ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ผู้บริหารองค์กรส่วนมากคาดหวังก็คือ #ผลลัพธ์ทางธุรกิจ เพื่อให้องค์กรอยู่รอดหรือเป็นที่หนึ่งในการแข่งขัน และเพื่อให้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง จึงมีองค์กรจำนวนไม่น้อยที่มุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมแบบมุ่งเน้น Performance เพื่อผลักดันให้เกิดการแข่งขัน สร้างผลงาน และส่งผลให้มีผลประกอบการที่มากขึ้น ฟังดูเหมือนว่าจะดี แต่ถ้าขาดการบริหารจัดการและการสร้างสมดุลที่ดีพอ วัฒนธรรมแบบมุ่งเน้น Performance อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไม่คาดคิด
Tony Schwartz ประธาน และผู้บริหารบริษัท The Energy Project ผู้เขียนหนังสือ The Way We’re Working Isn’t Working ได้ถ่ายทอดแนวคิดจากประสบการณ์ในกรณีศึกษาของเขาและทีมงานผ่าน Harvard Business Review สรุปได้ว่า วัฒนธรรมแบบมุ่งเน้น Performance มีแนวโน้มที่จะทำให้ความกลัวของพนักงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลงานที่ได้จะแบ่งแยกคนประสบความสำเร็จและคนที่ผิดพลาดอย่างชัดเจน ทำให้คนกลัวการผิดพลาด กลัวงานเข้า ส่งผลให้เกิดการปิดบังข้อผิดพลาดซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญต่อการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งต่อบุคคลและองค์กร
ในขณะที่วัฒนธรรมแบบมุ่งเน้น Performance ให้ความสำคัญกับการสร้างผลงาน หรือแก้ปัญหาด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคคล แต่ยังมีวัฒนธรรมอีกประเภทที่มุ่งเน้นการเติบโต (Growth Culture) จะเน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องความรู้สึกของคน สร้างความสามารถในการยอมรับ และเรียนรู้ผ่านจุดบกพร่อง ใช้พลังในการปิดบังข้อด้อยและสร้างผลงานส่วนบุคคลให้น้อยลง เพื่อให้มีพลังในการสร้างมูลค่าที่ยิ่งใหญ่กว่ามากขึ้น
Tony และทีมพบว่าการสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการเติบโต (Growth Culture) จะต้องมีการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบส่วนบุคคลและองค์กรดังนี้
🔰 1. สภาพแวดล้อมที่รู้สึกปลอดภัย
โดยมีแบบอย่างที่ดีจากผู้นำ ในการกล้าที่จะ FAIL และรับผิดชอบต่อความบกพร่องและความผิดพลาดของตนเอง
🔰 2. มุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ผ่านความอยากรู้อยากเห็น การใช้คำถาม และความโปร่งใส มากกว่าการตัดสิน และการปกป้องตนเอง
🔰 3. สร้างการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
โดยใช้เวลาในการสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานให้เห็นถึงความสำคัญและแนวทางที่เป็นไปได้ เริ่มต้นกับกลุ่มที่เหมาะสมเพื่อลดการต่อต้านและผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น
🔰 4. เปิดรับ Feedback อย่างต่อเนื่อง
ให้ทั่วถึงทุกระดับ เพื่อการแบ่งปันความช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้เรียนรู้ พัฒนา และเติบโต
อาจฟังดูเหมือนเป็น 4 ข้อที่ง่าย ๆ แต่จากประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมแบบมุ่งเน้น Performance เป็นการเริ่มสร้างวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการเติบโต Tony ยอมรับว่าในทางปฏิบัติจริงนั้นไม่ง่ายเลย เขาพบว่าพนักงานมีแนวโน้มที่จะ ปิดบังความผิดพลาด หาเหตุผลเข้าข้างตนเอง ปฏิเสธจุดอ่อน เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานรู้สึกอ่อนแอ เสี่ยง และไม่คู่ควร
เขาทดลองใช้หลากหลายวิธี พบกับอุปสรรคที่เกิดจากความกลัว การต่อต้าน ความขัดแย้งระหว่างพนักงานเก่าและใหม่ ในที่สุดเขาเริ่มจากการใช้เวลาในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในกลุ่มผู้บริหารก่อน ด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อผิดพลาด ข้อเสีย จุดอ่อน สัปดาห์ละครั้ง หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ขอความคิดเห็นจากพนักงานแบบไม่ระบุชื่อ และนั่นคือจุดเริ่มต้นในการสร้างวัฒนธรรมการที่มุ่งเน้นการเติบโต
บทเรียนสำคัญจากกรณีศึกษานี้คือความสมดุลระหว่างความท้าทายและการดูแลอย่างเหมาะสม หากความท้าทายที่มากเกินไปอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีความมั่นใจเพียงพอก็อาจจะทำให้เราพัง แต่ถ้าความท้าทายน้อยเกินไป ใช้เวลาใน Comfort Zone มากเกินไปก็จะไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา และในที่สุดก็พังเช่นกัน
=====================
และนี่คือตัวอย่างแนวคิด และวิธีการในการสร้างสมดุลระหว่างวัฒนธรรมแบบมุ่งเน้น Performance และวัฒนธรรมแบบมุ่งเน้นการเติบโต สำหรับผู้อ่านที่อยากลอง Review ความสมดุลของค่านิยมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร A Cup of Culture ได้นำเสนอ Org Culture Canvas ที่ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด Canvas พร้อมคู่มืออย่างละเอียดมาลองออกแบบวัฒนธรรมของตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งที่ปรึกษา
👉 ดาว์นโหลดที่นี้ brightsidepeople.com/our-services/
A Cup of Culture
———–
วัฒนธรรมองค์กร
corporate culture
organizational culture
.
.
>>>
ที่มาของบทความ