กรจะรักษาความหวังนี้ได้อย่างไร ? และในสถานการณ์ที่ท้าทายเช่นนี้ ความหวังขนาดไหน จึงจะเรียกว่า “พอดี” ?


การมองโลกในแง่ดี หรือ Optimism เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงบวก ที่ส่งผลถึงการ Engage พนักงานให้มีไฟและแรงกระตุ้นในการทำงาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลักดันองค์กรให้ก้าวข้ามต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามา แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน การมองโลกในแง่ดี ช่างเป็นเรื่องที่ยากเย็นเหลือเกิน ความตึงเครียดต่อความไม่แน่นอนที่สะสมมาเป็นเวลานานแล้วนี้ อาจส่งผลให้บุคลากร Burn Out ไปในที่สุด

(เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะ Burn Out เพิ่มเติมได้ที่: https://www.brightsidepeople.com/en/วัฒนธรรมองค์กรจะช่วยเป-2/


Harvard Business Review ได้ระบุโจทย์ใหญ่ของผู้นำองค์กร ในการนำทีมให้ผ่านพ้นช่วงนี้ได้ คือการบริหารให้บุคลากรยังคง “ความหวัง” และการมองโลกในแง่ดีในสถานการณ์ที่ท้าทายนี้อยู่ แต่ในขณะเดียวกัน การมองโลกในแง่ดีที่ไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริง เช่น การเข้าอกเข้าใจกันจนไม่ยึดถึง Accountability อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ทางลบ ไม่ว่าจะเป็น Performance ที่ถดถอย หรือความคาดหวังที่ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจยิ่งทำให้ความเครียดภายในองค์กรเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ผู้นำทีม ต้องหาสมดุลระหว่างความเป็นจริงและความหวัง ด้วยมุมมองแบบ Realistic Optimism (มองโลกในแง่ดีที่อิงสภาพความเป็นจริง) ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้:


1. ดำเนินการอย่างเฉียบคม แต่เว้นพื้นที่ให้ “Organisational Foolishness” (ความเขลาในองค์กร)


ในภาวะเช่นนี้ ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะสู้กับความท้าทายในทุกๆ วัน อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตอบความต้องการของลูกค้า หรือการร่วมมือกับเพื่อนร่วมงาน ที่กำลังวิตกกังวลกันอยู่ไม่แพ้กัน ในขณะเดียวกัน ประสิทธิภาพและการเก็บรายละเอียดตามมาตรฐาน ไม่ควรมาแทนที่ความกล้าที่จะคิดสร้างสรรค์ และการระดมไอเดีย และการให้เวลาพักผ่อนหย่อนใจ (Slack Time) ภายในองค์กร


อาจารย์มหาวิทยาลัย Stanford Business School อย่าง James G. March นิยามสิ่งเหล่านี้ว่า Organisational Foolishness หรือความกล้าที่จะ “เขลา” ผ่านการทดลองสิ่งใหม่ๆ และระบุว่าการหา Balance ระหว่างการปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างจริงจัง และการเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้ “เล่น” ผ่านการโยนไอเดียใหม่ๆ คือกุญแจสำคัญในการสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยให้องค์กรยั่งยืนในระยะยาว เพราะคนเรา จะคงความหวังได้ยาก หากที่ไม่ได้มีโอกาสเล่นเลย


2. เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็นผู้แก้ปัญหา ผ่านการโฟกัสถึง “สิ่งที่มีอยู่”


บ่อยครั้ง การรับมือกับปัญหา หรือพัฒนาอะไรบางอย่าง อาจดูเป็นเรื่องท้าทายที่มีความเสี่ยงสูง จนทำให้มองโลกในแง่ดีได้ยาก โดยเฉพาะหากผู้แก้ปัญหา มองที่เพียงความซับซ้อนของโจทย์และเป้าหมายที่อาจดูห่างไกล ดังนั้น ในการแก้ปัญหาต่างๆ ผู้นำควรชวนคนในองค์กรให้เริ่มจากการตั้งคำถามถึงทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น “เราเป็นใคร” เพื่อระบุลักษณะนิสัย จุดแข็ง และความสามารถต่างๆ “เรารู้อะไร” เพื่อระบุความเชี่ยวชาญและประสบการณืที่มี และ “เรารู้จักใคร” เพื่อระบุเหล่าบุคคลในเครือข่าย ที่สามารถสนับสนุนการแก้ปัญหาดังกล่าวในมิติอื่นๆ


