จัดเทรนนิ่งอย่างไร เมื่อช่วงวัยต่างกัน? (the Generation Gap in Training)

องค์กรยุคปัจจุบันประกอบด้วยคน 4 เจนเนอเรชั่น โดยกลุ่มคน Gen X และ Gen Y จะมีสัดส่วนมากที่สุด ในอีกมุมหนึ่งคนกลุ่ม Baby Boomers ก็เริ่มลดลงเพราะถึงช่วงวัยเกษียณ ในขณะที่น้องเล็กสุดอย่างคน Gen Z ก็เริ่มก้าวเท้าเข้าสู่โลกของการทำงานมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมีในองค์กรมีคนทั้ง 4 เจนเนอเรชั่นอยู่รวมกัน ความยากอย่างหนึ่งในการพัฒนาบุคลากร คือ “แล้วจะจัด Training อย่างไร เมื่อช่วงวัยต่างกัน…?”


การศึกษาหลายชิ้นได้ยืนยันไปในทิศทางเดียวกันว่า “คนแต่ละรุ่น มีค่านิยม มีแนวคิด และมีความชอบหรือสไตล์ในการเรียนแตกต่างกัน” ข้อมูลการศึกษาของ InvistaPerforms ได้แสดงชาร์จให้เราเห็นรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละช่วงวัย ซึ่งเราสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ (ตามภาพอินโฟกราฟฟิค)


ดังนั้น มายเซ็ตข้อแรกที่ผู้จัดเทรนนิ่งต้องมีคือ “คนแต่ละช่วงวัยมีภาพของสิ่งที่ตนเองต้องการและวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน” ฉะนั้น สิ่งที่เราคิดว่าดีแล้วกับคนกลุ่มนี้ ไม่ได้แปลว่าจะดีกับคนทุกกลุ่ม บทความของ Langevin Learning Service ได้นำเสนอ 4 เทคนิค ที่จะปรับจูนทุกคนมาอยู่ตรงกลาง และสามารถนำมาเป็นจุดตั้งต้นในการดีไซน์การเรียนรู้และจัดเทรนนิ่งได้ ดังนี้


(1) การวิเคราะห์ผู้เรียน


เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดก่อนเริ่มทำการออกแบบเทรนนิ่ง คือ การเข้าไปดูว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความสนใจเรื่องอะไร จุดที่ควรพัฒนา-ปรับปรุงอยู่ตรงไหน และเป็นเรื่องอะไร รวมทั้งการลงลึกไปถึงความต้องการจำเป็น และปัญหา/ข้อจำกัด


(2) หาจุดเชื่อมโยง


ความสำคัญคือ การชี้ให้ผู้เรียนเห็นว่าความรู้และทักษะใหม่นี้จะเป็นประโยชน์กับพวกเขาอย่างไร และพวกเขาจะนำทักษะใหม่เหล่านี้ไปเชื่อมโยงกับการทำงานในปัจจุบันได้อย่างไร เมื่อทำแล้วจะได้ผลดีต่อตัวเขาอย่างไร / ต่อองค์กรอย่างไร


(3) เน้นการลงมือปฏิบัติ


คีย์สำคัญของการจัดเทรนนิ่งที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้คือ การออกแบบที่เน้นการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนเป็นหลัก เพราะมนุษย์เรียนรู้ได้ดีจากการลงมือทำ ฉะนั้น อย่าปล่อยให้การเทรนนิ่งเป็นการนั่งฟังข้อมูลอย่างเดียว ซึ่งหากอ้างอิงตาม ช่วงความสนใจหรือช่วงเวลาที่มีสมาธิ (Attention span) ของมนุษย์จะอยู่ที่ประมาณ 15 นาที ดังนั้น พยายามออกแบบกิจกรรมให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทุกๆ 15 นาที เช่น 15 นาทีแรกนั่งฟังบรรยาย 15 นาทีถัดไปชวนผู้เรียนลุกขึ้นยืนและเดินเข้ากลุ่มไประดมสมอง เป็นต้น


(4) มีรูปแบบที่หลากหลาย


กุญแจสำคัญในการดึงดูดผู้เรียน คือ การเลือกวิธีการสอนที่หลากหลาย ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการเลือกวิธีการนำเสนอและการประยุกต์ใช้จึงสำคัญมาก เช่น การมีสื่อภาพ วิดีโอ การได้ยิน และการได้เคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงการใช้กลยุทธ์แบบผสมผสานระหว่างการให้ข้อมูลแบบดั้งเดิม และการใช้อีเลิร์นนิงมาเสริมการเรียนรู้ วิธีนี้จะช่วยเชื่อมความต่างระหว่างรุ่นได้เป็นอย่างดี


บทสรุป – ข้อแนะนำหรือข้อมูลที่นำเสนอนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มันเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best practices) ที่รวมรวมมาจากวิธีการออกแบบการจัดเทรนนิ่ง เพื่อช่วยให้คุณสามารถเชื่อมโยงคนทุกช่วงวัยที่แตกต่างกันในองค์กร ให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด


A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
CorporateCulture
OrganizationalCulture
.
.

References:
https://langevin.com/5-techniques-to-bridge-the-generation-gap-in-training/
https://www.invistaperforms.org/coaching-mentoring-leading-across-generations/
arm

Share to
Related Posts:
Search

ORG Culture Canvas full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

The Value Compass full report is ready for download. Thank for interesting in our free tools.

Search