การตั้งจุดโฟกัสเช่นนี้ จะช่วยให้กระบวนการคิดแก้ปัญหา ผันจากสิ่งที่ดูมีความเสี่ยงสูง เป็นกระบวนการที่สามารถลงมือทำได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ในมือ เพื่อมุ่งไปสู่การมองปัญหาด้วย Realistic Optimism ในที่สุด


3. ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์

การรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน มักส่งผลให้ผู้นำองค์กรให้ความสำคัญกับไอเดียที่แปลกใหม่ จนบ่อยครั้ง “ไอเดีย” กลายเป็นสิ่งที่สำคัญไปกว่า “คน” แต่ไม่ว่าไอเดียจะดีขนาดไหน ความเแปลกใหม่นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากคนรอบๆ ไม่พร้อม และเมื่อผู้คนรอบๆ ไม่พร้อมรับไอเดียใหม่นี้ ผู้ริเริ่มไอเดียอาจเสียกำลังใจและหมดหวังไปในที่สุด


ดังนั้น ผู้นำองค์กรควรให้ความคำสัญกับ “คน” ที่อยู่รอบตัว และสนับสนุนให้บุคลากรให้ความสำคัญกับเครือข่ายความสัมพันธ์เช่นกัน มุมมองเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อขวัญกำลังใจของทีม และต่อการเชิญชวนให้เครือข่ายเปิดรับต่อไอเดียใหม่ๆ เมื่อถึงเวลา


4. เผยทุกข่าวแย่ แชร์ทุกข่าวดี

มนุษย์มีแนวโน้มที่จะตอบสนองกับข่าวร้ายได้ลึกซึ้งและเร็วกว่าข่าวดี และนักจิตวิทยาได้ประเมินไว้ว่า การก้าวข้ามความรู้สึกลบต่อข่าวร้าย 1 เรื่อง ต้องใช้ข่าวดีกว่า 4 เรื่องมาตอบโต้ ดังนั้น แม้ผู้นำองค์กรยังควรสื่อสารข้อมูลต่างๆ อย่างเปิดเผย เพื่อสร้างความไว้วางใจกับคนในทีม ผู้นำเองก็ควรก็ควรสื่อสารทุกๆ ข่าวดี และฉลองทุกความสำเร็จเล็กใหญ่อย่างทั่วถึง เพื่อให้ผู้คนในทีมเห็นทั้งสภาพความเป็นจริงและความสำเร็จทุกย่างก้าวไปพร้อมๆ กัน

(เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารที่ดีเมื่อต้อง Work From Home ได้ที่: https://www.brightsidepeople.com/4-วิธีเพิ่มประสิทธิภาพกา/


A Cup of Culture ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆ ท่าน นำพาคนในทีมผ่านพ้นช่วงเวลาอันท้าทายนี้ไปด้วยกัน ด้วยมุมมอง Realistic Optimism ที่ผสมผสานความเป็นจริง และความหวัง ในแบบที่พอดี


A Cup of Culture
———–
#วัฒนธรรมองค์กร
#corporateculture
#culture

.
.
>>>>>



แหล่งที่มาของข้อมูล

https://hbr.org/2021/02/how-to-stay-optimistic-when-everything-is-awful

https://blog.shrm.org/blog/why-workplace-optimism-is-important-and-how-to-cultivate-it

https://hbr.org/2021/02/beyond-burned-out

.
.
>>>>

ฐานิตา ภูวนาถนรานุบาล (ปุ๊บ)
Thanita Phuvanatnaranubala (Poobs)
Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search